กษัตริยมหาราชในดวงใจไทยนิรันดร์


เพิ่มเพื่อน    

 

ผลงานจิตรกรรมของศิลปินหญิง สุวรรณี แสงกิจพร
 

     เดือนตุลาคม ถือเป็นเดือนแห่งการน้อมรำลึกถึงองค์พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเทิดทูนถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระภัทรมหาราช) รัชกาลที่ 9 ที่เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม และวันที่ 13 ตุลาคม ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน กลุ่มศิลปาศรีจึงได้จัดนิทรรศการศิลปกรรม “ศิลปะกษัตริยมหาราชในดวงใจไทยนิรันดร์” (The Great Kings-Forever in Our Hearts) ปี 2 ขึ้น เพื่อร่วมถวายผลงานแห่งความจงรักภักดี และถวายความอาลัยแด่ทั้ง 2 พระองค์ที่ทรงสร้างให้ประเทศไทยสามารถดํารงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีอธิปไตย ร่มเย็นผาสุกมาอย่างยาวนาน
    โดยนิทรรศการเป็นการเผยแพร่พระราชประวัติ พระเกียรติ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจผ่านงานศิลปะล้ำค่าจากศิลปินมากฝีมือทั้งสาขาจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์กว่า 20 ท่าน นำโดย อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และศิลปินร่วมสมัยอย่าง สตีเวน มุตธิกุลโจนส์, นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์, อรียะ กิตติเจริญวิวัฒน์ ฯลฯ แสดงที่บริเวณชั้น 3 และ 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 13 ต.ค.นี้

 

ผลงานจิตรกรรมแสดงถึงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์มหาราช


    นิวัต มหาบุณย์ ประธานกลุ่มศิลปาศรี เผยถึงการจัดนิทรรศการว่า นิทรรศการศิลปะกษัตริยมหาราชในดวงใจไทยนิรันดร์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยจัดครั้งแรกที่บ้านอาจารย์ฝรั่ง เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความอาลัยของพสกนิกรชาวไทยที่มีต่อกษัตริย์มหาราชนักพัฒนาทั้ง 2 พระองค์ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงแห่งความโศกเศร้า ตนคิดว่าพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ได้สร้างและพัฒนาหลายสิ่งอย่างแก่บ้านเมือง กลายเป็นมรดกตกทอดมาสู่เราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นความเจริญรุ่งเรือง ความมั่งคั่งต่างๆ พระองค์คือผู้ที่คอยแต่จะพัฒนาเพื่อคนอื่นหรือพัฒนาเพื่อประเทศ ไม่ใช่เพื่อตนเอง และทุกการพัฒนาของทั้งสองพระมหากษัตริย์ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาและวิกฤติในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่สามารถผ่านพ้นได้ด้วยการที่ใช้วิจารณญาณของพระองค์เองในการแก้ไข อย่างเช่น รัชกาลที่ 5 ท่านทรงมีปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ก็ทรงต้องใช้ปัญญา ใช้วิจารณญาณ ในขณะที่รัชกาลที่ 9 ที่เคยเผชิญกับคอมมิวนิสต์ ปัญหาเศรษฐกิจ ก็ทรงใช้ความรอบคอบในการแก้ไขเช่นกัน ทั้งสองพระองค์ต่างเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทุกอย่างจนประเทศดีขึ้น จนทุกวันนี้ไทยเราเติบโตจนกลายเป็นเสาหลักของอาเซียน ฉะนั้นนิทรรศการนี้จึงอยากจะน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์นักพัฒนาทั้งสองพระองค์ ผ่านงานศิลป์ฝีมือของศิลปินหลากหลายท่าน
    " บรรยากาศนิทรรศการ เราเลือกผลงานที่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบที่มีความร่วมสมัย โดยแบ่งเป็นงานประติมากรรม 14 ผลงาน ผลงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์อีก 20 ผลงาน แต่ละผลงานสอดแทรกแนวคิด พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจเอาไว้ภายในผลงาน เพื่อให้ประชาชนที่มาชมได้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทั้งสองพระองค์มีต่อบ้านเมือง" นิวัติแจกแจงรายละเอียด

 

สตีเวน มุตธิกุลโจนส์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมในหลวง ร.9 

