ครป.กังขาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่ออายุปปช.


เพิ่มเพื่อน    

14 มี.ค. 61 - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)  ออกแถลการณ์ กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการเว้นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยประเด็นที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งได้ขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเว้นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ว่าส่วนของการดำรงตำแหน่งข้าราชการซึ่งไม่พ้น 10 ปี สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไปจนครบวาระนั้น โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติเป็นมติเอกฉันท์ว่า การต่ออายุ ป.ป.ช. นั้นไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้กรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน 7 คนที่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ยังสามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ 9 ปี ตามกฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับเดิมนั้น

กรณีดังกล่าว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังนี้

1.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาเช่นนี้นั้น อาจนำมาซึ่งการทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุลทั้งระบบที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทั้งหมด และหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ที่กำหนดว่า “กฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จะไปขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้”

2.  คำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวนี้ อาจสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับสังคมว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังสร้าง “ระบบคณาธิปไตย” ขึ้นมาแทนที่หรือทำลายหลักนิติธรรมของประเทศหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยดังกล่าวเท่ากับเป็นการอนุญาตให้คณะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้สถาปนาอำนาจพิเศษขึ้นมาเหนือระบบการเมืองการปกครองของไทย กรณีของการละเว้นลักษณะต้องห้ามเพื่อให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ถือว่าเป็นการเปิดช่องให้กฎหมายมีช่องโหว่ มีการเลือกปฏิบัติ และเป็นการสร้างแบบอย่างที่น่าละอายในการออกกฎหมายที่อาจใช้เทคนิคดังกล่าวเพื่อเขียนกฎหมายที่ขัดกับหลักนิติธรรมในอนาคต

3. คำวินิจฉัยดังกล่าวได้บั่นทอนความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง” ทั้งนี้แนวคำวินิจฉัยของตุลการศาลรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวนี้ ได้ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นหรือความไม่มั่นใจของประชาชนต่อการใช้อำนาจต่างๆ ของกลไกตามรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นไปโดยความบริสุทธิ์ โปร่งใส หรืออาจนำมาซึ่งการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่ นี่เป็นปัญหาที่หมักหมมมายาวนานในสังคมการเมืองไทย และเป็นเรื่องทุกฝ่ายในสังคมไทยพยายามแก้ไขและหาทางยุติปัญหาดังกล่าว

อย่างไรก็ดี  เราเห็นว่า วาระของกรรมการ ป.ป.ช.. ในปัจจุบัน ควรสิ้นสุดไปเช่นเดียวกับองค์กรอิสระอื่นๆ เมื่อมีการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งหากกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง และยังดึงดันที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมขาดความน่าเชื่อถือ มีตำหนิ และขาดความสง่างามในการดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท้ายที่สุด  ครป. ขอเรียกร้องต่อวงการนิติบัญญัติ นักกฎหมาย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และภาคประชาชน ได้ร่วมกันตรวจสอบและดำเนินการเรื่องนี้ให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อปลดล็อคปัญหาที่เกิดขึ้นจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ และกอบกู้เกียรติยศ ศักดิ์ศรีขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญให้กลับคืนมาใหม่โดยเร็วที่สุด
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"