รพ.จุฬาฯโชว์ผลงานพัฒนาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง สำเร็จอีกขั้น เริ่มใช้เซลล์นักฆ่ากับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว มัยอีลอยด์พบ ปลอดโรค 18เดือน เตรียมจัดงานวิ่งระดมทุนวิจัยต่อเพื่อวิจัยวัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

 

8พ.ย.62-    ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านสื่อสารบริการสังคมและพันธกิจสากล จุฬาฯ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศ  ด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้ากลุ่มวิจัยพัฒนาแอนติบอดีเพื่อการรักษามะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ   อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.ยรรยง ไทยเจริญ กรรมการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันแถลงข่าว “ก้าวอีกขั้น ! แพทย์จุฬาฯ พัฒนางานวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง” การแถลงความก้าวหน้าของงานวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

    ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาฯ กล่าวว่าการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นั้น มหาวิทยาลัยต้องกล้าที่จะตอบโจทย์             ที่ยากและท้าทายอย่างมากของสังคม โดยอาศัยคนเก่งที่มีมากมายทุกศาสตร์มาร่วมคิดและร่วมทำโครงการวิจัย  และนวัตกรรมที่ท้าทายด้วยกัน อย่างมุ่งเป้า เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนงานที่ท้าทายเหล่านี้สามารถริเริ่มได้รวดเร็วทันการณ์ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทายาลัย ให้ใช้เงินจากรายได้ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สิน  รายได้จากมาบุญครองตั้งเป็น “กองทุน ศตวรรษที่ 2 เพื่อการก้าวกระโดด ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”           ในการสนับสนุนโครงการวิจัยขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของสังคมอย่างจริงจังให้เกิดขึ้น โดย หวังว่าระยะยาวโครงการที่มีคุณภาพสูงเหล่านี้สามารถตอบโจทย์สังคมที่ท้าทายและยากมากได้อย่างแท้จริง และได้รับการสานต่อ       จากทางรัฐบาล และจากเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปในที่สุด 
    ตัวอย่างของโครงการขนาดใหญ่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฉบับที่ 2 ได้แก่ โครงการ จุฬาอารี เป็นการวิจัยนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัย (Chula ARi : Aging Research Innovation), โครงการ ออกแบบเพื่อสังคม (Chula D4S, Design                      for Society) และ โครงการ Cancer Cure เป็นต้น ซึ่งแต่ละโครงการ จะเป็นการทำงานร่วมกันจากคนเก่งข้ามศาสตร์จากหลายคณะ เพื่อสร้างผลผลิต และผลกระทบที่มีคุณภาพสูงได้อย่างแท้จริง 
    อีกโครงการคือ การพัฒนางานวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง หรือ Cancer Cure เป็นหนึ่งในตัวอย่าง              ที่สำคัญ ของกองทุนศตวรรษที่ 2 ที่ผนึกพลังจากหลายคณะและสถาบันทั้งในด้านแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์                 เภสัชศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เพื่อร่วมกันทำวิจัย การพัฒนาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เพื่อแก้ปัญหามะเร็งที่พบเพิ่มขึ้นในสังคมสูงวัย และ วัยต่างๆ 
    นอกจากนี้ จากผลงานเบื้องต้นของโครงการนี้ได้นำไปสู่การสนับสนุน               อย่างกว้างขวางจากประชาชนและ สังคม ซึ่งโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ จะเป็นกลไกสำคัญ ในการผลิต คนเก่งคนดี นักวิจัย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ที่มี จิตใจ เพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และสามารถบรรลุ                ตามเป้าหมายสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ในที่สุด
    ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผอ.รพ.จุฬาฯ กล่าวถึงความมุ่งมั่นของคณะแพทย์ และ รพ.จุฬาฯ ในการแก้ปัญหาโรคมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุการในการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยว่า ในปัจจุบันรพ.จุฬาฯ  ประสบกับจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทางคณะแพทย์ และ โรงพยาบาล จึงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รักษามะเร็งด้วยโปรตอนแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้มีพิธีนำเครื่องไซโคลตรอน ที่ใช้ผลิตโปรตอนเข้าศูนย์โปรตอน      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปเรียบร้อยแล้ว และจะเปิดบริการให้กับประชาชนได้ในเดือนกันยายน ปี 2563 
    ยังมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยีใหม่ ได้แก่ โครงการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด  และโครงการเซลล์บำบัดด้วยเซลล์นักฆ่าเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่รักษายาก เป็นต้น และยังให้การสนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันมะเร็งร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ให้ทำวิจัยทั้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการวิจัยทางคลินิกโดยมีเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การรักษาจริงที่ให้ชาวไทยทุกระดับเข้าถึงได้ ตามพันธกิจของสภากาชาดไทยโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรม คือ การลงทุนสร้างและปรับปรุงห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษสำหรับการผลิตเซลล์ เพื่อใช้ทางคลินิกที่ ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 8 ตามแบบและข้อกำหนดซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)สำหรับการผลิตเซลล์          เพื่อทำการวิจัยทางคลินิกและให้บริการภายในสถาบัน และทางศูนย์ฯ ได้เริ่มทำการปรับปรุงกระบวนการผลิต     และการควบคุมคุณภาพของการผลิตเซลล์ตามมาตรฐานที่อย.  กำหนด                 เพื่อรองรับการรับรองมาตรฐาน Good Production Practice และ Good Manufacturing Practice                    ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมในการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทางคลินิกและภายนอกสถาบันต่อไปในอนาคตอันใกล้
    นอกจากนี้  ยังมีแผนการขยายเพื่อให้มีการบริการได้เพียงพอ โดยมีการสร้างห้องปลอดเชื้อพิเศษ อีกทั้ง                 เพื่อการผลิตเซลล์และวัคซีนเฉพาะบุคคลต่อมะเร็งเพิ่มเติม ในตึกบูรณาการวิจัยใหม่ร่วมกับตึกรักษาพยาบาล                          ที่เน้นการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร รวมกันเป็น “ศูนย์บูรณาการวิจัยและรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย” โดยคาดว่าจะเสร็จในปี 2566
    รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านอายุรศาสตร์โรคมะเร็งศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง กล่าวว่า ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าของการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด                  อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งโดยองค์การอาหารและ                      ยาของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศทั่วโลก เป็นแอนติบอดี ที่ปลดล็อค สิ่งที่เซลล์มะเร็งสร้างขึ้น                      เพื่อป้องกันตัวเอง  ทำให้ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็งของผู้ป่วยกลับมาทำงานต่อสู้กับมะเร็งได้ ขณะนี้มีข้อบ่งชี้ในการรักษามะเร็งมากถึง 21 ชนิด  โดยมีทั้งที่ให้เป็นการรักษาเป็นยาเดี่ยว หรือให้ร่วมกับยาหรือการรักษาอื่นๆ                                เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ทำให้มีผลเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิดได้ยาวนานขึ้น                              ลดการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งบางชนิด นอกจากยาที่ปลดล็อคระบบภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง   ยังมีความพยายามพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยการใช้วัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อบำบัดมะเร็งอีกด้วย โดยออกแบบ   และสร้างวัคซีนที่จำเพาะกับโปรตีนของเซลล์มะเร็ง แล้วนำมาให้ผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานมะเร็งต่อโปรตีนแปลกปลอมบนเซลล์มะเร็ง ทำให้มีการทำลายเซลล์มะเร็งด้วยระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยคล้ายกับการต่อสู้เชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายผู้ป่วยโรคติดเชื้อ สำหรับงานวิจัยของเรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวัคซีนเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งแต่ละราย ให้เหมาะสมกับความหลากหลายของมะเร็งในแต่ละบุคคล และมีแผนที่จะพัฒนา               ไปใช้ร่วมกับยาแอนติบอดีที่ปลดล็อคการต่อต้านระบบภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็ง โดยมีขั้นตอนการทำงาน                         หลักๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้
