นักวิชการตั้งคำถาม เราจัดการศึกษาเพื่อใคร อีอีซี พ่อแม่ ศธ. หรือเพื่อเด็ก


เพิ่มเพื่อน    

 

ที่ห้องประชุมอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มีการจัดเวทีเสวนาสาธารณะวันเยาวชนแห่งชาติ “การปฏิรูปการศึกษาที่เยาวชนเป็นเจ้าของ” โดยในเวทีเสวนา เรื่อง “สุก หรือ สุข พื้นที่การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน”

โดยนายสมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว กล่าวว่า ในระบบการศึกษาจะพบว่าในห่วงโซ่การศึกษาคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและส่วนร่วมต่ำที่สุด คือ เด็กและเยาวชน ดังนั้นสิ่งที่เราจะพบก็คือ ใครเป็นเจ้าของการศึกษา  จากคำถามนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) จึงเกิดชุดแนวความคิดหลักของการศึกษาปีนี้ ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียน หรือ ปฏิรูปการศึกษาโดยเยาวชนเป็นเจ้าของ ดังนั้น สิทธิทางการศึกษาจริงๆ เป็นเรื่องของเด็ก ผู้ใหญ่ต้องออกมา และให้เด็กมีส่วนร่วมในเรื่องการออกแบบการเรียนรู้ ต่อจากนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องอย่าลืมเด็ก ว่า เขาคิด และต้องการอะไร อีกทั้ง UN ให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องมาทบทวนว่าเราจัดการศึกษาเพื่อใคร ตอบโจทย์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พ่อแม่ผู้ปกครอง ค่านิยม แต่เราไม่เคยตอบโจทย์วิธีคิดของเด็กเลยหรือไม่ เพราะฉะนั้นการศึกษาที่ UN ให้ความหมายในเรื่องของปฏิรูปการศึกษา เป็นศึกษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทักษะด้านอารมณ์ ที่เด็กจะได้เรียนตรงกับความสนใจความต้องการ การศึกษามีความเท่าเทียมเที่ยงธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูงถึง 20 เท่า ระหว่างในเมืองกับชนบท เด็กฐานะยากจนที่สุดในประเทศ มีถึงร้อยละ 20 และสามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพียงร้อย 5 เท่านั้น แต่ร้อยละ 20 ของเด็กที่มีฐานะทางสังคมสูง สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้ 100%

นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า การที่ประเทศเราพูดถึงการศึกษาเพื่อทุกคนแต่เราจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนกว่า 15,000 โรง และเด็กชนบทก็ไปเรียนที่ไหน สิ่งที่กำลังจะตามมาอีกคือ การจัดสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100% ในจำนวน 400 กว่าโรงเรียน เรื่องนี้ทำให้เราพบกับการเรียนในลีกษณะที่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย การเรียนกวดวิชาจะเพิ่มขึ้น เพราะค่านิยมของพ่อแม่ที่ต้องให้ลูกเรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด และสำหรับโรงเรียนอีก 15,000 แห่งที่เหลือ เราจะเอาไปไว้ไหน ทำไมไม่มีการมองเรื่องการสร้างคุณภาพของโรงเรียนให้มีความเท่าเทียมและเที่ยงธรรม อีกทั้งระบบการศึกษาเรายังออกแบบให้หลักสูตรมีตัวดัชนี บ่งชี้ กว่า 1,400 ตัว ที่ครูจะต้องทำให้ได้  ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใครจะมานั่งสนใจชีวิตเด็ก ครูจะมุ่งสอนเนื้อหา แต่ไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


