พลังงานไทยในสายตาโลก


เพิ่มเพื่อน    

“เป้าหมายของทุกประเทศชั้นนำด้านพลังงานจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือกสูงขึ้น ซึ่งไทยก็มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกว่า ในปี 2580 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ที่ระดับ 20% หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน สอดล้องกับนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน ที่จะเกิดโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของพลังงานทางเลือกในประเทศไทย”

 

        ภาคพลังงานในยุคนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เติบโตและมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การทำงานในทุกเรื่องนั้นง่ายไปหมด การใช้พลังงานแบบเดิมก็ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับด้านอื่นที่ถูกพัฒนาไปด้วยเช่นกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรม การคมนาคม การแพทย์ หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ ซึ่งในทุกๆ  ด้านก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีปัจจุบัน แต่ทั้งหมดก็ยังต้องพึ่งพาพลังงานเป็นกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เดินหน้าต่อไปได้เหมือนเช่นในอดีต

        ด้วยการพัฒนาของโลกนั้น ที่ทำให้ทุกด้านไปต่อได้ในแนวทางที่ดี รวมถึงด้านพลังงานด้วย แม้จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีไปบ้าง มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ เมื่อเทียบกับอดีต แต่ก็ยังเป็นพื้นฐานให้กับเกือบทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งทุกอย่างเริ่มต้นมามากกว่า 10 ปีแล้ว และได้รับการต่อยอดอย่างถูกที่ถูกทาง จึงเห็นได้ว่าปัจจุบันกระแสโลกด้านพลังงานจะมีทิศทางที่ใกล้เคียงกัน คือการเปลี่ยนพลังงานรูปแบบเดิมๆ ไปยังพลังงานแบบใหม่

        เช่น การผลิตไฟฟ้า ที่จากเดิมมีไม่กี่รูปแบบ และไม่สามารถเลือกเชื้อเพลิงได้หลากหลาย ก็ถูกพัฒนามาให้เลือกหลายประเทศ หรือแม้แต่การผลิตกลั่นน้ำมัน ที่มีส่วนผสมต่างๆ เพิ่มขึ้น มีชนิดให้ประชาชนเลือกใช้ได้มากขึ้น และราคาถูกลง ทำให้เป็นผลดีต่อผู้บริโภค โดยทุกเรื่องนั้นส่วนใหญ่นอกจากจะตอบสนองตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแล้ว ยังสอดคล้องกับแนวคิดที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อโลก และต่อประชาชนในสังคมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกือบทุกประเทศส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

        ขณะที่ภาคพลังงานของประเทศไทยเอง ก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยพอสมควร หลายเรื่องก็มีทิศทางไปในแนวเดียวกันกับกระแสโลก และมีบางเรื่องที่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นความเหมาะสม หรือเพื่อมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่ามีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกันจากแรงสนับสนุนของรัฐบาล และความสนใจของภาคเอกชนในประเทศ จึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ไทยจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนได้ไม่ช้านี้

        ซึ่งในช่วงนี้กระทรวงพลังงานที่เป็นหน่วยงานหลักการบริหารนโยบายของประเทศ ก็เร่งทำคะแนนในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ โดยยืนยันว่าจะก้าวขึ้นไปเป็นหนึ่งในผู้นำด้านพลังงานของอาเซียน โดยผ่านการสื่อสารของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตามเวทีระดับโลก ยิ่งทำให้เกิดการรับรู้ที่มากขึ้นของต่างประเทศว่าไทยเริ่มดำเนินการเรื่องอะไรบ้าง และมีเป้าหมายที่จะเป็นอะไรในอนาคต

        และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เดินทางไปยังสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนกับประเทศชั้นนำในระดับนโยบายในเวทีการประชุมรัฐมนตรีระดับโลกในการบูรณาการระบบพลังงานหมุนเวียน ว่าพลังงานหมุนเวียนได้กลายมาเป็นกระแสหลักในตลาดพลังงานระดับโลกอย่างรวดเร็วในไม่กี่ ปีที่ผ่านมานี้ ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์แสงอาทิตย์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีราคาลดลงกว่าครึ่งในไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งหมายความว่ามันจะกลายมาเป็นคู่แข่งกับพลังงานจากฟอสซิล