    ในส่วนของผลงานประติมากรรม สตีเวน มุตธิกุลโจนส์ ศิลปินผู้รักงานศิลป์มาตั้งแต่เด็ก จากนักวาดการ์ตูน สู่นักวาดมืออาชีพ สะสมความรู้และประสบการณ์ด้านงานศิลป์มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ฝากผลงานด้านศิลปะภาพวาดไว้มากมาย ก่อนที่จะก้าวเข้ามาทุ่มเทให้กับงานศิลป์ด้านประติมากรรม และงานประติมากรรมที่เขานำมาจัดแสดงครั้งนี้มีทั้งหมด 5 ชิ้น เป็นประติมากรรมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระภัทรมหาราช) รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยนำไปจัดแสดงร่วมในนิทรรศการหลายแห่ง
    สตีเวน บอกเล่า แต่ละผลงานที่นำมาจัดแสดงว่า เป็นงานปั้นที่ได้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ขึ้นแตกต่างกัน อย่างผลงานที่พระองค์ทรงยืนโบกพระหัตถ์ก็มาจากภาพถ่ายเมื่อครั้งเฉลิมฉลองโอกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 70 ปี และทรงยืนโบกพระหัตถ์ให้แก่ประชาชนที่มาแสดงความจงรักภักดีในครั้งนั้น ซึ่งเป็นภาพที่คนไทยทุกคนต่างรู้สึกประทับใจ และพระบรมรูปนี้จะมีการสอดแทรกพระราชกรณียกิจของพระองค์ลงไปด้วย หรือจะเป็นผลงานปั้นที่เป็นรูปพระองค์สะพายกล้อง ตนชอบมาก เพราะเป็นภาพที่คุ้นตามาตั้งแต่วัยเด็กตั้งแต่ยุคที่โทรทัศน์ยังเป็นขาว-ดำ มักจะปรากฏภาพพระองค์สะพายกล้องและแผนที่ ลงไปยังพื้นที่ต่างๆ และอีกผลงาน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มหนึ่งที่พูดถึงราชาผู้มีอารมณ์ขัน ตนได้ปั้นเป็นรูปพระองค์ทรงยิ้ม และเมื่อเรามองมายังพระบรมรูปพระองค์รูปนี้ จะสัมผัสได้ถึงความสนุกสนานโดยไม่ต้องตีความมาก แต่ละชิ้นสร้างขึ้นในช่วงเวลาต่างกัน ทั้งก่อนและหลังที่พระองค์เสด็จสวรรคต ด้วยความคิดที่ว่าอยากจะปั้นถวายพระองค์สักครั้ง เพราะเห็นพระองค์ทรงงานหนักมาตลอด
    “ ตอนที่ผมปั้นรูปในหลวงรัชกาลที่ 9 รูปหนึ่ง ผมได้คุยกับเพื่อนลูกสาวที่ตอนนั้นอยู่ ป.6 ผมถามเขาว่ารู้จักไหมว่าใคร เขาบอกไม่รู้จัก ทั้งๆ ที่บทเรียนที่เขาเรียนอยู่ในโรงเรียนก็มีเรื่องราวของพระองค์เต็มไปหมด เช่น เศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่รู้ว่าเป็นของใคร เราก็เลยคิดว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่บางคนถึงไม่รู้จัก ก็เลยพยายามปั้นออกมาให้ดีที่สุดและบอกเล่าตัวตนของพระองค์ให้เห็นภาพ เพื่อที่เด็กรุ่นใหม่จะได้เข้าใจ ที่ชอบปั้นรูปพระองค์ก็เพราะผมอยู่ไทยมาตั้งแต่เด็ก เห็นพระองค์ตั้งแต่เด็กเลย ตอนนั้นจำได้ผมชอบดูการ์ตูนไอ้มดแดงมาก ก่อนที่จะเล่นประมาณสักสองทุ่มจะมีการฉายพระราชกรณียกิจพระองค์ ตอนนั้นเป็นภาพที่พระองค์ทรงขี่ม้าขึ้นไปบนเขา ซึ่งน่าจะขึ้นไปช่วยชาวเขาเปลี่ยนจากปลูกฝิ่นเป็นปลูกพืชเมืองหนาว และอีกหนึ่งอย่างที่ผมประทับใจก็คือภาพที่ผมเห็นมาตลอด พระองค์ท่านทรงปฏิบัติเหมือนกับคนทั่วไป มีความเป็นกันเองกับประชาชน ไม่ทำตนอยู่เหนือผู้อื่นเลย นั่นทำให้ผมประทับใจและอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อพระองค์สักครั้ง” สตีเวน เล่าถึงแรงบันดาลใจ

