"เบี้ยคนแก่"ใช้จ่ายต้องบริหาร ปากท้องมาก่อน-ฟุ่มเฟือยตัดทิ้ง


เพิ่มเพื่อน    


    ว่าด้วยเรื่องเงินสนับสนุนจากภาครัฐจำนวน 600 บาท ที่มอบให้คนหลัก 6 แม้จะมีทั้งกระแสตอบรับและเสียงบ่นเล็กๆ ว่าเงินจำนวนดังกล่าวอาจจะดูน้อยไปบ้างสำหรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน และบางครอบครัวก็ใช้เงินจำนวนหลักร้อยบาทดังกล่าวหมดไปอย่างรวดเร็ว หรือแทบยังไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็ว่าได้ ดังนั้นการบริหารจัดการรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หลายคนที่อยากรู้ว่าผู้ที่ได้รับเงินดังกล่าวจะจัดสรรปันส่วนอย่างไร มีคำตอบจากคนวัยเกษียณหาเช้ากินค่ำมาบอกกัน 

(นิตยา ยานะบุก)


    เริ่มกันที่ คุณป้านิตยา ยานะบุก วัย 60 ปี บอกให้ฟังว่า “ของใช้ในครัวเรือนที่จำเป็น” คือสิ่งแรกที่ใช้จ่าย “ถ้าจะพูดถึงเงินจำนวน 600 บาทที่ต้องใช้ให้ชนเดือน ก็อาจจะดูน้อยไป แต่การจะให้ภาครัฐเข้ามาช่วยทุกอย่างก็อาจจะเป็นไปได้ยาก เราก็ต้องช่วยตัวเองด้วยเหมือนกัน ดังนั้นการบริหารเงินของป้าก็คือจะเลือกซื้อของใช้ที่จำเป็นก่อน เช่น น้ำมันพืช ข้าวสาร และน้ำตาลทราย เพราะถ้าหากไม่มีเงิน ก็ยังมีข้าวไว้หุงกิน นอกจากนี้ ป้าจะไม่นำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอื่นๆ เช่น การจ่ายค่าแพ็กเกจรายเดือนมือถือ แต่จะใช้โทรศัพท์ที่โทร.เข้าออก ซึ่งมีราคาเพียงแค่หลักร้อยบาทค่ะ” 

(สมทรง ศรีจะ)


    ไม่ต่างจาก คุณลุงสมทรง ศรีจะ วัย 60 ปี เล่าว่า “อันที่จริงแล้วเงินจำนวนดังกล่าวถือว่าค่อนข้างน้อยครับ แต่ถ้าหากรู้จักใช้ก็สามารถแบ่งเบาภาระได้ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในครัวเรือน อย่างข้าวสารหรือน้ำปลา ดังนั้นการใช้เงินจำนวน 600 บาทในการซื้อของจำเป็นน่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนสูงอายุใช้เงินจำนวนดังกล่าวได้อย่างคุ้มค่าที่สุดครับ”

(จินดา มณีน้อย)


    ทว่าเงินจำนวน 600 บาท อาจจะดูน้อยไป โดยเฉพาะบางครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคน และหากบ้านไหนที่ดื่มสุรา อาจใช้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวหมดไปอย่างรวดเร็ว คุณป้าจินดา มณีน้อย วัย 61 ปี ให้มุมมองว่า “สำหรับครอบครัวไหนที่อาจจะใช้จ่ายไปทางฟุ่มเฟือย เช่น การซื้อเครื่องดองของเมา ป้าก็อยากแนะนำว่า อันดับแรกควรจะซื้อของใช้ในครัวเรือนตุนไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ โดยเฉพาะน้ำมัน ข้าวสาร น้ำปลา ที่เหลือคือแก๊สหุงต้ม อาจจะต้องใช้เงินอีกหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับเงิน 600 บาท เพราะของกินของใช้ในครัวเรือน เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เรื่องอื่นก็ควรให้ความสำคัญรองลงมาค่ะ โดยเฉพาะเหล้าเบียร์ เพราะนอกจากจะเสียเงินโดยใช้เหตุแล้ว ยังเสียสุขภาพอีกด้วยค่ะ”

(สมชาย พิพัฒนจันทร์)


    ไม่ต่างจาก คุณลุงสมชาย พิพัฒนจันทร์ วัย 79 ปี ที่กำลังออกกำลังกายอยู่บริเวณสวนลุมพินี บอกว่าให้ฟังเกี่ยวกับเงินหลัก 6 หลัก 7 ที่ได้จากภาครัฐว่า “แม้ว่าตอนนี้ลูกหลานจะให้เงินลุงส่วนหนึ่งไว้ใช้ แต่เงินที่ได้รัฐบาล ลุงก็จะแบ่งมาใช้จ่าย โดยการซื้อข้าวกล้อง ถั่วดำ ซึ่งเป็นอาหารที่ลุงกินเป็นประจำและดีต่อสุขภาพ ก็จะต้องซื้อไว้ก่อนเลย มันก็จะชนเดือนพอดี และปกติก็ไม่ได้ดื่มสุรา แต่ก็อยากบอกผู้ที่ดื่มว่า ถ้ายังจำเป็นต้องซื้อของเหล่านี้ ก็อยากให้ แบ่งเงิน 600 บาท ออกเป็น 2 ส่วน และซื้อเพียงครึ่งเดียว ส่วนที่เหลือก็ซื้อของใช้ในครัวเรือนไว้กินยามที่ไม่มีเงินครับ”

(สายบัว เปรมศิริ)


    ปิดท้ายกันที่ คุณป้าสายบัว เปรมศิริ วัย 71 ปี บอกด้วยอารมณ์ดีว่า “ส่วนตัวป้าจะนำเงินที่ได้ไปทำบุญค่ะ บางทีก็บริจาคตามมูลนิธิที่เกี่ยวกับผู้พิการ บางครั้งก็บริจาคตามกล่องในโรงพยาบาลค่ะ แต่จะจัดสรรปันส่วนโดยการบริจาคครั้งไม่มาก คือตั้งเป้าไว้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้ โดยบริจาคตั้งแต่ 20, 50, 100 บาท ส่วนเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งก็แบ่งไว้สำหรับจ่ายค่าน้ำค่าไฟค่ะ ส่วนเรื่องการกินอยู่ลูกๆ จะเป็นคนออกให้ค่ะ ป้ามองว่าการทำบุญช่วยเหลือคนยากไร้ ก็เท่ากับเป็นการช่วยภาครัฐคืนสิ่งดีๆ ให้กับสังคมค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"