•    ขั้นที่ 1 : นำเนื้อเยื่อมะเร็งจากผู้ป่วยแต่ละรายมาตรวจหาโปรตีนของเซลล์มะเร็งที่มีการกลายพันธุ์                     เพื่อหาโปรตีนที่เป็นเป้าหมายเฉพาะของมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละราย
•    ขั้นที่ 2 : ผลิตวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่เป็นเป้าหมาย “เฉพาะบุคคล” เพื่อให้มีผล                           ในการรักษาเฉพาะผู้ป่วยรายนั้นๆ อย่างเหมาะสมที่สุด
•    ขั้นที่ 3 : นำวัคซีนฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย และติดตามผลการรักษามะเร็ง
    "ในปีที่ผ่านมาเราได้ทำวิจัยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้สำเร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเริ่มวิจัยทางคลินิกในขั้นตอนที่ 3 ตามข้อกำหนดในการใช้วัคซีน"
    อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง กล่าวถึงภารกิจของกลุ่มวิจัยภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บำบัด (Cancer Cellular Immunotherapy) โดยพันธกิจของศูนย์ฯ มุ่งเน้นไปยังงานวิจัย 2 เรื่อง คือ  
    1.การพัฒนา NK cell (Natural Killer cell หรือ เซลล์นักฆ่า ในระหว่างปี 2561-2562 ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้แ ละความปลอดภัยของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิลอยส์ ที่ความเสี่ยงสูง ด้วยเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาค แก่ผู้ป่วยจำนวน 10 ราย จากการดำเนินโครงการ    นำร่อง ทางศูนย์ฯ ประสบความสำเร็จในการผลิตเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาคให้มีจำนวน คุณภาพ                              และความปลอดภัย ผ่านเกณท์มาตรฐา  นของการใช้เซลล์ทางคลินิกภายในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษสำหรับการผลิตเซลล์เพื่อใช้ทางคลินิก และยังพบว่าการรักษาด้วยเซลล์นักฆ่า จากผู้บริจาคในผู้ป่วยกลุ่มนี้    มีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยผู้ป่วยรายแรกที่เข้าร่วมโครงการนั้น                  มีระยะปลอดโรคนานถึง 18 เดือนแล้ว หลังจากได้รับเซลล์นักฆ่า โดยทางศูนย์มีความมุ่งหวังจะดำเนินโครงการวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 1 และ 2 ต่อไปในปี 2563 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพ              ของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาดังกล่าวแก่ผู้ป่วยกลุ่มที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
    "ทางศูนย์ฯ ได้เริ่มพัฒนา การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดลิมฟอยส์ด้วย Chimeric Antigen Receptor T cell ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น โดย Chimeric Antigen Receptor T cell นี้คือเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วย ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีความจำเพาะต่อมะเร็ง ซึ่งทำให้สามารถควบคุมมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมฟอยส์ที่กลับเป็นซ้ำ   หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานได้สูงถึง 80-90% การรักษาดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วในสหรัฐอเมริกาและยุโรป                     แต่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10-15 ล้านบาท ศูนย์ฯ จึงได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น                 ในการพัฒนาผลิต Chimeric Antigen Receptor T cell ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาดังกล่าวแก่ผู้ป่วยชาวไทย ซึ่งการทดสอบในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองพบว่าเซลล์ที่ผลิตด้วยวิธีใหม่นี้  มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมีความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง ทางศูนย์ฯ มีความมุ่งหวังจะเริ่มต้นดำเนินการวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 1 แก่ผู้ป่วยจำนวน 12 รายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ซึ่งในปัจจุบันโครงการวิจัยดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ฯ"
    อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้ากลุ่มวิจัยพัฒนาแอนติบอดีเพื่อการรักษามะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง และ ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ จุฬาฯ กล่าวถึงความก้าวหน้าในการพัฒนายาแอนติบอดี เพื่อทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถกลับมาทำงาน                ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและกลับมากำจัดเซลล์มะเร็งได้ตามธรรมชาติ ในราคาที่เข้าถึงได้มากที่สุดสำหรับคนไทย                               ว่ากระบวนการพัฒนายาแอนติบอดีนั้นมีความซับซ้อน ต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด                   แบ่งได้ 5 ระยะ ดังนี้
