5 ยุทธศาสตร์...กรอบความคิด เตรียมพร้อมสังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ


เพิ่มเพื่อน    

        การดูแลผู้สูงอายุรับสังคมสูงวัยนั้นไม่สามารถให้ภาครัฐเข้ามาช่วยได้ทุกเรื่อง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน รวมถึงภาคเอกชน ในการช่วยกันสร้างธุรกิจรองรับประชากรสูงวัย รวมถึงสร้างนวัตกรรมในการใช้ชีวิตของคนหลัก 6 ให้เหมือนกับคนวัยหนุ่มสาว เพื่อให้คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขแม้จะอายุมากขึ้นก็ตาม ในงานสัมมนา ความหวังของคนกำลังสูงวัย : เตรียมความพร้อมประเทศไทยก่อนเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ ที่จัดโดย Economic Research Institute for ASEAN and East Asia และศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงอายุ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ภายในงาน ศ.นพ.ประเวศ วะสี มาบรรยายปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ Thailand Graceful Ageing Strategy ภายใต้หลักคิด 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและดูแลคุณภาพวัยเก๋าได้อย่างสมบูรณ์แบบ

      ศ.นพ.ประเวศ วะสี ให้ข้อมูลว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุนั้น หากเราสามารถที่จะแบ่งปันอะไรได้ก็อยากให้ทำ เพราะมีคำกล่าวที่บอกว่าผู้สูงอายุนั้นให้ทำอยู่ 2 เรื่องคือ แจกของ-ส่องตะเกียง ซึ่งคำว่าแจกของนั้น คือการแบ่งปันสิ่งต่างๆ อย่างการทำบุญ การให้ทานแก่คนยากไร้ ส่วนคำว่าส่องตะเกียงนั้น หมายถึงการชี้ช่องหรือให้ความรู้คนวัยหนุ่มสาว ในฐานะผู้มีประสบการณ์ ตรงนี้จะสร้างให้ผู้สูงอายุเป็นวัยเก๋าที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อันที่จริงแล้วการที่เราเผชิญปัญหาในชีวิต มันทำให้เราแข็งแรงขึ้น และเมื่อใดที่เราเข้มแข็ง เราก็จะทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นพลัง ซึ่งจะต้องใช้ใจนำเพื่อให้เกิดพลังและความกล้าหาญในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อเพื่อนมนุษย์ เพราะถ้าหากว่าเรามีเมล็ดพันธุ์แห่งความเห็นใจคนอื่นนั้น จะทำให้เราไม่กลัวที่จะทำเพื่อส่วนรวม เพราะเรื่องความรู้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ สำหรับเรื่องสังคมสูงวัยภายใต้หัวข้อ Thailand Graceful Ageing Strategy นั้น อันดับแรกจะต้องสร้างกรอบความคิดให้มีพลัง เพื่อให้การรับมือกับสังคมสูงวัยสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยหลักยุทธศาสตร์ 5 ประการดังต่อไปนี้

      หลักยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัยอันดับแรกคือ 1.สัมมาทิฐิประเทศไทย หมายความว่า ถ้าเราอยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไร ก็ต้องทำทุกอย่างด้วยความชอบทำ ขอยกตัวอย่างพระปฐมบรมราชโองการของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งหมายถึง แผ่นดินของเราจะต้องมีความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนทุกเพศทุกวัยในสังคมที่จะต้องไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ที่สำคัญเรื่องของความเป็นธรรมจะทำให้คนรักกัน อีกทั้งรักส่วนรวม เมื่อนั้นสังคมก็จะไม่ยุ่งเหยิงมาก ยกตัวอย่างสังคมที่มีความเป็นธรรมสูง และมีความเหลื่อมล้ำกันน้อยที่สุดคือ ประเทศญี่ปุ่น สังเกตว่าในช่วงที่บ้านเขาประสบกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ประชาชนต่อคิวกันรับอาหารอย่างไม่มีการแก่งแย่งกัน ที่สำคัญเรื่องรายได้ คนญี่ปุ่นนั้นจะมีระดับใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นคนกวาดถนนหรือนักศึกษาที่จบปริญญาตรี ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 60,000 เยน เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว (ประมาณ 17,027 บาท) ยกเว้นอาชีพตำรวจและครูที่อาจจะได้มากว่าอาชีพอื่น เนื่องจากต้องมีการคัดเลือก ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการให้เงินเดือนประชากรนั้น เขาจะดูจากความเป็นคนดีเป็นที่ตั้ง ดังนั้นอัตราค่าจ้างของประชากรจึงมีความใกล้เคียงกัน

      ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 สัมมาสังกัปปะ (การดำริชอบ) หมายความว่า หากเราต้องการเห็นโครงการสังคมสูงวัยเป็นอย่างไร ต้องทำอย่างนั้น เช่น องค์พระพุทธรูปจะสวยงาม ก็ต้องสร้างฐานให้กว้างและแข็งแรง เพราะทุกวันนี้เรามักจะทำทุกอย่างเพียงแต่ด้านบนหรือฉาบฉวย เหมือนกับการสร้างเจดีย์ที่ยอดก่อน และสุดท้ายมันก็จะพังลงมา เป็นต้นว่าเรื่องของเศรษฐกิจที่ดิ่งลงด้านข้าง มันจึงทำให้สังคมบ้านเราเกิดความเหลื่อมล้ำนั่นเอง ดังนั้นเราต้องสร้างรากฐานของเราให้แข็งแรง เพื่อให้คนมีภูมิคุ้มกัน ยกตัวอย่าง บ้านเรามี 8 หมื่นหมู่บ้าน 8 พันตำบลทั่วประเทศ ดังนั้นถ้าจะพัฒนาสังคมไทยใน 8 เรื่อง ซึ่ง 1 ในนั้นมีเรื่องของผู้สูงอายุอยู่ด้วย (สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ประชาธิปไตย วัฒนธรรม การศึกษา)

      เราจะต้องใช้ความเป็นชุมชนและหมู่บ้านเข้ามาช่วย เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ยกตัวอย่าง ชุมบ้านหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี ที่เขาสามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้ทั้งหมด เพราะเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งใช้เรื่องของ ธนาคารความดี เพื่อกู้เงินและสร้างจิตอาสาช่วยดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งต่างจากสังคมเมืองที่ต่างคนต่างอยู่ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 80 ปี ต้องเสียเงินเดือนละหลายแสนเพื่อจ้างคนไปดูแล แต่ ธนาคารความดี นั้นจะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ขณะเดียวกันก็จะมีจิตอาสาคนหนุ่มสาวไปดูแลผู้สูงอายุ และเมื่อหนุ่มสาวแก่เขาก็จะมีคนไปดูแลเช่นเดียวกัน รวมถึงการที่สถาบันการเงินให้งบ 100 ล้านบาทไปยัง 8 พันตำบลทั่วประเทศ ในการสร้างหรืออบรมเรื่องอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับเลี้ยงชีพ โดยให้คนชุมชนบริหารจัดการกันเอง เพราะคนกลุ่มนี้คือฐานของประเทศ และทำให้บ้านเมืองแข็งแรงได้ โดยอาศัยความเป็นชุมชน และที่สำคัญนั้น เราจะทำอย่างไรเพื่อให้สังคมเมืองแข็งแรงเหมือนสังคมชนบท

      ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 3 หาความรู้ด้านสังคมสุขภาพเผยแพร่ให้คน เราจำต้องมีข้อมูลว่าปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งการดูแลผู้สูงวัยของคนทั่วโลกนั้นทำอย่างไรกันบ้าง เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาเผยให้คนสูงวัยดูแลตัวเอง ซึ่งจุดนี้ฐานข้อมูลจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญมาก

      ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 4 มีระบบจัดการที่ดี ที่ขอใช้เป็น 3 ตัวย่อ คือ E คือความทั่วถึง Q คือความมีคุณภาพ และ E คือมีความเป็นไปได้ทางการเงิน ดังนั้นถ้าเรามีการบริหารจัดการที่ดี นอกจากทำให้ผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้แล้ว ในปัจจุบันบ้านเรามีพยาบาล 2 แสนคนทั่วประเทศ ในการเข้าไปให้ความรู้ดูแลผู้ป่วยถึงบ้าน ซึ่งตรงนี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตัวเองเบื้องต้นมากขึ้นไปอีก เนื่องจากพยาบาล 1 คนจะดูแลผู้ป่วยหลายคน ก็ถือเป็นการกระจายความรู้ ที่สำคัญ รพ.ในพื้นที่ก็จำเป็นต้องมีระบบบริการที่ดีและสมบูรณ์ เพื่อรองรับคนสูงอายุกลุ่มนี้เช่นกัน

      ปิดท้ายกับยุทธศาสตร์ที่ 5 การเชื่อมโยงสังคมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะในปัจจุบันนี้เราต่างแยกกันอยู่ แยกกันทำ จึงส่งผลให้สังคมอ่อนแอ ดังนั้นการเชื่อมโยงสังคมไว้ด้วยกันจะทำให้เกิดพลัง ยกตัวอย่าง บ้านเรามีมหาวิทยาลัย 100 แห่ง และมีนิสิตนักศึกษาประมาณ 1 ล้านคน ดังนั้นการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการที่ให้นักศึกษาท่องวิชาที่ไม่จำเป็นและไม่ได้ใช้ก็คงไม่มีประโยชน์ ตรงกันข้ามหากให้นักศึกษาเข้าไปช่วยดูแลคนจนและผู้สูงอายุนั้น ตามธรรมชาติของสมองนั้น เมื่อมนุษย์ได้เห็นแววตาของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจะก่อให้เกิดความเห็นใจ และอยากทำเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งตรงนี้เรียกว่าเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติสู่การลงมือทำ ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญไม่เพียงสร้างจิตสำนึกที่ดี แต่ยังทำให้คนในสังคมเกิดความรักและความไว้ใจซึ่งกันและกัน สำหรับประเด็นของการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป ส่วนหนึ่งผู้นำชุมชนพร้อมที่จะรับนักศึกษาให้เข้าไปอยู่และไปช่วยเหลือชุมชน และพร้อมดูแลเบื้องต้นเรื่องการกินอยู่สำหรับกลุ่มเด็กที่เข้าไปในชุมชน”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"