อินโดรามา โชว์ศักยภาพ “รีไซเคิลโพลีเอสเตอร์แห่งแรกในไทย"


เพิ่มเพื่อน    

โพลีเอสเตอร์ ที่ทำจากวัสดุพลาสติกขวด PET รีไซเคิล

 

การลดปัญหาพลาสติกที่หลายๆ ประเทศกำลังปรับใช้คือ การหันมาใช้วัสดุ และบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบรีไซเคิล อย่าง สหภาพยุโรปที่มีสมาชิก 28 ประเทศ มีการยอมรับการนำเม็ดพลาสติกมารีไซเคิลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว เช่น เยอรมนี ที่เพิ่งออกกฏหมายหนุนสินค้าทำจากพลาสติกรีไซเคิล ทำให้ขณะนี้เยอรมนีมีการผลิตและมีความต้องการใช้พลาสติกเป็นจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยเอง ก็กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ "ห้ามใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร" เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล มาใช้ได้ในประเทศไทย เพราะตอนนี้มีบริษัทหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่พลาสติกมีความพร้อมสำหรับสนับสนุนด้านต่างๆ แล้ว

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส หรือ ไอวีแอล ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความพร้อมในการสนับสนุนให้มีการแก้ประกาศกระทรวงฯ โดยเฉพาะความพร้อมด้านเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ไอวีแอล ได้เปิดโรงงานในจังหวัดนครปฐม โชว์เทคโนโลยีสุดล้ำจากยุโรปในการรีไซเคิลพลาสติกครบวงจรสู่ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET และ rHDPE

นายริชาร์ด-โจนส์

นายริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไอวีแอล ในฐานะผู้ผลิต PET เริ่มเข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิลเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 โดยการเข้าซื้อกิจการเวลแมน อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิล PET ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นผู้นำในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์สังเคราะห์สั้น และเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล เพื่อตอบสนองความท้าทายในการจัดการพลาสติกใช้งานแล้ว และส่งเสริมให้เกิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบัน ไอวีแอล มีโรงงานรีไซเคิล 11 แห่งทั่วโลก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก รวมถึงโรงงานรีไซเคิลในประเทศไทย ซึ่งไอวีแอลได้ก่อตั้งโรงงานรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์และพลาสติก PET ครบวงจรในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2557 และเป็นโรงงานรีไซเคิลแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตจากยุโรป

นายอนิเวช ติวารี

นายอนิเวช ติวารี หัวหน้าโรงงานอินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ นครปฐม เปิดเผยว่า ในการดำเนินธุรกิจรีไซเคิลขวดพลาสติก ผลิตเส้นใยและเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) โดยมีกำลังผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ จำนวน 120,000 ตันต่อปี และเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 29,000 ตันต่อปี เพื่อรองรับลูกค้าในตลาดหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เส้ยใย และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีของเวลแมน อินเตอร์เนชั่นแนล จากยุโรป ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านรีไซเคิลอันดับต้นๆ ของโลก และเทคโนโลยี Gneuss และเทคโนโลยี Buhler จากเยอรมัน สำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานระดับโลก ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration)  ระเบียบคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร (FCSS 22000) นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นกระบวนการควบคุมและประกันคุณภาพการรีไซเคิลอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

นายอนิเวช เผยต่อว่า ในแต่ละวันขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว ซึ่งถูกบีบอัดเป็นกองพลาสติกขนาดใหญ่ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วกว่า 100 ตัน จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลของโรงงานแห่งนี้ โดยนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมาคัดแยก นำสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดออก แล้วล้างทำความสะอาดขวดพลาสติกหลายขั้นตอน กำจัดเชื้อโรคและขจัดสิ่งปนเปื้อนออก และสับละเอียดเป็นเกล็ดพลาสติก ก่อนที่จะใช้ความร้อนสูงถึง 285 - 300 องศาเซลเซียสเพื่อนำเกล็ดพลาสติกไปหลอมต่อให้ได้เม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลคุณภาพสูงสุด มีการส่งออกเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มไปจำหน่ายในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ และออสเตรเลีย

“กระบวนการรีไซเคิลของไอวีแอล ได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการกับวัสดุอื่นๆ นอกจาก PET ได้ด้วย เช่น ฝาขวด HDPE และฉลาก PP เป็นต้น พลาสติกประเภทดังกล่าวจะถูกแยกและนำไปรีไซเคิลในอีกกระบวนการหนึ่ง ส่วนฉลาก PVC ซึ่งปัจจุบันได้จ้างบริษัทรับจัดเก็บตามข้อกำหนดของรัฐบาล อยู่ระหว่างการคิดค้นวิธีนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ นอกจากนี้ น้ำที่ผ่านการบำบัดภายในโรงงานสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำทั้งหมดที่ใช้ภายในโรงงานอีกด้วย” อนิเวช กล่าว

พลาสติกมหาศาลถูกส่งมายังโรงงาน

 

อย่างไรก็ตามทางไอวีแอล ยังได้เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก มีความต้องการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากรีไซเคิลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตระหนักถึงการใช้พลาสติกที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น หลายๆ ภาคส่วนจึงหันมาส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ อาทิ สหภาพยุโรป โดยประเทศเยอรมนีมีอัตราการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดในสหภาพยุโรป มากถึงร้อยละ 94 ส่วนในเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการนำพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุด มากถึงร้อยละ 83