        ทั้งนี้ ในหลายๆ ประเทศ เช่น อินเดียและตะวันออกกลาง พลังงานแสงอาทิตย์ถูกเสนอขายในราคาเท่าราคาขายส่งเฉลี่ย หรือถูกกว่า หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่คาดการณ์ไว้คือแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่) สามารถแข่งขันได้กับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งปัจจุบันสามารถเห็นได้จากประเทศชั้นนำอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ภูมิภาคยุโรป และออสเตรเลีย

        “เป้าหมายของทุกประเทศชั้นนำด้านพลังงานจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือกสูงขึ้น ซึ่งไทยก็มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกว่า ในปี 2580 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ที่ระดับ 20% หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน สอดล้องกับนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน ที่จะเกิดโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของพลังงานทางเลือกในประเทศไทย”

        องค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง คือเทคโนโลยี ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (ไอโอที) กำลังเปลี่ยนแปลง วิธีที่ใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องมือ และการสื่อสารระหว่างกัน ความก้าวหน้าในอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ควบคุม และการตอบสนองการใช้งานแบบดิจิทัล จึงช่วยให้สามารถบูรณาการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ต่อเนื่องได้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในภาคพลังงาน ได้วางผู้บริโภคพลังงานให้เป็นผู้ควบคุมพลังงานได้โดยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย (โปรซูเมอร์) ทำให้สามารถควบคุมการใช้ การผลิต การขาย และเลือกแหล่งพลังงาน สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ซึ่งเรียกโอกาสเหล่านี้ว่า “พลังงาน 4.0” ประเทศไทยเองก็ยังคงเพิ่มทักษะและความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถก้าวไปสู่ระดับแนวหน้าของการปฏิวัติพลังงานนี้เช่นเดียวกัน

        และด้วยเป้าหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับด้านพลังงานนี้เอง นอกจากจะพัฒนาในประเทศแล้ว ก็ต้องมีการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ด้วย โดยการศึกษาข้อมูลจากประเทศชั้นนำจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้ส่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำความร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ เพื่อร่วมกันศึกษาพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน โดยมุ่งเน้นเชื้อเพลิงประเภทชีวมวล (ไบโอแมส) และก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) ซึ่งจะเป็นโมเดลสำคัญที่สามารถนำมาต่อยอดให้กับการพัฒนาในประเทศได้ และตรงตามนโยบายของกระทรวงพลังงานที่จะมุ่งเน้นให้เกิดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน

        ซึ่ง กฟผ.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับบริษัท Stadtwerke Rosenheim นำรูปแบบความสำเร็จมาบูรณาการกับโรงไฟฟ้าชุมชนในประเทศไทยให้เหมาะกับเศษวัสดุทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิ ซังข้าวโพด แกลบ หญ้าเนเปียร์ ทะลายปาล์ม รวมถึงร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชน ตลอดจนการออกแบบเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อชุมชนแต่ละแห่ง รวมถึงศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพในประเทศไทยสำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนต้นแบบ โดยชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ สร้างงานให้กับท้องถิ่น

        “จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนได้ถูกกำหนดไว้ที่อย่างน้อย 30% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีบทบาทหลักในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราไม่สามารถปฏิเสธแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าได้ ดังนั้นเราจึงมีการเริ่มต้นแผนงานจำนวนมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว”

        ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคในภาคพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยี ยานยนต์ไฟฟ้า โดยทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยกำลังก้าวสู่ประเทศที่มีกำลังผลิตติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถมีชื่อเสียงในสายตาประเทศชั้นนำของโลกได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"