วัยเก๋ายุคไฮเทคอยากสุขภาพดี ใช้อุปกรณ์ล้ำสมัยแบบไม่ลืมออกกำลัง


เพิ่มเพื่อน    

(หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ และกำไลติดสัญญาณติดตามตัว อุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง กระทั่งคุณตาคุณยายที่ป่วยโรคอัลไซเมอร์ซึ่งอาจหลงทางได้ง่าย)


    ยุคนี้มองไปทางไหนก็ไฮเทคแทบทุกเรื่อง ขนาดเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ยังสามารถสั่งงานผ่านมือถือ เพื่อให้อุปกรณ์ดังกล่าวเปิด-ปิดได้แม้เจ้าของยังกลับไม่ถึงบ้าน ซึ่งมีตั้งแต่ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า แอร์คอนดิชั่นเนอร์ ฯลฯ ก่อนหน้านี้ว่านวัตกรรมดูแลผู้วัยอย่างหุ่นยนต์ดูแลคุณตาคุณยายอยู่บ้านคนเดียว ว่าไฮเทคแล้ว เพียงแค่กดปุ่มตั้งค่าโปรแกรมทิ้งเอาไว้ เมื่อถึงเวลาเครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ ทว่าแนวโน้มในอนาคต สิ่งต่างๆ จะยิ่งมีความทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงสินค้าเพื่อคนสูงวัยที่หลายคนตั้งคำถามว่า นวัตกรรมสุดล้ำดังกล่าวจะยิ่งส่งผลให้คุณตาคุณยายไม่อยากขยับเขยื้อนร่างกาย ทว่าทุกอย่างมักจะมีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเอง อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจาก สสส. ให้มุมมองไว้น่าสนใจ

(อ.ณรงค์ เทียมเมฆ)


    อ.ณรงค์ให้ข้อมูลว่า “ทุกวันนี้มนุษย์เราส่วนใหญ่มักจะขาดการเคลื่อนไหวอยู่แล้ว นั่นหมายถึงว่าเราขาดการออกกำลังทางกาย หากยิ่งมีอุปกรณ์ โดยเฉพาะของใช้ที่ทันสมัย โดยที่ผู้สูงวัยไม่ได้ลุกเดินเหิน ก็อาจกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวน้อยขึ้นไปอีก ซึ่งหลักเกณฑ์การเคลื่อนไหวของร่างกาย หากยิ่งหมั่นขยับก็จะทำให้เกิดความแข็งแรง กระฉับกระเฉง และจะทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ทำงานได้ดี แต่ถ้าหากเรากินอาหารเข้าไปและนอนอยู่นิ่งๆ ประกอบร่างกายของผู้สูงอายุก็ทรุดโทรมอยู่เป็นทุนเดิม นั่นไม่เพียงทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดีแล้ว แต่จะส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตามมา  

(เพียงแค่ผู้สูงอายุลุกขึ้นเดินไปปิดไฟ หรือปิดก๊อกน้ำ ก็เท่ากับเป็นการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ)
    ในส่วนของอุปกรณ์ไฮเทคของผู้สูงวัยในปัจจุบัน ก็ขอให้ยึดหลักการใช้โดยทางสายกลาง ซึ่งหมายความว่าหากผู้ป่วยท่านนั้นต้องนอนติดเตียง การใช้ระบบสั่งการด้วยโทรศัพท์มือ ในการเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ถือว่าจำเป็น มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ท่านอยู่อาศัยด้วย รวมถึงเรื่องฐานะและสภาพทางการเงิน ว่าครอบครัวของผู้สูงอายุจะสามารถจ่ายได้หรือไม่ ถ้าจ่ายได้และมีความจำเป็น เช่น การที่ลูกหลานออกไปทำงาน และต้องทิ้งท่านไปวันละ 7-8 ชั่วโมงขึ้นไป ก็สามารถใช้ได้ หรือแม้แต่อุปกรณ์ติดตามตัวผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็น “กำไรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ปัจจุบันดีไซน์ให้อยู่ในรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน หากเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่ป่วยโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีปัญหาเรื่องการหลงลืม เป็นต้นว่า ออกไปเดินเล่นหน้าบ้านและหาทางกลับไม่ได้ ดังนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวก็ถือว่าจำเป็นไม่น้อย


    แม้การพึ่งพาเทคโนโลยีในกรณีที่จำเป็นจะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ นั่นคือการหมั่นขยับร่างกายอีกแรงหนึ่ง เช่น หากผู้สูงวัยอาศัยในชนบทก็ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากท่านสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการลุกขึ้นมากวาดใบไม้หน้าบ้าน หรือการถอนหญ้า เก็บขยะรอบบ้าน แต่หากเป็นคนสูงอายุที่อยู่ในเมือง เช่น คอนโดมิเนียม เคล็ดไม่ลับในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างง่ายๆ ได้แก่ การยืนแกว่งแขน, กำและแบมือ, หมุนหัวไหล่ขณะนั่งดูทีวี ซึ่งระยะเวลาของการออกกำลังที่พอเพียงสำหรับผู้สูงอายุจากท่าเอกเซอร์ไซส์ดังกล่าว คือให้ทำวันละ 5,000 ครั้ง ทั้งนี้ สามารถแบ่งการออกกำลังเป็นเซตๆ (ทำเช้า, สาย, บ่าย) โดยใช้การจับเวลา เช่น หากต้องการแกว่งแขนให้ได้ 5,000 ครั้ง ให้ลองเอาจำนวนครั้ง เช่น แกว่งแขน 50 ครั้ง X 10 นาที ผลลัพธ์ที่ได้คือ คุณตาคุณยายสามารถบริหารร่างกายได้ 500 ครั้งนั่นเอง จากนั้นก็ให้ทำจนครบจำนวนดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมยังสามารถหมั่นลุกเดินไปเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง นั่นก็เท่ากับเป็นการออกกำลังกายแล้วเช่นกัน”
    จริงอยู่ที่อุปกรณ์ล้ำสมัยถือเป็นตัวช่วยยามยากสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยเพียงลำพัง แต่ถ้าจะให้ดีนั้นก็ควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เพราะแค่ขยับก็เท่ากับทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยลดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้เป็นอย่างดี...เห็นด้วยไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"