กสศ..ปลุกพลังนศ.สายอาชีพได้ทุนมอง เป็นวิกฤตที่ควรสร้างโอกาส 


เพิ่มเพื่อน    


27ต.ค.62-กสศ. ปลุกพลัง สร้างโอกาสแห่งอนาคต กับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง "พีระพล" ฝาก นศ.ทุน สายอาชีพ มองเห็นคุณค่าทุนที่ได้รับ ว่าจากวิกฤตให้เป็นโอกาสสร้างความสำเร็จ  ด้าน "ภาคเอกชน" ระบุชัด ไม่สามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างเดียว เหตุ ภาคธุรกิจไม่ได้รอให้เด็กเรียนจบแล้วค่อยไปสมัครงาน 

ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ แจ้งวัฒนะ - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเวที“ปลุกพลัง สร้างโอกาสแห่งอนาคต กับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง" โดยมีนักศึกษาทุนรุ่นที่ 1 พร้อมด้วยครูอาจารย์กว่า 300 คน เข้าร่วม

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงรุ่นที่1 ทั้งหมด 2,113 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาทุนฯ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของ ผู้บริหาร ครูอาจารย์ รุ่นพี่นักศึกษาสายอาชีพ รวมถึงเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน  ช่วยกันแบ่งปันประสบการณ์ ทั้งเรื่องทักษะชีวิต การวางแผนชีวิต ให้นักศึกษาทุนรู้คุณค่าและการวางแผนการใช้-จ่ายเงิน ตลอดจนทักษะอาชีพ จากประสบการณ์จริงของนายจ้าง เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจมุ่งมั่นในการเรียน และพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือการจัดการศึกษาสายอาชีพชั้นสูง ในเทอมที่ผ่านมาเราได้เห็นความก้าวหน้าของระบบดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิภาพนักศึกษาทุน โดยมีครู อาจารย์ที่เปรียบเสมือนโค้ชชีวิตให้คำปรึกษาแนะนำด้านสภาพจิตใจ เพื่อดูแลการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่น 

นอกจากนี้ กสศ.ยังร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์  พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาทุนอีกด้วย  รวมถึงยังมีความก้าวหน้าของหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาสายอาชีพ โดยเฉพาะความร่วมมือกับเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ในรูปแบบทวิภาคี ซึ่ง กสศ.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำของนักศึกษาทุน ในเทอมที่ผ่านมามีภาคธุรกิจเอกชนมากกว่า 50 แห่งร่วมโครงการทวิภาคี  และความร่วมมือระหว่างประเทศในการคัดเลือกนักศึกษาทุนไปดูงานและฝึกงาน เช่น ญี่ปุ่น จีน เดนมาร์ก และมาเลเซีย

ด้านนายพีระพล พูลทวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า  ตนขอฝากถึงนักศึกษาที่ได้รับทุนวัตกรรม สายอาชีพชั้นสูงรุ่นที่ 1 การได้รับทุน ไม่สำคัญเท่าเราจะไปถึงวัตถุประสงค์ของกองทุน กสศ. ได้อย่างไร เมื่อได้รับโอกาสเราจะต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งที่ได้รับ อาจารย์จะต้องดูแลลูกศิษย์ ผู้อำนวยการต้องเป็นผู้กำกับ ขณะนี้มีกระแสว่าจะมีคนตกงานอีก 400,000 คน ดังนั้นนักศึกษาต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส ร่วมบูรณาการระหว่าง ศธ. กสศ.และผู้ประกอบการภาคเอกชน จะเป็นแสงสว่างที่ดีต่อสายอาชีวะ การได้ศึกษางานในสถานประกอบการ ได้เรียนรู้งานนอกห้องเรียน เป็นโอกาสช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

ด้านนายธีระพล  ถนอมศักดิ์ยุทธ ผู้ช่วยบริหารสำนักประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัดมหาชน ร่วมบรรยายในหัวข้อ “นวัตกรสายอาชีพในยุค Disruptive Technology” ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาส่งผลต่อชีวิตคน และธุรกิจ ดังนั้นเราไม่สามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างเดียว ทุกคนต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม ถ้าตั้งหลักได้ตั้งแต่วันนี้ อีก 60 ปี ข้างหน้าจะสบาย  นักศึกษาทุนที่ได้รับโอกาส ต้องปรับตัวให้พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้น

​“วันนี้ภาคธุรกิจไม่ได้รอให้น้องเรียนจบแล้วค่อยไปสมัครงาน หรือเริ่มต้นทำงาน เหมือนของกลุ่มทรู มีโครงการ ทรู แล็บ (True Lab) ที่เข้าไปเชื่อมโยงภาคการศึกษา นำโจทย์ภาคธุรกิจลงไป มีสตาร์ทอัพระดับนักศึกษารวมถึงอาชีวะด้วย ถ้ามีบิสซิเนสโมเดล อยากทำธุรกิจ ไม่ต้องเรียนจบก็สามารถลองผิดลองถูก  รีบเรียนรู้ความล้มเหลวตั้งแต่ตอนเรียน แล้วเริ่มต้นใหม่ จะได้ประสบการณ์เร็วขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องการนักปฏิบัติ สุดท้ายแล้วพอได้นวัตกรรมมา ก็มาแชร์องค์ความรู้กัน รูปแบบการเรียนของอาชีวะจากนี้ไป เป็นเรื่องของการลงมือปฏิบัติทำงานจริงในภาคเอกชน ในโรงงานจริง แล้วจะได้เรียนรู้จริง ถือเป็นการร่นระยะเวลา”นายธีระพล กล่าว 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"