สศช.ลุยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์SEAหวังบริหารด้านEIA


เพิ่มเพื่อน    


9 พ.ย.2562 นางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการสัมมนาระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เรื่อง “การขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)” ว่า การสัมมนาดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารสาธารณะให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ SEA และความสำคัญของ SEA ที่เป็นเครื่องมือหนึ่งของการวางแผนและจัดทำนโยบาย เพื่อการพัฒนาให้กับประชาชนทั่วไปและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ SEA ของประเทศไทย

ทั้งนี้ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์หรือ SEA เป็นวิธีการหรือเครื่องมือที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนเพื่อการพัฒนาหรือการจัดทำนโยบายและแผนงาน SEA มีการศึกษาวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพ และขีดความสามารถในการรองรับของสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาบนพื้นฐานของการบูรณาการปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาและเปรียบเทียบทางเลือกในการตัดสินใจเชิงนโยบาย จึงนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการวางแผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย แผน และแผนงาน จึงเรียกว่าเป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นระดับภาพใหญ่ หลากหลายมิติ กว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในระดับโครงการเพื่อกำหนดเป็นกิจกรรมที่จะใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลกระทบจากโครงการนั้นๆ  

สำหรับการพัฒนาและผลักดันให้เกิดระบบ SEA มีการกำหนดใช้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยประเทศไทยนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) กำหนดให้มีการปรับปรุงกระบวนการ SEA รวมทั้ง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2565) กำหนดให้ผลักดันการนำแนวทาง SEA มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ประกอบกับการผลักดันให้มีการขับเคลื่อน SEA ให้มีผลเป็นรูปธรรม ได้ถูกกำหนดไว้ ทั้งในแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 รวมทั้งยังกำหนดไว้ในนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ในนโยบายข้อ 10.7 แต่การนำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ไปดำเนินการยังไม่ได้รับการผลักดันอย่างเป็นระบบและมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ได้กำหนดให้มีการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ให้เป็นที่ยอมรับและถูกนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ภายใต้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นประธานอนุกรรมการ และมี สศช. และ สผ. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม เพื่อจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ (ร่าง) แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA Guideline) 

นอกจากนี้ กพย.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำ SEA และ (ร่าง) แนวทาง SEA แล้ว เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 รวมทั้ง ได้กำหนดประเภทของแผน/แผนงานและพื้นที่ที่ควรทำ SEA ในเบื้องต้น 7 แผน ได้แก่ 1.แผนด้านคมนาคม 2.แผนพัฒนาพลังงานและปิโตรเลียม 3.แผนพัฒนาทรัพยากรแร่ 4.ผังเมือง 5.แผนบริหารจัดการลุ่มน้ำหรือแผนพัฒนาชายฝั่งทะเล 6.แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษ เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ 7.แผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม หรือการพัฒนาพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"