ชวนลูกหลานประดิษฐ์กระทง สืบสานประเพณีเพ็ญเดือน12


เพิ่มเพื่อน    

      “เทศกาลลอยกระทง” นอกจากได้ขอขมาแม่พระคงคากันแล้ว ทว่ากิจกรรมนี้หากปู่ย่าตายายและลูกหลานร่วมกันประดิษฐ์กระทง ยังทำให้เด็กๆ ยุคใหม่เรียนรู้กระทงในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ทำจากใบตอง กาบกล้วย จากกะลามะพร้าว หรือจากสิ่งประดิษฐ์อีกมากมายที่นำมาใช้ดีไอวายเป็นกระทงแสนสวยในวันเพ็ญเดือนสิบสองที่จะมาถึงนี้ และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือการสร้างสรรค์กระทง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานที่ที่เราจะไปลอยกระทงร่วมกับสมาชิก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ คุณบัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต กูรูงานดีไอวาย มีคำแนะนำในการสร้างสรรค์งานดีไอวายดังกล่าวไว้น่าสนใจ   

(วรรณประภา ตุงคะสมิต)

      คุณบัว-วรรณประภา กูรูงานดีไอวาย บอกว่า “เมื่อเทศกาลลอยกระทงมาถึงนั้น นอกจากการที่เราได้ร่วมขอขมาแม่พระคงคาแล้ว การที่ผู้สูงอายุร่วมกับลูกหลานประดิษฐ์กระทง ยังถือเป็นการให้ความรู้กับเด็กๆ ยุคใหม่ ว่าอันที่จริงกระทงที่เราใช้ลอยกันเป็นประจำทุกปีนั้นสามารถใช้วัสดุที่หลากหลาย นอกเหนือจากใบตองและต้นกล้วย แต่กะลามะพร้าว หรือแม้แต่ดอกบัวขนาดใหญ่ ก็สามารถนำมามิกซ์แอนด์แมตช์เป็นกระทงได้เช่นกัน นอกจากนี้คุณตายายยังสามารถให้ลูกหลานออกไอเดียในการทำประโยชน์หลังจากลอยกระทงเสร็จ ก็ถือเป็นการลอยกระทงแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่เข้ากับยุคใหม่ของการลดโลกร้อนอีกด้วย ขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายประเพณีของการลอยประทีป เพื่อขอขมาแม่พระคงคาแต่อย่างใด

(กระทงน้ำแข็ง ไอเดียสุดคูลช่วยลดขยะ)

 

      สำหรับรูปแบบของการประดิษฐ์กระทงที่หาได้จากวัสดุใกล้ตัวอันแรก คือ “กระทงน้ำแข็ง” ที่ได้จากการนำน้ำเปล่าใส่ลงไปวัสดุที่สวยงาม คล้ายกับกระทงของจริง ในรูปแบบของถ้วย ชาม ขันน้ำแสนสวย จากนั้นแช่ตู้เย็นทิ้งไว้จนกระทงแข็งตัว และน้ำแข็งออกมาแช่ในน้ำเพื่อให้ก้อนกระทงน้ำแข็ง ละลายออกจากแม่พิมพ์ จากนั้นนำดอกไม้สด เช่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบประดับตกแต่ง พร้อมด้วยการใส่เทียนขนาดเล็กลงไปในกระทงน้ำแข็ง ทั้งนี้ข้อดีของกระทงรูปแบบดังกล่าวจะละลายไปกับแม่น้ำลำคลองโดยไม่ทิ้งขยะอันตรายเอาไว้ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างว่า การที่ครอบครัวไหนจะเลือกลอยกระทงน้ำแข็งต้องไปในสถานที่ที่คนไม่ได้ลอยกระทงรูปแบบดังกล่าวมากนัก เช่น บึงน้ำในหมู่บ้าน หรือลำคลองขนาดเล็กใกล้ๆ บ้าน หรือลอยในที่ปิดอย่างสระน้ำบริเวณบ้านของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งจำนวนมากไปกระทบกับสัตว์ใต้น้ำ เพราะอันที่จริงแล้วเวลาที่เราประดิษฐ์จะต้องรู้ว่าเราจะนำไปลอยในสถานที่อย่างไร   

(กระทงดอกบัวหลวง ไอเดียรักษ์โลกหาง่ายทำง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)

 

      นอกจากนี้ “กระทงดอกบัวหลวง” ก็เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ค่อนข้างง่าย หากว่าพื้นที่ไหนปลูกดอกบัวหลวงไว้เป็นจำนวนมาก โดยแนะนำให้เลือกดอกขนาดใหญ่พอสมควร จากนั้นพับครึ่งที่กลีบดอกบัวหลวง ก็จะคล้ายกับกระทงใบตองที่เราคุ้นเคยกัน จากนั้นปักธูปและเทียนขนาดเล็กลงไป ก็จะได้กระทงที่ไม่ต้องซื้อหา และไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คุณตาคุณยายที่ชอบปลูกต้นกล้วยไว้ข้างๆ บ้าน ก็สามารถตัดต้นกล้วย จากนั้นเลาะเอากาบกล้วย และตัดให้เป็นท่อนๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ จากนั้นประดับดอกไม้ที่หาได้ในบ้าน เช่น ดอกดาวเรือง กล้วยไม้ ฯลฯ เพียงแค่นี้ก็จะได้ “กระทงกาบกล้วย” ที่ช่วยลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

(กระทงกาบกล้วย ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก)

      “สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ระหว่างที่ทำกระทงรักษ์โลก ปู่ย่าตายายควรให้ลูกหลานคิดว่าจะทำประโยชน์เพื่อแม่น้ำลำคลองอย่างไร เป็นต้นว่า ช่วยกันเก็บกระทงที่ลอยแล้วในแหล่งน้ำสาธารณะ กระทั่งแหล่งใกล้บ้านตัวเอง เท่าที่เด็กสามารถช่วยได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือกีดขวางผู้อื่น เพียงเท่านั้นกิจกรรมลอยกระทงในวันเพ็ญเดือนสิบสองก็มีประโยชน์นานัปการกับแม่น้ำลำคลอง หากไม่นับรวมความสนุกสนานรื่นเริงแบบฉบับไทยๆ ในวันดังกล่าว นอกจากนี้ไอเดียรักษ์โลกอีกวิธีที่น่าสนใจคือ การที่สมาชิกในบ้านนั้นลอยกระทง เพียงใบเดียวเพื่อช่วยกันลดขยะค่ะ”.       


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"