    •ระยะที่ 1: การผลิตยาแอนติบอดีต้นแบบจากหนู ทำการผลิต เลือก และทดสอบยาต้นแบบ                         จากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูมากกว่าหนึ่งแสนแบบ ซึ่งในขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท                ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 ซึ่งทางศูนย์ฯ ทำสำเร็จได้ยาต้นแบบตัวแรกที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงยาในท้องตลาดจากต่างประเทศ
•    ระยะที่ 2: ปรับปรุงแอนติบอดีต้นแบบจากหนู ให้คล้ายกับโปรตีนของมนุษย์มากที่สุด                              และเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันงานวิจัย                  ของกลุ่มอยู่ในระยะที่ 2 นี้ และมีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ 
•    ระยะที่ 3: เมื่อได้ยาต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว จึงทำการผลิตยาจากโรงงานในปริมาณมากให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยสูงสุดเพื่อนำไปใช้ทดสอบในระยะต่อไป ขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ระยะเวลา 24 เดือน
•    ระยะที่ 4: ทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทดสอบ       ในมนุษย์ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณ 100-200 ล้านบาท และระยะเวลา 24 เดือน
•    ระยะที่ 5 : การทดสอบในมนุษย์ เป็นการทดสอบตัวยาในผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์                           มีการทดสอบต่าง ๆ อาทิ ปริมาณการให้ยา ประสิทธิภาพการรักษา ผลข้างเคียง เป็นต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1000 ล้านบาท และระยะเวลา 48 - 60 เดือน
    ศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง                       คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวปิดท้ายว่าถึงแม้ว่างานวิจัย จากทั้ง 3 พันธกิจของศูนย์จะมีความก้าวหน้า                      เป็นอย่างมาก และได้รับความสนับสนุนจากหลากหลายหน่วยงานและประชาชนโดยทั่วไป แต่การศึกษาและวิจัย                ยังต้องใช้เวลาและเงินทุนในการทำงานวิจัยในขั้นต่อๆ ไปอีกเป็นจำนวนมาก จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องหาแหล่งทุนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เกิดความสำเร็จต่อไปอย่างยั่งยืน                  
      ทั้งนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งเพื่อระดมทุนสนับสนุนและเพื่อให้ความรู้                ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ล่าสุดที่อยากจะฝากประชาสัมพันธ์คือ “กิจกรรมงานวิ่งการกุศล "Chula Cancer Run                                ก้าว...ทันมะเร็ง" ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 ณ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจัดให้มีการวิ่ง 3 ระยะทาง ได้แก่ 2.2 กม. 5.2 กม. และ 10.2 กม. ซึ่งเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพดี และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองเพื่อห่างไกลโรคมะเร็ง งานนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ศิษย์เก่าอย่างพี่ตูน จากมูลนิธิก้าวคนละก้าวมาร่วมวิ่ง 10.2 กม.กับเราด้วย ผู้สนใจ                           สมัครกันได้ที่ https://race.thai.run/chulacancerrun นอกจากนี้จะมีกิจกรรม Virtual Run พร้อมกัน                     ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2562 จนไปถึงวันมะเร็งโลกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปีหน้า เพื่อให้                                มีการออกกำลังกายต่อเนื่อง ติดตามได้ใน LINE: @chulacancerrun (มี @) หรือสำหรับผู้ที่ต้องการจะร่วม                           บริจาคเพื่อการวิจัยสามารถบริจาค เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ “คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่อการวิจัย) เลขที่ 045-304669-7 (กระแสรายวัน) ผู้ที่ต้องการใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี ขอให้กรอกข้อมูลขอใบเสร็จมาทาง online http://canceriec.md.chula.ac.th/donation/
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"