พยานยันตรงกันโอนหุ้น 8 ม.ค. 'เมียธนาธร' แจงยิบปมเว้นหลายเดือนก่อนนำเช็คไปขึ้น!


เพิ่มเพื่อน    

18 ต. 62 - นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  น.ส.ลาวัลย์ จันทร์เกษม และน.ส.กานติ์ฐิตา อ่วมขำ พนักงานบริษัทไทยซัมมิท โอโต้พาร์ค อินดัสตรี จำกัด ซึ่งเป็นพยานในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​ร้องขอให้ศาลรัฐธวรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากถือหุ้นสื่อบริษัทวี –ลัค มีเดีย จำกัด ได้เข้าให้ถ้อยคำต่อศาล  

โดยนางรวิพรรณ ชี้แจงว่า การโอนหุ้นบริษัทวี-ลัคในวันที่ 8 ม.ค. 62 มีการนัดหมายกันที่บ้าน คือก่อน 6 โมงทนายโนโตรีมาจัดเตรียมเอกสารในห้องทำงาน  จากนั้นนายธนาธร กลับมาจากบุรีรัมย์ ทักทายกันเสร็จ ก็ไปอาบน้ำ  ซึ่งต่อมาน.ส.ลาวัลย์ จันทร์เกษม  และน.ส.กานต์ฐิตา อ่วมขำ ก็เดินทางมาสมทบ พอนายธนาธรอาบน้ำเสร็จก็มานั่งคุยกัน และเซ็นเอกสาร  ซึ่งเอกสารสัญญาทางทนายเป็นคนเตรียมมา  โดยในส่วนของตนก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน และเมื่อเซ็นเสร็จก็มีการติดอากรแสตมป์ในวันนั้น โดยเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทไทยซัมมิท เตรียมมา 

"หลังเซ็นเสร็จคุณสมพรก็มีการเซ็นเช็คจ่ายค่าตอบแทนการโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค ให้คุณธนาธร และตนคนละฉบับ   ซึ่งเช็คทั้งสองใบตนเองเป็นคนเก็บ และนำไปขึ้นเดือนพ.ค. 62 ด้วยตนเอง เหตุที่เว้นหลายเดือน  เป็นเรื่องปกติ เพราะที่ผ่านมาก็จะรวบรวมหลายฉบับแล้วนำไปขึ้นพร้อมกันทีเดียวอย่างในปี 60 เคยนำเช็คไปขึ้นทีเดียว 10 ฉบับ   โดยการขึ้นเช็คก็จะไม่มอบให้ใครไปดำเนินการ  ขณะเดียวกันช่วงนั้นเพิ่งคลอดลูกคนเล็กเดือนก.ย.  จึงต้องเลี้ยงลูก และเห็นว่าเป็นเช็คบริษัทในเครือ ไม่มีเรื่องปัญหาเด้งแน่ จึงไม่ได้รีบนำไปขึ้น แต่ต่อมาเมื่อเกิดกระแสข่าวเรื่องการโอนหุ้น เมื่อได้รับเช็คที่ทนายนำมาแสดงต่อกกต. คืน จึงรีบนำไปขึ้นเงิน"

ภรรยานายธนาธร กล่าวต่อว่า ส่วนการเดินทางไปหาเสียงที่จ.บุรีรัมย์ของนายธนาธรในวันที่ 8 ม.ค. 62 จำได้ว่าวันที่ 7ม.ค. 62 ช่วงเช้านายธนาธร บินจากกรุงเทพไปจ.อุบล แล้วไปต่อที่จ.บุรีรัมย์  โดยนายชัยสิทธิ์ คนขับรถขับไปสมทบกับคุณธนาธรที่จ.อุบล  และวันที่  8 ม.ค. คุณธนาธรกลับมากับคุณชัยสิทธิ์ สองคน 

สำหรับการเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทวี-ลัค ตอนตั้งบริษัทชื่อโซลิค ตนเองยังไมได้เข้าไปมีส่วนร่วม  เข้ามาช่วยปลายปี 54 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ การโอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค. แม้จะมีการโอนหลายบริษัท แต่นางสมพรมีการจ่ายเช็คค่าโอนเฉพาะของบริษัทวี-ลัคให้กับนายธนาธรและตน ส่วนบริษัทอื่นๆ มีกำหนดในสัญญาว่าจะชำระภายใน 6  เดือนหลังจากนั้น 

ส่วนที่บริษัทจะเลิกกิจการแต่ทำไมจึงทำสัญญากับบริษัทนกแอร์ นางรวิพรรณ ชี้แจงว่า ตอนเข้ามาบริหารปี 54 นอกจากผลิตนิตยสารฮู  แล้วก็รับจ้างนกแอร์ผลิตนิตยสาร จิ๊บ จิ้บ โดยไม่ได้ทำเนื้อหา  จนปี59 ธุรกิจสิ่งพิมพ์ซบเซา แต่ในส่วนของการผลิตนิตยสารให้กับนกแอร์ยังมีรายได้ไม่ขาดทุนอยู่และยังมีสัญญาอยู่ จึงมีการปิดกองบรรณาธิการฮูเท่านั้น   ส่วนอื่นยังทำหน้าที่ต่อไป ไม่ได้ยุบ

