สิทธิในการไต่สวนที่ยุติธรรม ของชาวบ้านเทพาและพ่อแม่น้องเมย


เพิ่มเพื่อน    

2 เหตุการณ์ใน 1 เดือนที่ผ่านมานี้ ทั้งเรื่องการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา กับ ปริศนาการเสียชีวิตของน้องเมย ช่วยยืนยันความจริงได้ชัดเจนยิ่งว่า สังคมที่ถูกระบบราชการครอบงำ (Bureaucratic Society) อย่างสังคมไทยยังไม่ยอมเปิดกว้างให้ราษฎรตาดำๆ ได้ใช้กระบวนการทางกฎหมาย ไต่สวนหาความจริงในราชการได้เลย กล่าวคือ

สิทธิชาวบ้านเทพา

ถาม เห็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเทพาล่าชื่อชาวบ้านมายื่นนายกฯ สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกันมากมายหลายร้อยชื่อ แล้วพวกคัดค้านจะว่าอย่างไร
ตอบ “คุณภาพสิ่งแวดล้อม” เป็นสิทธิที่แต่ละคนมีอยู่ก่อนแล้ว แล้วเอามาให้รัฐจัดการโดยรวม แต่เขาแต่ละคนก็ยังมีสิทธินี้อยู่นะครับ คนคัดค้านจะมากหรือน้อยกว่าคนสนับสนุนนั้นไม่ใช่ประเด็น รัฐที่เป็นเพียงผู้จัดการยังมีหน้าที่เคารพสิทธิของคนคัดค้านอยู่ดี

ถาม เคารพแล้วต้องทำอย่างไร
ตอบ ต้องให้สิทธิพวกเขาไต่สวนหาความจริงอย่างยุติธรรม (Right to be heard and to Inquire) โดยกระบวนการทางกฎหมายปกครอง เช่นที่เขาเรียกกันในอเมริกาว่า “Public Hearing”

ถาม ก็ กฟผ.เขาจัดชี้แจงให้ชาวบ้านฟังและออกความเห็นตั้งหลายครั้งแล้ว
ตอบ นั่นมันเป็น “Public Listening” ครับ “Hearing” นั้นเป็นศัพท์กฎหมายฝรั่งที่เขาหมายถึงกระบวนการสืบพยาน ต้องมีขั้นตอนนำเสนอของ กฟผ.เป็นประเด็นๆ แล้วให้ชาวบ้านหรือตัวแทนซักถาม ต้องว่ากันด้วยเหตุผลและพยานหลักฐานจนครบถ้วน โดยทั้งนี้ต้องไต่สวนกันอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และกระทำต่อหน้าคนกลางเพื่อให้วินิจฉัยตามเหตุผลข้อมูลที่ปรากฏในกระบวนการนั้น

ทั้งหมดนี้ไม่มีอยู่ที่เทพาเลย มีแต่ กฟผ.ตั้งเวทีชี้แจงให้ชาวบ้านฟังฝ่ายเดียว แล้วให้ชาวบ้านพูดอะไรก็ได้ คนละ 5 นาที แล้วแจกของที่ระลึกก่อนกลับบ้านเท่านั้น

ชาวบ้านเทพาทั้งคนค้านคนหนุนต่างก็ไม่มีโอกาสได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งสิ้น

ถาม มีหัวข้อวิทยานิพนธ์อะไรบ้างที่ กฟผ.ต้องสอบผ่านให้ได้
ตอบ เริ่มจากข้อมูลแสดงความขาดแคลนไฟฟ้า, แหล่งพลังงานที่มองเห็นและเหตุผลที่เลือกถ่านหิน, ชนิดของถ่านหินและเทคโนโลยีเท่าที่มีและที่เลือกใช้ในโครงการพร้อมเหตุผล, เกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโรงงานและสถานที่ที่เห็นพร้อมเหตุผลที่เลือกเทพา, จากนั้นจึงมาถึงผลกระทบที่มองเห็นและมาตรการหลีกเลี่ยงหรือเยียวยา แล้วจบด้วยมาตรการติดตามควบคุมพร้อมการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ทั้งหมดนี้ ถ้า กฟผ.สอบตกในเรื่องใด ก็ต้องกลับไปทำมาใหม่ทั้งสิ้น

ความถี่ถ้วนที่จะต้องถูกตรวจสอบอย่างนี้นี่เอง ที่โลกเขาใช้กันมานานแล้ว แต่บ้านเราไม่เคยยอมรับสิทธิสาธารณะของชาวบ้าน เห็นชาวบ้านมีสิทธิแค่ในรั้วบ้านเท่านั้น ทำอะไรจึงเกิดเรื่องติดขัดไปเสียหมด