"ผมมองว่าเราจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก การสอบเข้า 100% การผลิตคนเพื่อป้อน EEC เพราะเด็กในพื้นที่จะหายไป ต่างคนต่างเข้าไปเรียนต่อในเมือง ทำให้สายสัมพันธ์ในชุมชนหายไปด้วย”ผอ.ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัวกล่าว และว่า อาวุธสำคัญของการศึกษา เนลสัน แมนเดลา พูดไว้ว่า ถ้าเราไม่ให้การศึกษาที่ดีและไม่เปิดพื้นที่อิสระ และไม่มีเสรีภาพทางความคิด เราก็จะมีคนติดกรอบเป็นค่านิยม และเราก็จะเดินตามเขาโดยที่เราไม่กล้าสวนกระแส ความกล้าและจิตวิญญาณมันจะฝ่อ ทั้งนี้ในอนาคตตนเชื่อว่าเสียงของเด็กจะมีความสำคัญ เราต้องทำตามความต้องการมาจากข้างล่างขึ้นสู่ด้านบน เพราะถ้าเด็กยังไม่มีเสียงเด็กก็จะต้องเดินไปตามเส้นทางที่เป็นค่านิยมที่มีการวางไว้

ด้านนายคณิน เครือพิมาย นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ กล่าวว่า เรื่องที่เจ็บปวดมากสำหรับการเรียน คือ เราไม่รู้ว่าตัวเองเรียนไปทำอะไร เรียนไปใช้อย่างไร และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนก็ไม่ได้ส่งเสริมให้เราได้เรียนรู้ กีดกันความสามารถของเด็ก กำหนดความสำคัญของรายวิชาให้มีความต่างกันทั้งที่เด็กมีความถนัดไม่เหมือนกัน ปัญหาของระบบการศึกษาส่วนหนึ่ง คือ คนในระบบการศึกษาไม่รู้ว่าตัวเองเรียนไปทำไม และการที่จะแก้ไขระบบการศึกษาค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก มีความซับซ้อน ดังนั้นตนจึงมองว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมี 3 ตัวการสำคัญ คือ คนที่มีเป้าหมายเดียวกัน ความรู้ และทักษะด้านอารมณ์ ซึ่งพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนนี้สามารถทำได้ในทุกที่ และทุกกลุ่มคน เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ตรงกลางในการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างไอเดีย และความเปลี่ยนแปลง เพราะระบบการศึกษาของเรายังแก้ไขอะไรไม่ได้ ต้องเริ่มจากนอกระบบก่อน

ด้านนายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น พี่เลี้ยงเครือข่ายเยาวชน กล่าวว่า ตนมองว่าการศึกษาไทยจะไม่สามารถปฏิรูปได้ เพราะสังคมไทยติดระบบความคิด เรื่องระบบอุปถัมภ์ โครงสร้างอำนาจ เส้นสายพรรคพวก และระบบอาวุโส ทั้ง 4 เรื่องนี้ สะท้อนว่าอำนาจและอิสระภาพไม่ได้ถูกออกแบบให้เราใช้ชีวิต แต่ถูกใครก็ไม่รู้เป็นคนขีดไว้ และเมื่ออำนาจและอิสระภาพ ก็จะทำให้เกิดความกลัว ซึ่งความกลัวเป็นสิ่งที่ทำลายความรู้ ตนย้ำว่าอำนาจและอิสระภาพถูกจำกัดด้วยผู้ที่มีอำนาจ และคนที่มีอำนาจจะใช้ความกลัวในการปกคลุม แม้กระทั่งการเรียนการสอน ทั้งนี้หากเราไม่สามารถแกะทั้ง 4 เรื่องนี้ออกได้ก็ไม่จำเป็นต้องมีการปฏิรูป และจากการที่ตนได้เรียนรู้ชีวิตเด็กๆ จากการทำงานทำให้พบว่า เราต้องเปิดอิสระให้แก่เด็กและเด็กจะคิดเอง ออกแบบการเรียนรู้เองร่วมกับชุมชนได้เอง ดังนั้นตนจึงมองว่าการเป็นอิสระเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำได้ยาก ซึ่งคนรุ่นใหม่จะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนตัวเอง เพราะจะไม่มีใครช่วยคุณได้ถ้าคุณไม่เปลี่ยนตัวเอง และตนหวังว่าจะเห็นนักวิชาการและสื่อมวลชน สนใจคนตัวเล็กๆ ในสังคมที่เปลี่ยนตัวเองได้และพยายามจะสื่อสารไปยังผู้มีอำนาจ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"