"สมคิด"มองมหา'ลัย ผลิตกำลังคนเพียงลำพังไม่ได้แล้ว ต้องให้เอกชนช่วยชี้แนะ อว. ต้องส่งแผนรองนายกฯไฟเขียว


เพิ่มเพื่อน    

 
28ต.ค.62-ที่ห้องประชุมศาสตร์จารย์ประเสริฐ ณ นคร อาคารอุดมศึกษา 1 - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดการประชุมหารือ เรื่อง การผลิตแลพัฒนากำลังคน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่ง ว่า การผลิตและพัฒนากำลังคนถือเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกของรัฐบาล ตนจึงมอบหมายให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ประชุมและหารือทำความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากที่ผ่ามาเราประสบปัญหาใหญ่ของการผลิตกำลังคน  คือ มีแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด   บางสาขาก็เกิน จึงต้องมีการหารือถึงจำนวนการผลิตที่เหมาะสม และงบประมาณที่ใช้ จากนั้นให้เสนอมาที่ตน อีกทั้งโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ดังนั้นมหาวิทยาลัยคงไม่สามารถผลิตกำลังคนตามลำพังได้ แต่จะต้องร่วมมือกับภาคเอกชน โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นฝ่ายให้การสนับสนุน ทั้งระดับประกาศนียบัตร และระดับปริญญา รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของรัฐบาล ส่วนสาขาอื่นก็ไม่ได้ทอดทิ้ง แต่ต้องปรับให้เข้ากับโลกยุคดิจิทัล นำระบบออนไลน์และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนและการผลิต

“มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันวิจัยในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาเรื่องต่างๆ ขณะที่ อว. ก็ควรแก้ระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์  ให้อาจารย์ที่ทำวิจัยได้รับผลประโยชน์ส่วนแบ่งรายได้จากงานวิจัยที่ตนเองมีส่วนร่วมทำด้วย อาจารย์จะได้มีกำลังใจในการทำวิจัย ส่วนเรื่องงบประมาณในการขับเคลื่อนงานวิจัยนั้นทางสำนักงบประมาณ ไม่ได้ตัดงบวิจัยของมหาวิทยาลัย แต่ต่อไปการขอทำวิจัยต้องมีเหตุมีผล ดังนั้น ผมไม่อยากให้ไปกังวลเรื่องงบฯ มากนัก ขอให้มุ่งไปที่การผลิต จับมือกับภาคเอกชนเพื่อที่จะได้รู้ว่าโลกไปไกลถึงไหน ส่งผลต่อรายได้มหาวิทยาลัยและรายได้ของอาจารย์”รองนายกฯ กล่าว

ด้านนายสุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมประกอบด้วยตัวแทนจาก ทปอ.เดิม .ทปอ.มรภ. , ทปอ.มทร. และภาคเอกชนขนาดใหญ่ 10 บริษัท สภาอุตสาหกรรม , สภาหอการค้า สมาคมธนาคารไทย บีโอไอ เห็นตรงกันที่จะผลึกกำลังร่วมกันผลักดันการผลิตกำลังคนตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 โดยจะต้องมีการทบทวนการผลิตใหม่ ในสอดคล้องกับโลกยุคใหม่ซึ่งจะต้องมีหลักสูตรในการพัฒนาทักษะใหม่ และหลักสูตรในการยกระดับฝีมือ ซึ่งทั้งมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ก็มีอยู่หลายหลักสูตร ซึ่งเรื่องนี้บีโอไอ จะเข้าไปให้การสนับสนุนหน่วยงานที่มีหลักสูตรประกาศนียบัตรของภาคธุรกิจ และจะมีการทบทวนการสนับสนุนมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรประกาศนียบัตร ในสาขาที่ภาครัฐต้องการเช่นกัน  ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยทั้ง 3 กลุ่ม ทั้ง ทปอ.เดิม , ทปอ.มรภ.และ ทปอ.มทร. ก็มีศักยภาพที่จะตอบโจทย์ประเทศที่แตกต่างกัน โดยกลุ่ม ทปอ.เดิม มีศักยภาพรองรับ 10 อุตสาหกรรมของประเทศ สำหรับ กลุ่ม 3 พระจอม, ทปอ.มทร. และ อาชีวศึกษา ก็จะต้องร่วมกับสภาอุตสาหกรรม เพื่อตอบโจทย์แรงงานในภาคการผลิต ส่วน ทปอ.มรภ. จะร่วมกับ สภาหอการค้า ลงไปช่วยกันพัฒนาพื้นที่ทั้งด้านการเกษตร และ การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการพบกันครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม 

“เรากำลังเตรียมการหลักสูตรระยะสั้น เพื่อพัฒนาแรงงานในตลาดแรงงานในขณะนี้ กว่า 38 ล้านคน ซึ่งแน่นอนว่าได้รับผลกระทบจากโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย จากนั้นก็จะการพัฒนาหลักสูตรระยะยาวที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีการปรับให้สอดรับกับความต้องการของภาคเอกชน นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนแรงงาน ซึ่งจะต้องชัดเจนว่า ตลาดแรงงานต้องการกำลังคนจำนวนเท่าไร ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนหนึ่ง อีอีซี ระบุความต้องการ 4-5 แสนคน และทุกฝ่ายก็พยายามตอบสนองในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งเมื่อได้ภาพความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว ก็จะนำมาเชื่อมโยงกับภาคการผลิตซึ่งมีมหาวิทยาลัยเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนตั้งสถาบันการฝึกอบรมของตนเองขึ้นมา เพื่อยกระดับแรงงานของตนเอง โดยบีโอไอจะให้แรงจูงใจกับภาคเอกชนดังกล่าวต่อไป”รมว.อว.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"