 

นิทรรศการศิลปะกษัตริยมหาราชในดวงใจไทยนิรันดร์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยกลุ่มศิลปาศรี 

 

    ขณะที่ สุวรรณี แสงกิจพร ศิลปินป๊อปอาร์ตที่มีผลงานมาแล้วมากมาย ครั้งนี้นำภาพจิตรกรรมพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 มาจัดแสดงคู่กัน โดยสุวรรณีกล่าวว่า ทั้งสองภาพถูกวาดขึ้นในเดือนตุลาคมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่พระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 วาดเมื่อปี 2561 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ ขณะที่พระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 เพิ่งวาดเมื่อสัปดาห์ก่อนจะถึงเดือนตุลาคมปีนี้ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ อยากจะรำลึกถึงพระองค์ท่าน ทั้งสองภาพเป็นภาพแนวป๊อปอาร์ต มีความร่วมสมัยด้วยสีสันฉูดฉาด ภาพของรัชกาลที่ 5 เป็นภาพที่ท่านประทับอยู่บนพระเก้าอี้ด้วยพระราชอิริยาบถสบายๆ มีแมวนั่งอยู่ใต้เก้าอี้ เพื่อแสดงถึงพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อสัตว์ แต่ความเมตตาในที่นี้ตนไม่ได้หมายถึงแค่แมว แต่หมายถึงพระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อประชาชนด้วย ให้ภาพดูมีความอ่อนโยน และมีพื้นหลังเป็นสีชมพู เนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพวันอังคาร ขณะที่รัชกาลที่ 9 นั้น เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์พระองค์ท่านฉลองพระองค์ชุดครุยจบปริญญา ซึ่งตนวาดภาพพระองค์ในพระราชอิริยาบถนี้เพราะนึกถึงเรื่องของการศึกษาและการเรียนรู้ พระองค์ทรงเคยสอนคนไทยว่า คนเราต้องเรียนรู้เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับที่พระองค์ยังคงทรงเรียนรู้อยู่ทุกวันตลอดช่วงเวลาที่ทรงครองราชย์และทรงช่วยเหลือประชาชนให้มีกิน และภาพนี้มีพื้นหลังสีเหลืองเพราะพระองค์เสด็จพระราชสมภพวันจันทร์
    นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการยังได้มีการแสดงภาพถ่ายของช่างภาพอีก 4 คน  หนึ่งในนั้น คือ ภาพถ่าย “น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” ของ วาทินี ห้วยแสน บรรณาธิการข่าวท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์สยามรัฐ เป็นภาพถ่ายนาทีประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2559 ในขบวนพระราชพิธีเคลื่อนพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ผ่านพสกนิกรจำนวนนับแสนคน และเป็นภาพที่เคยจัดแสดงมาแล้วที่บ้านอาจารย์ฝรั่ง เมื่อปี 2561

 

วาทินี ห้วยแสน เจ้าของภาพถ่ายประวัติศาสตร์"น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย" ร่วมแสดงเพื่อน้อมรำลึก ร.9 


    วาทินี กล่าวว่า เวลาผ่านไป 3 ปีแล้ว ประชาชนคนไทยยังคงรำลึกถึงพระองค์เสมอ ภาพนี้เหมือนตัวแทนของภาพประวัติศาสตร์ที่ลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่หลายคนน่าจะซื้อเก็บไว้ และการนำภาพนี้มาจัดแสดงอีกครั้งก็เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้เห็นและร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และให้ทุกคนย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งที่พระองค์พระราชทานไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ชีวิตทุกอย่าง ส่วนตนเองชอบในคำสอนหนึ่งที่พระองค์ทรงเคยสอนว่า การทำความดี ควรทำให้นานๆ สะสมไปเรื่อยๆ ทำตลอดแล้วผลลัพธ์จะออกมาเอง ซึ่งเป็นเรื่องจริงตามที่พระองค์ท่านทรงสอน ตนก็อยากจะให้รูปนี้สามารถเป็นแรงบันดาลใจหรือผลักดันในการทำให้ทุกคนระลึกถึงพระองค์ในแง่มุมต่างๆ

 

 

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"