ไอวีแอลยังเผยข้อมูลอีกว่า ในแต่ละปี ที่โรงงานในจังหวัดนครปฐมรับขวดพลาสติกจากซัพพลายเออร์ 6-7 ราย ไม่ว่าจะเป็นเจริญจินดา โชคพรชัย วงพาณิชย์ เซาเทินพลาสติก ที่เป็นผู้รวบรวมค่อนข้างใหญ่ 200-300 ตันต่อออเดอร์ หรือเฉลี่ยมากกว่า 1,650 ล้านขวดต่อปี ช่วยประเทศไทยลดการใช้น้ำมันดิบกว่า 531,269 บาร์เรล ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกซ์มากถึง 118 ล้านกิโลกรัม และยังตั้งเป้ารีไซเคิล PET เพิ่มเป็น 68 ตันต่อวันจากเดิมเพียง 30 ตัน คิดเป็น 24,000 ตันต่อปี ภายในปี 2564 และจะคิดเพิ่มเป็น 750,000 ตันภายในปี 2568 สอดคล้องกับคณะกรรมาธิการยุโรปที่ประกาศเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้เม็ดพลาสติก PET เป็น 25% ของเม็ดพลาสติกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

ภาพในโรงงาน

ขณะที่นายวินัย กระถินไทย รองประธานร่วมการผลิตเส้นใย เส้นด้ายและเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล กล่าวว่า ปัญหาหลักที่ยังรอแก้ไขคือ ส่วนของฝาขวด ซึ่งเป็นพลาสติกประเภท HDP, PP ที่เรายังไม่สามารถรีไซเคิลได้ จึงได้ส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลเฉพาะทางของ HDP, PP อาจมีการนำไปทำต่อเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ต่างๆ เช่นเดียวกับฉลากที่ส่วนใหญ่ทำมาจาก PVC ก็ต้องว่าจ้างบริษัททำลายเฉพาะทาง เพราะฉลากตัวนี้หากจะทำจริงๆ ต้องมีการใช้เทคโนโลยีสูงและราคาค่อนข้างแพง จึงอยากแนะนำบริษัทผู้ผลิตว่าให้ยกเลิกใช้พีวีซีและเปลี่ยนไปใช้เป็น PP, PE ถึงจะมีเทคโนโลยีในการแยกง่าย

PET Flack, rPET for Packaging and rPET for Fibers and Yarn วัตถุดิบจากขวดPETที่นำมารีไซเคิล

 

นายวินัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ไอวีแอลกำลังร่วมมือกับสองสตาร์ทอัพระดับโลก ได้แก่ Loop Industries ในอเมริกาเหนือ และ Ioniqa ในยุโรป พัฒนานวัตกรรมเคมิคอลส์รีไซเคิล ซึ่งจะสามารถทำให้ PET ที่ผ่านการใช้งานแล้วแตกตัวจนถึงระดับโมเลกุลพื้นฐาน ทำให้สามารถรีไซเคิล PET ทุกสีทุกชนิดได้อย่างง่ายดาย ด้วยเทคโนโลยีจะทำลายข้อจำกัดในการรีไซเคิลพลาสติกใสที่มีสี ซึ่งเป็นปัญหาของอุตสาหกรรมรีไซเคิลมายาวนาน คาดว่าการพัฒนาเทคโนโลยีจะสำเร็จในปี 2563 นอกจากนี้ ไอวีแอลยังเร่งผลักดันให้มีการพิจารณาแก้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้นำมาใช้ได้เพราะเราพร้อมที่จะดำเนินการร่วม และมั่นใจว่าจะสะอาดปลอดภัยเพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการยอมรับ ผ่านมาตรฐานในประเทศที่เขาหนุนสินค้าทำจากพลาสติกรีไซเคิลแล้ว

“การนำพลาสติกมารีไซเคิลใช้ใหม่ หลายประเทศใช้แล้ว ไทยควรจะปรับตัว กฏหมายเดิม ที่เขาห้ามเพราะเป็นห่วงความปลอดภัย ความสะอาด ซึ่งเราก็กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาหารือกัน ในตอนนี้ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนก่อนว่า นอกจากจะช่วยกันคัดแยกขยะแล้ว ในขวดพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ควรมีการยัดอะไรลงไป ไม่ว่าจะเป็นฉลาก ซอง หรือก้นบุหรี่ ก็เพื่อให้ขวดสะอาดตั้งแต่ต้นทาง และไม่ยุ่งยากต่อการนำสู่กระบวนการรีไซเคิลของโรงงาน” นายวินัย กล่าว

ด้านนายริชาร์ด โจนส์ กล่าวสรุปอีกว่า พลาสติก PET ไม่ใช่ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่สิ้นสุดในหลายรูปแบบ หากนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มด้วย ยิ่งมีการนำพลาสติก PET กลับมาใช้ใหม่ได้มากเพียงใด ก็จะทำให้ความต้องการพลาสติกผลิตใหม่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มอุปสงค์ของบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลด้วยการสร้างรายได้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และผลักดันให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลที่มีบทบาทสำคัญในการคัดแยกพลาสติกออกจากขยะอื่นๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย.

เสื้อที่ทำจากชวดPET รีไซเคิล


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"