อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกายกคำพูด'ชวน-ดิสทัต 'ตั้งข้อสงสัย'เสรีพิศุทธ์'จะตอบอย่างไรไม่ให้หน้าแตก


เพิ่มเพื่อน    


29 ต.ค.62- นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุข้อความว่า

.....วันที่ 29 ตุลาคม 2562 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการบางชุดของสภาผู้แทนราษฏร จะเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมมาชี้แจง ว่าตนสนับสนุนให้ใครที่ได้รับเชิญแม้กระทั่งรัฐบาลให้ความร่วมมือในการทำงานของกรรมาธิการ
.....แต่ผู้ที่เชิญก็ต้องมีวุฒิภาวะในการเชิญเขามา ต้องให้เกียรติผู้รับเชิญเพราะเขาไม่ได้เป็นลูกน้อง ไม่ใช่เชิญมาข่มขู่คุกคาม ต้องเชิญมาตามเงื่อนไขของกฎหมาย
.....การเชิญบุคคลมาชี้แจงต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมาธิการแต่ละชุด ไม่ใช่เชิญเปะปะ ต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ตัวเอง ส่วนเชิญใครนั้นก็เป็นสิทธิของผู้เชิญ แต่ถ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวกับกรรมาธิการฯชุดนั้นๆ ก็ไปเชิญเขามาชี้แจงไม่ได้ เพราะแต่ละชุดกำหนดบทบาทเอาไว้ในกฎหมายชัดเจน

.....เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) โดยนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร. 0404/10738 ด่วนที่สุด ถึงประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร
.....อ้างถึงหนังสือคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ด่วนที่สุด ที่ สผ 0019.05/547 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2562
.....ตามหนังสือที่อ้างถึงคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎรแจ้งว่าอาศัยอำนาจตามมาตรา 129 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 คณะกรรมาธิการได้มีหนังสือให้กราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีและครม. มาร่วมประชุมเพื่อแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นกรณีการเสนอร่าง พ ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ. ศ. 2563 เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรีและครม.ยังไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ได้ เนื่องจากถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ยังไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ความละเอียดทราบแล้วนั้น
.....สลน.ได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีแล้ว เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ. ศ. 2562 ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งข้อ 90(22) กำหนดให้มีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
.....จึงมีประเด็นขอความชัดเจนในเบื้องต้นก่อนดังนี้
.....1.การเสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2563 เกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบอันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎรอย่างไร
.....2.ประเด็นที่อ้างว่าครม. ยังไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ได้เนื่องจากเห็นว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ถูกต้องครบถ้วน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 ไม่รับคำร้องของ นายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ ซึ่งเสนอโดยผู้ตรวจการแผ่นดินไว้พิจารณาวินิจฉัย ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลสรุปได้ว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำทางการเมืองของครม.ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ และการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
.....นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ก่อนการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครม.ได้เสนอ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ. ศ. 2562 และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอนุมัติ พ.ร.ก.ดังกล่าว ได้มีมติด้วยเสียงข้างมาก
.....อีกทั้งก่อนหน้านี้ในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ครม.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. .... และร่างพ.ร.บ.เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาด้วยกรรมาธิการเต็มสภาและเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวไม่มีการทักท้วงและทำหน้าที่ของครม. แต่อย่างใด
.....กรณีจึงเป็นประเด็นที่ไคร่ขอความชัดเจนจากคณะกรรมาธิการ เพื่อจักดำเนินการให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
.....จึงเรียนมาเพื่อโปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
.....ขอแสดงความนับถือ

.....ถ้าพิจารรณาถึงคำกล่าวของท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) มีหนังสือสอบถามประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบแล้ว สงสัยว่าประธานฯ คือพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จะตอบอย่างไรและจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อไม่ให้หน้าแตกไปมากกว่านี้.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"