ถาม เห็นนายกฯ ท่านพูดถึงประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอยู่นะครับ
ตอบ ถ้าไม่เห็นสิทธิชาวบ้านก็พัฒนาการมีส่วนร่วมไม่ได้หรอกครับ ชาวบ้านทำอะไรก็จะกลายเป็นเรื่องกดๆ ดันๆ ไปเสียหมด

 

สิทธิของพ่อแม่น้องเมย

ถาม เรื่องน้องเมย กฎหมายว่าไว้อย่างไร
ตอบ ความจริงที่ต้องไต่สวนในเรื่องนี้คือน้องเมยเขาตายเพราะอะไร ซึ่งเรามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รับรองสิทธิของพ่อแม่และกำหนดกระบวนการไต่สวนไว้ชัดเจนแล้ว แน่นหนาดีกว่าสิทธิชาวเทพา แต่กลับแย่ตรงที่ไม่มีการไต่สวนเกิดขึ้นเลย

ถาม ใครคือคนที่ไม่ทำงาน
ตอบ ถ้าผมยังเป็น ส.ว. ผมจะตั้งกระทู้ถามท่านรองนายกฯ ประวิตร ในฐานะที่ดูแลราชการตำรวจเลยว่า ทำไมตำรวจนครนายกถึงไม่ลงมือสอบสวนการตายโดยผิดธรรมชาติของน้องเมย แล้วถามท่านด้วยในฐานะดูแลราชการทหารว่าทำไมให้ทหารสอบสวนแทนตำรวจ อย่างนี้นี่คือการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมใช่หรือไม่

ตามกฎหมายแล้ว มันเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนกับแพทย์เท่านั้น เจ้าของโรงเรียนคือกองทัพไม่มีสิทธิ์สอบสวนสรุปสาเหตุการตายของน้องเมยเลย

ถาม ก็น้องเมยเป็นทหารมิใช่หรือ
ตอบ น้องเขายังเป็นพลเรือนเป็นนักเรียนโรงเรียนประจำที่ชื่อโรงเรียนเตรียมทหารครับ ถ้าแยกเหล่าเข้าโรงเรียนนายร้อยเมื่อไหร่ถึงจะเป็นทหารประจำการ ย้ายสถานภาพไปอยู่ใต้อำนาจดูแลของกฎหมายทหาร

ถาม แต่ในที่สุดพ่อแม่เขาก็มีสิทธิ์ไปแจ้งความตำรวจว่า มีใครทำลูกเขาตายได้ไม่ใช่หรือ
ตอบ เรากำลังพูดเรื่องการไต่สวนหาความจริง ที่ตำรวจจะต้องแบกภาระสอบสวนให้กระจ่าง แล้วเสนอให้อัยการพิจารณารายงานต่อศาล โดยทั้งศาลและพ่อแม่ผู้ตายมีสิทธิ์ไต่สวนทวนความได้ทุกอย่าง แต่มาเรื่องน้องเมยนี้รัฐกลับไม่ทำหน้าที่คลี่คลายสร้างกระบวนการไต่สวนความจริงที่ยุติธรรมเช่นนี้ให้เขาเลย ปล่อยให้กองทัพว่าเองเออเองทั้งนั้น

ที่คุณว่าให้เขาไปแจ้งความเองนั้น ผมขอถามว่ามันยุติธรรมไหม ที่จะให้พ่อแม่เขาแบกภาระหาความจริงเอาเองอย่างนี้ มีอะไรเป็นหลักประกันว่าไปแจ้งความแล้วตำรวจจะกล้าสรุปการสอบสวนต่างไปจากทหาร

ถาม ถ้าฟ้องเองจะมีทางชนะไหมครับ
ตอบ แค่ร่างฟ้องก็ไม่แน่ใจแล้วครับว่า ใครทำลูกตัวเอง ศาลจะรับฟ้องหรือไม่ก็ยังแน่ใจไม่ได้เลย ทางที่ดีที่มีหลักฐานชัดที่สุดแล้วในทุกวันนี้คือ ฟ้องตำรวจที่ไม่ทำหน้าที่สอบสวนตั้งสำนวนหาความจริงเช่นที่กฎหมายกำหนด ให้โดน 157 ไปเลย

ถาม ตำรวจก็ต้องโทษทหาร ทหารก็ต้องโทษตำรวจ
ตอบ ปัญหาน่าจะอยู่ที่นายกฯ ตัวจริง ที่มีอำนาจดูแลทั้งตำรวจและทหารมากกว่านะครับ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"