กรมเจ้าท่า แจงอุทรณ์ศาลปกครองแล้ว คดีท่าเรือนครหลวง


เพิ่มเพื่อน    

8 พ.ย.62-รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรมเจ้าท่า ที่อนุญาตใช้ท่าเรือขนถ่ายถ่านหินและสินค้าต่าง ๆ ที่มีระวางบรรทุกเกิน 500 ตันกรอสย้อนหลังไปนับแต่วันที่อนุญาต ตามที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาะโลกร้อน พร้อมด้วยชาวบ้านในอำเภอนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 81 คน ฟ้องร้อง 8 หน่วยงานรัฐ เพื่อให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตท่าเรือที่ฝ่าฝืน


นายวิทยา  ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.)เปิดเผยว่า ได้ยื่นอุทธ์คำพิพากษาศาลปกครองไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ซึ่งเรื่องนี้  ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาท่าเรือที่ขนส่งสินค้า ในพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในพื้นที่ อ.นครหลวง และพื้นที่อื่นๆ ซึ่งปกติมีประมาณ 60-70 ท่าเรือ ในอดีต เรือขนส่งสินค้า ไม่ได้มีขนาดมากกว่า 500 ตัน กรอส แต่เมื่อภาคการขนส่งสินค้าในประเทศ ซึ่งนำไปสู่ภาคการนำเข้า-ส่งออกด้วย มีการเติบโต ตามนโยบายรัฐ ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์  ทำให้ผู้ประกอบการเพิ่มขนาดเรือ เพื่อลดจำนวนเที่ยวเดินเรือ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน เรือทุกลำที่ขนส่งสินค้า ล้วนมีขนาดใหญ่กว่า 500 ตัน กรอส

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ส่งผลให้ในปี 2557 เพื่อให้การประกอบการเดินเรือไม่มีปัญหา เนื่องจากในอดีต ท่าเรือในพื้นที่ อาจมีใบอนุญาตเรือเทียบไม่เกิน 500 ตันกรอส  กรมเจ้าท่า ได้ทำการให้ใบอนุญาตท่าเรือ สามารถเทียบระวางเรือมากกว่า 500 ตันกรอส ได้ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือในการดูแลสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ให้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการท่าเรือทุกแห่งปฏิบัติ  หากมีท่าเรือใดฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย  รวมทั้งได้มีการเพิ่มมาตรการ ให้ทุกท่าเรือติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิด (CCTV) แล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ กรมเจ้าท่า มอนิเตอร์ ว่ามีการปฏิบัติตามระเบียบคู่มือของผู้ประกอบการ อย่างเคร่งครัดหรือไม่  

“ ยืนยันว่า กรมเจ้าท่ามีมาตรการ ในคู่มือตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งตามข้อเท็จจริงเป็นการกำหนดแนวทางดูแลสิ่งแวดล้อม กับท่าเรือที่มีมาในอดีต ส่วนท่าเรือที่จะเปิดใหม่นั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการพัฒนาท่าเรือ  ที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้น สำหรับรองรับเรือขนาดมากกว่า 500 ตันกรอส” นายวิทยา  กล่าว 

นายปรีชา  ประสพผล นายกสมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำ เปิดเผยว่า  ในฐานะผู้ประกอบการยืนยันว่า ในส่วนของท่าเรือเก่า ที่เปิดให้บริการมานานแล้ว นั้น สมาคมฯได้ดูแลการปฏิบัติตามคู่มือเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว  ส่วนท่าเรือที่จะขออนุญาตใหม่ ก็ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายในการขออนุญาต   อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ อยากให้ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ ดูแล เพื่อให้การดำเนินการ  ไม่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องหยุดนิ่ง   เนื่องจากการขนส่งทางน้ำ ถือเป็นหัวใจของการขนส่งสินค้า  รองรับการขนส่งสินค้าเกษตร  สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค  ต่อเนื่องถึงการขนส่งสินค้า เพื่อการนำเข้า-ส่งออกที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยขณะนี้ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 30 ก.ย.62 ได้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรมเจ้าท่าที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการท่าเรือขนถ่ายถ่านหินและสินค้าต่าง ๆ ที่มีระวางบรรทุกเกิน 500 ตันกรอสทั้งหมดโดยให้มีผลย้อนหลังไปนับแต่วันที่อนุญาต แต่หากจะใช้ท่าเรือดังกล่าวต่อไปต้องไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียก่อน และพิพากษาให้อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้อำนาจตาม ม.35 ประกอบ ม.37 แห่ง พรบ.โรงงาน 2535 แก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญจากฝุ่นละออง และเสียงดังจากการประกอบกิจการต่างๆทั้งหมด และพิพากษาให้ อบต.ในพื้นที่ ใช้อำนาจตาม ม.44 ม.26 ประกอบ ม.28 แห่ง พรบ.การสาธารณสุข 2535 แก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญจากฝุ่นละออง และเสียงดังจากการประกอบกิจการต่างๆทั้งหมดด้วยภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"