ออกกำลังสมองด้วย2ขา "เดิน-วิ่ง-ปั่นจักรยาน"


เพิ่มเพื่อน    


(การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ช่วยฝึกสมองส่วนหน้า ป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงวัยได้ โดยต้องฝึกให้ได้สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที)

    ใครจะคิดว่าเพียงแค่การวิ่ง หรือการเดินออกกำลังนั้น จะช่วยฝึกสมองให้กับผู้สูงอายุได้ เพราะหลายคนอาจมองว่าจริงๆ แล้ว การเอ็กเซอร์ไซส์กับเรื่องของสมองนั้นเป็นคนละส่วนกัน หรือต้องเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับอวัยวะอย่างสมอง และกล้ามเนื้อแขนขาลำตัว ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายที่แตกต่างกัน จากผลวิจัยล่าสุดพบว่า “การเดิน การวิ่ง และการปั่นจักรยาน” ให้ได้สัปดาห์ละ 5 วัน ในระยะเวลา 30 นาที จะช่วยทำให้สมองส่วนหน้าของผู้สูงอายุทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องความทรงจำ แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ แพทย์ประจำศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน มีข้อมูลมาเผยให้ทราบเกี่ยวกับการออกกำลังกายสมองด้วยสองเท้ามาบอกกัน

(แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ)

    แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ให้ข้อมูลว่า “การออกกำลังกายด้วยการวิ่ง การเดิน และการปั่นจักรยาน ที่เราใช้ขาเป็นองค์ประกอบหลัก ในการเคลื่อนไหวไปข้างหน้านั้น มีความเกี่ยวข้องหรือทำให้สมองของผู้สูงอายุแข็งแรงได้ เนื่องจากสมองที่ควบคุมการทำงานของขาทั้ง 2 นั้นเป็นสมองส่วนกลาง ในขณะที่สมองซึ่งควบคุมความทรงจำ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกนึกคิดหรือระลึกถึงสิ่งต่างๆ ได้นั้นคือสมองส่วนหน้า ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะต่างๆ รวมถึงสมอง ประกอบกับผู้สูงอายุบางคนไม่ได้ออกกำลังกาย ดังนั้นปัจจัยที่กล่าวมาจึงทำให้สมองส่วนหน้าเหี่ยวลง จึงเป็นเหตุผลว่าเมื่อเราถามคนสูงวัยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ นั่นจึงทำให้ท่านใช้เวลานึกนานขึ้น 
    “ทั้งนี้ ข้อมูลจากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า การที่คนสูงวัยได้ก้าวขาทั้งสองข้างเพื่อเดินออกกำลัง หรือวิ่ง กระทั่งการปั่นจักรยานรอบๆ สวนสาธารณะสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที (ต้องเป็นปริมาณมาตรฐานดังกล่าวเท่านั้น) จะช่วยป้องกันไม่ให้สมองส่วนหน้าที่ควบคุมความทรงจำเหี่ยวลง ซึ่งนั่นเท่ากับป้องกันโรคขี้ลืมและอัลไซเมอร์ไปด้วยในตัว ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากขณะที่ขาของผู้สูงวัยก้าวขยับเดินนั้น สมองส่วนกลางจะทำงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสะพานหรือจุดศูนย์รวมที่กระตุ้นให้เส้นประสาทบริเวณสมองส่วนหน้าทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันการเสื่อมหรือเหี่ยวเฉาลง ของสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองที่ช่วยเรื่องความจำนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ออกมาระบุอีกว่า การเต้นรำตามจังหวะเสียงเพลงของผู้สูงอายุ ที่ต้องใช้ขาทั้ง 2 ข้างเคลื่อนไหว ก็จะทำให้สมองส่วนหน้าเหี่ยวช้าลงเช่นกัน หรือแม้แต่การรำไทย โดยการย่ำเท้าทั้งสองอยู่กับที่ ก็ช่วยป้องกันโรคพาร์กินสันในผู้สูงวัยได้ แต่ทั้งนี้จะต้องทำสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 เช่นเดียวกัน


    อีกทั้งประโยชน์ของการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน ไม่เพียงทำให้สมองส่วนหน้าแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ผู้สูงอายุมีสมาธิและสงบมากขึ้น เมื่อได้ออกกำลังกายรูปแบบดังกล่าว เพราะสมองส่วนหน้าไม่เพียงควบคุมเรื่องความทรงจำ ความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องสมาธิและการวางแผน ตลอดจนการมีเหตุผลด้วยเช่นกัน”
    แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ บอกอีกว่า “สำหรับการบริหารสมองส่วนหน้าของผู้สูงวัยที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงจำนั้น สามารถทำได้ เช่น “การฝึกสมาธิ” โดยการรู้ทุกการหายใจเข้าและหายใจออก หมายความว่าเมื่อหายใจเข้าก็รู้ว่าเราหายใจเข้า และหากหายใจออกก็รู้ว่าตัวเองหายใจออก เป็นต้น อีกทั้งเมื่อฝึกบ่อยๆ ก็จะทำให้ความจำของผู้สูงวัยหรือคนวัยหนุ่มสาวดีขึ้น หรือหากผู้สูงอายุท่านนั้นออกกำลังกายด้วยการวิ่งเหยาะๆ ในสวนสาธารณะ หรือแม้แต่วิ่งแข่งเพื่อการกุศลต่างๆ (มีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี) ระหว่างที่วิ่งก็ให้บริหารความจำ โดยการคิดทบทวนว่าเส้นที่เราวิ่งนั้นผ่านป้ายรถเมล์กี่ป้าย หรือผ่านสถานที่สำคัญอะไรบ้าง นอกเหนือจากการชมความสวยงามของธรรมชาติข้างทางที่เราวิ่ง”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"