"ประสาร"ยกแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปีนี้ ตอกย้ำ ต้องลดความเหลื่อมล้ำเด็ก ชี้ภาพรวมทั่วโลกถดถอย วอนรัฐบาลสานต่องบฯอย่าละเลย


เพิ่มเพื่อน    


  1พ.ย.62-ที่ห้องประชุมสมานสโมสร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากรณ์ จัด​เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “จากรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2562 สู่การใช้นวัตกรรม ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย”  
    โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวปาฐกถา เรื่อง “นวัตกรรมในการจัดทำนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาบทเรียนจากรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2562”  ตอนหนึ่งว่า ตามที่ราชสถาบันวิทยาศาสตร์สวีเดน มอบรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2562 ให้แก่ นายอะบีจิต บาเนร์จี  นางเอสเธอร์ ดิวโฟล นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที)  และนายไมเคิล เครเมอร์ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในสหรัฐอเมริกา จากแนวคิดการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับโลก ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์กิจกรรม  ซึ่งถือเป็นการยกย่อง การนำนวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง   มาสนับสนุนการวิจัยเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา ตนเห็นว่า การมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปีนี้ มาได้ถูกที่ถูกเวลา  เพราะข้อมูลจากสถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก ชี้ว่ายังมีเด็กเยาวชนมากกว่า 263 ล้านคนทั่วโลก ยังคงอยู่นอกระบบการศึกษา  ในจำนวนนี้เป็นเด็กวัยประถมศึกษามากกว่า 60 ล้านคน   แต่ที่น่ากังวลไปกว่าจำนวนเด็กนอกระบบ คือ ความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มชะลอตัวลง กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 5-10 สุดท้ายยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา หรือต้องออกจากการเรียนกลางคัน ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ ตัวเลขเด็กนอกระบบการศึกษาในระดับโลกเริ่มกลับมามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 2016-2017 อีกครั้ง   ในขณะที่ประเทศไทยเองยังมีเด็กเยาวชนในครอบครัวที่ยากจนและด้อยโอกาสอีกมากกว่า 670,000 คนที่มีอายุ 3-18 ปี และยังมีนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในครอบครัวที่ยากจนและยากจนพิเศษอีกเกือบ 2 ล้านคนที่อาจจะหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน 


    นายประสาร กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลกที่มีแนวโน้มถดถอยมาก ในขณะที่งบประมาณของภาครัฐและเงินบริจาคกลับมีแนวโน้มลดลง จึงมีความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเลือกใช้ มาตรการที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมาก  ซึ่งนวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้จึงอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่มีภารกิจลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถใช้สนับสนุนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ด้วยกระบวนการ  ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนา และเลือกนโยบายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาตามบริบทของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน โดยจากผลการวิจัยประเมินผลโครงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากกว่า 31 โครงการทั่วโลกด้วยกระบวนการ Randomized Control Trial (RCT) พบว่า นโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยมาตรการที่เจาะจงไปที่อุปสงค์ต่อการศึกษา มุ่งปัญหาความต้องการที่แท้จริงของนักเรียนและผู้ปกครองหลายมาตรการให้ผลลัพธ์และความคุ้มค่าทางงบประมาณที่สูงกว่ามาตรการด้านอุปทานของการศึกษา เช่น การลดต้นทุนการเข้าถึงการศึกษา อย่างการสนับสนุนเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข ต่ออัตราการมาเรียนของผู้เรียน ซึ่งเป็นมาตราการที่กสศ.ดำเนินการอยู่ หรือการสนับสนุน อาหารเช้า เครื่องแบบ และการเดินทาง แบบมีเงื่อนไข 

    "อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ของประเทศไทยในเรื่องความเหลื่อมล้ำนั้นจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นบ้าง  แต่ยังคงมีโจทย์สำคัญหลายเรื่องที่ประเทศไทยควรเร่งจัดการอย่างเป็นระบบก่อนที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว  ยังมีหลายส่วนที่มีความซับซ้อน เชื่อว่าการแก้ไขต้องทำที่ต้นทาง เริ่มจากการทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ  ซึ่งมีหลายหน่วยงานทำอยู่ ขณะที่ กสศ.มีหน้าที่เสริมความรู้ ข้อมูล รวมถึงค้นหาแนวทางใหม่ๆ หาสาเหตุว่าการที่เด็กและเยาวชนไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้เต็มที่ เพราะสาเหตุอะไร เช่น เด็กบางต้องเดินทางมาโรงเรียน บางคนอยู่ห่าง 20 กิโล ไม่มีค่าเดินทาง  ไม่มีเงินกินอาหารเช้า เป็นต้น นี่คือสิ่งที่สะท้อนเรื่องของมาตรการฝั่งอุปทาน ดังนั้นต้องระวังอย่าตกหลุมพราง ว่า งานของกสศ.ซ้ำซ้อนจนขอตัดงบประมาณ แต่ความจริงมันคนละวง คนละภารกิจ "


    ประธานบอร์ด กสศ.กล่าวอีกว่า ความตั้งใจของคณะกรรมการบริหาร กสศ. จะไม่ทำงานในสเกลใหญ่ แต่เราจะหามุมเล่น รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยในแนวทางเดียวกับสิ่งที่ กสศ. ทำอยู่ จึงเป็นจังหวะที่ดีมาก เพื่อทำความเข้าใจว่า ที่คุณทำอยู่ใช้เงินมาก เน้นอุปทาน   แต่กสศ.จะเข้ามาเสริม ใช้ข้อมูลความรู้  ทำให้ถูกที่ถูกทาง เน้นเรื่องอุปสงค์ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  เพราะ กสศ.มองว่าเราไม่ควรทิ้งปัญหายากจน ให้ข้ามไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน  ในขณะที่การแจกเงินชิมช็อปใช้ จะหมด รุ่นต่อไปก็หมด 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"