แป้งมันสำปะหลัง แปรรูป “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ใน4เดือน " ประเดิมใช้จริง งานกาชาดปี62


เพิ่มเพื่อน    

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติก มีความจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน หรือในอุตสาหกรรมต่างๆ แต่อย่างที่ทราบว่าต้องใช้เวลาย่อยสลายขยะพลาสติกนานถึง  400-500 ปี  ขยะพลาสติกจึงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ในการหาแนวทางป้องกัน แก้ไข  ทั้งวิธีการนวัตกรรม หรือการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ   ซึ่งในหลายประเทศได้มีการนำแป้งมันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นวัสดุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อใช้ทดแทนพลาสติก ด้วยมันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจส่งอกกของไทยในอันดับต้นๆของโลก มีประโยชน์ ทั้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไม้อัด กระดาษ กาว อาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และอื่นๆ  นอกจากนี้มันสำปะหลังยังมีคุณสมบัติ ขาวมันวาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี อีกด้วย

    ล่าสุด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBiA) และพันธมิตรภาคเอกชน แถลงข่าว "ถุงพลาสติกสลายตัวได้สำหรับขยะอินทรีย์ จากแล็บสู่การขยายผลเพื่อใช้งานจริง” โดยเป็นผลงานวิจัยของเอ็มเทค และ สวทช. ที่ร่วมกับ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด พัฒนาสูตรพลาสติกชีวภาพมาแปรรูปเป็นพลาสติกและทำการผสมสูตรเพื่อเพิ่มสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนำไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบาง ซึ่งจะสามารถทำการย่อยสลายได้ในระยะเวลาประมาณเพียง 4 เดือน


    เบื้องต้นได้มีการผลิตถุงพลาสติกคัดแยกขยะอินทรีย์ออกมา 2 ขนาด คือ ถุงหน้ากว้าง 18 นิ้ว สำหรับใช้ตามร้านขายอาหาร และถุงหน้ากว้าง 30 นิ้วสำหรับวางตามจุดคัดแยกมากกว่า 40 จุดทั่วงานกาชาดกว่า 1 หมื่นใบเพื่อช่วยลดปัญหาพลาสติกและยังเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนาต่อยอดในอนาคต ซึ่งจะประเดิมใช้ใน “งานกาชาด 2562” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-24 พฤศจิกายน 2562 ที่สวนลุมพินี

 


    ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกสู่ท้องทะเลมากที่สุดในโลก สาเหตุสำคัญมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง มีอัตราส่วนที่มากถึง 40% ของขยะพลาสติกทั้งหมด จากผลกระทบของการหลุดรอดของขยะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมทำให้ภาครัฐร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี และกำหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำนวน 7 ชนิด ที่พบมากในทะเลของประเทศไทยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
    “ซึ่งในการจัดงานกาชาด ที่ปีนี้มุ่งเป้าเป็นต้นแบบงาน การกุศลสีเขียว เพื่อลดขยะ งดใช้โฟม ลดพลาสติก ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเริ่มนำถุงพลาสติกย่อยสลายสู่การใช้งานจริง ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และสนับสนุนการสร้างค่านิยมใหม่ให้คนไทย บริโภคด้วยความรับผิดชอบ และสร้างสังคมที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะ ด้วยการคัดแยกตั้งแต่ต้นทางเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของโครงการในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้น” ดร.จุลเทพ กล่าว

กระบวนการผลิต


     ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBiA) กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชีวภาพเพียง 1 % ของการใช้พลาสติกทั้งหมด และอุปสรรคในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพที่สำคัญคือ ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิตทำให้การนำมาประยุกต์ใช้จริงเป็นไปได้ยาก หากบริษัทฯ สามารถช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ได้ ก็จะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  เป็นการคิดค้นพัฒนาแป้งมันสำปะหลังให้อยู่ในรูปของเม็ดพลาสติก TAPIOPLAST และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้ เช่น ขึ้นแผ่นฟิล์มสำหรับถุงขยะย่อยสลายได้ เพราะมีความเข้ากันได้กับเม็ดพลาสติกย่อยสลาย จึงสามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพดีและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการใช้ TAPIOPLAST เป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลาย นอกจากทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้นและยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

การย่อยสลายของถุงพลาสติกแบบใหม่ ที่ใช้เวลาเพียง 4เดือน


    ด้าน ดร.นพดล เกิดดอนแฝก นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง เอ็มเทค สวทช. กล่าวถึงจุดเด่นของถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ว่า เนื่องจากมีส่วนผสมจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอันตราย คือ แป้งมันสำปะหลัง 50% เป็นวัตถุดิบหลักมาผสมด้วยการใช้ความร้อนหลอม ซึ่งทีมวิจัยมีการออกแบบกระบวนการผสมเทคนิค โดยหลอมนวดเนื้อวัตถุดิบให้เข้ากันได้ดี ที่มี PBAP ที่ให้ความเหนียว และ PLA ที่ให้ความแข็งแรง จึงทำให้มีคุณสมบัติเหมือนกับถุงพลาสติกทั่วไป โดยจะผลิตออกมาเป็นเม็ดคอมพาวด์ หรือเม็ดพลาสติกที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นและมีความแข็งแรง สามารถเป่าขึ้นรูปได้ง่ายด้วยเครื่องจักร เครื่องเป่าถุงโดยที่ไม่ต้องดัดแปลงเครื่องจักรและได้ต้นแบบถุงพลาสติกย่อยสลายได้

วัตถุดิบที่ใล้ผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ง่าย


    “เมื่อนำถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ใส่กับอาหารเปียกหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ซึ่งสามารถเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์  และเศษอาหารต่างๆ ก็จะมีเกลือแร่ต่างๆหลงเหลืออยู่ ก็จะมีประโยชน์ต่อพืช โดยเฉลี่ยระยะเวลาการย่อยสลายก็จะอยู่ที่ประมาณ 90 วัน หรือหากอยู่ในกองขยะและมีอุณหภูมิร้อนก็จะทำให้ย่อยสลายไวขึ้นเพียง 1 เดือน ถึงแม้ในห้องแล็บจะรู้ว่าถุงนี้ย่อยสลาย แต่เรายังมีทีมวิจัยที่จะไปติดตามการย่อยสลาย ขยะและถุงขยะยังจะถูกติดตามไปอีก 3 เดือนในสภาวะจริง ซึ่งตอนนี้ราคาถุงพลาสติกย่อยสลายได้ราคาถุงจะอยู่ที่ 4 บาทสำหรับคนไทยยังแพง ซึ่งหากในอนาคตมีการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นราคาก็อาจจะลดลงประมาณครึ่งราคาเพราะตัวที่เติมลงไป แต่การคัดแยกขยะก็ยังสำคัญ เพราะแม้เราจะทิ้งเศษอาหารเป็นที่ พวกขวดพลาสติกหากแยกก็สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้” ดร.นพดล กล่าวทิ้งท้าย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"