ขณะที่ น.ส.ลาวัลย์  จันทร์เกษม  ผู้จัดการทั่วไปดูแลสายงานบัญชี บริษัทไทยซัมมิท โอโต้พาร์คอินดัสตรี จำกัด   ชี้แจงว่า ทำงานบริษัทนี้มา 15 ปี ซึ่งหลักการๆ โอนหุ้น เมื่อมีการโอนหุ้นแล้ว ก็ได้มีการลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และนำเอกสารไปแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่บริษัทเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตนจึงไม่ได้เป็นผู้นำ ส่งสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเรื่องหุ้นที่ผ่านมามีไม่มาก มีปีที่ผ่านมาค่อนข้างเยอะ ยอมรับว่าตนลงนามเป็นพยานในการโอนหุ้นวันที่ 8 ม.ค. โดยเดินทางไปถึงบ้านคุณธนาธรพร้อมกับน.ส.กานต์ฐิตา และได้ร่วมตรวจสอบตราสารการโอนหุ้นว่าการโอนจากผู้โอน ผู้รับโอน ชื่อ มูลค่าหุ้น ถูกต้องหรือไม่ และร่วมลงนามในเอกสารระหว่างผู้โอน ผู้รับโอน โดยไปบ้านคุณธนาธรกับน.ส.กานต์ฐิตาประมาณ 17.00 น. พร้อมๆกับที่นางสมพรเดินทางมาถึง ซึ่งขณะนั้นทนายความรออยู่ภายในบ้านก่อนแล้ว  

นอกจากนี้ยังเป็นพยานในการโอนหุ้นวันที่ 14 ม.ค.ระหว่างนางสมพร กับหลานชายทั้งสองคน ที่บ้านนางสมพร  ซึ่งมีบ้านอยู่ตรงกับข้ามกับบ้านนายธนาธร ในหมู่บ้านเลคไซด์วิลล่า 2  โดยวันดังกล่าวนางสมพรอยู่ภายในบ้านอยู่แล้ว มีนายพิพัฒน์พงศ์ ทนายความ ตนเอง น.ส.กานติ์ฐิตา และนายทวี นายปิติ จรุงสถิตย์พร หลานชายทั้งสองคนเดินทางมาสมทบตามลำดับ  และยังเป็นพยานในการโอนหุ้นคืนระหว่างหลานชายทั้งสองคนกับนายสมพร วันที่ 21 มี.ค. ซึ่งทั้ง 3 ครั้งเมื่อโอนเสร็จจะมีการลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นบริษัท

จากนั้นศาลได้ซักว่า ทำไมการโอนหุ้นวันที่ 8 ม.ค.62 กับวันที่  14 ม.ค. 62 ไม่มีการแจ้งบอจ. 5 แต่การโอนในวันที่ 21 มี.ค. 62 จึงมีการแจ้งบอจ. 5  ซึ่งน.ส.ลาวัลย์ ชี้แจงว่า มีเหตุหลายประการ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการโอนหุ้น 3 ครั้งเป็นการโอนภายในบริษัทจึงไม่มีการแจ้งบอจ. 5 ขณะเดียวกันบริษัทวี-ลัคมีการเลิกกิจการทำให้ไม่มีใครมารับงานจากตนไปดำเนินการต่อ  แต่หากมีการสั่งให้ตนไปดำเนินการก็สามารถดำเนินการได้  ส่วนการโอนวันที่ 21 มี.ค.62 มีการแจ้งบอจ.5  เนื่องจากก่อนหน้านั้นวันที่ 19 มี.ค. 62 มีการประชุมและมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งจะต้องมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้มีการแจ้งบอจ.5 ไปในคราวเดียวกัน 

ด้านน.ส.กานติ์ฐิตา  อ่วมขำ  กล่าวว่า รับผิดชอบงานด้านการเงินบริษัทไทยซัมมิทโอโต้พาร์ค อินดัสตรี มา 22 ปี การโอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค. ตนอยู่ในเหตุการณ์ โดยเดินทางไปพร้อมน.ส.ลาวัลย์ ถึงบ้านนายธนาธรเวลา 17.00น.  โดยช่วงปลายปี 61 ทราบข้อมูลว่าจะมีการโอนเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นใน 10 บริษัทรวมถึงบริษัทวี-ลัค ในฐานะฝ่ายการเงิน ของบริษัทจึงต้องเข้าไปรับทราบ   โดยยอมรับว่าได้ลงนามเป็นพยานในตราสารการโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค วันที่ 8 ม.ค. 62 และเป็นพยานการโอนหุ้นระหว่างนางสมพร กับหลานชายในวันที่ 14 ม.ค. 62 และการโอนคืนระหว่างหลานชายมายังนางสมพรวันที่ 21 มี.ค. 62.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"