'ปารีณา'ท่าจะแย่!'นิพิฏฐ์ 'ฟันเฟิร์มมี'ภบท.5'ในมือเท่ากับมัดคอตัวเองว่าบุกรุกที่รัฐ


เพิ่มเพื่อน    

13 พ.ย.62- นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงการถือครองที่ดิน ภบท.5 ซึ่งกำลังตกเป็นข่าวจากกรณีน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี มีที่ ภบท.5 1,700 ไร่ว่า เวลามีการบุกรุกที่ดินของรัฐ จะมีการพูดถึง ภบท.5 กันเยอะ ผู้บุกรุกจะอ้างว่าตนเองครอบครองอยู่และเสียภาษีถูกต้อง มีใบบภท.5 มาแสดงเรียบร้อย เมื่อก่อนผมทำคดีพวกนี้มาเยอะจะได้ยินชาวบ้านสู้คดีเรื่องที่ดินแล้วนำใบภบท.5มาแสดงกันบ่อย 

ใบภบท.5 คือ ใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบอะไรหรอก มันเป็นหลักฐานมัดตัวผู้ครอบครองเสียด้วยซ้ำหากรัฐต้องการพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้บุกรุกที่ดิน ถ้างั้น ผู้บุกรุกไปแจ้งทำไม ที่เขาไปแจ้งก็เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าตนเองครอบครองที่ดินนั้น เพราะตามกฎหมายแล้วในระหว่างชาวบ้านด้วยกัน ใบบภท.5 สามารถยืนยันได้ใครมีสิทธิดีกว่ากันเท่านั้นเอง แต่จะนำมายันรัฐว่าตนเองมีสิทธิเหนือรัฐไม่ได้ 

ปัญหาว่า แล้วทางราชการรับเสียภาษีได้อย่างไรหากเป็นที่ดินของรัฐ ก็ตอบได้ง่ายๆว่า เรื่องภาษีนี้ใครไปเสียรัฐก็รับไว้ทั้งนั้นแหละครับ อยากเสียก็เสียไป (ต่อมาทราบว่าตั้งแต่ปี 2551 รัฐไม่รับเสียภาษีใบภบท.5แล้ว) ใครมีใบภบท.5 ไว้ ก็ใช้ได้เพียงหากที่ดินนั้นต่อมารัฐ อนุญาตให้เข้าครอบครองได้ ผู้เสียภาษีก็อ้างได้ว่าตนเองมีสิทธิดีกว่าชาวบ้านทั่วไปเพราะครอบครองอยู่โดยมีใบเสียภาษี(ภบท.5)มาแสดง ก็อาจได้ที่ดินนั้นไป แต่เขาไม่ให้ครอบครองเยอะๆนะครับ 

สำหรับที่ดินที่ประกาศเป็นเขต สปก.หากมีใบภบท.5 อยู่ เขาก็ไม่ให้ครอบครองเยอะๆ เป็น 1,000 ไร่หรอกครับ อย่างดีก็ 50 ไร่ หรือ ไม่เกิน 100 ไร่สำหรับการทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ใครมีใบ ภบท.5 อยู่ในมือ จึงอาจถือได้ว่าเป็นดาบ 2 คมได้เหมือนกัน คือถือว่าบุกรุกที่ดินรัฐอยู่โดยไม่อาจปฏิเสธได้ และภบท.5 นั่นแหละจะมาบาดคอตัวเองได้สักวันหนึ่ง ที่ดินรัฐนี่ศักดิ์สิทธิ์นะครับ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้/
#นิพิฏฐ์ผู้แทนนอกสภา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"