อาเซียนซัมมิตหารือวิกฤติโรฮิงญา-ทะเลจีนใต้


เพิ่มเพื่อน    

อาเซียนและออสเตรเลียเห็นพ้องเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง พร้อมย้ำความสำคัญของการแก้ปัญหาพิพาททะเลจีนใต้โดยไม่ใช้การทหาร ขณะวิกฤติอัน "ซับซ้อน" เรื่องโรฮิงญาเป็นประเด็นร้อน "อองซาน ซูจี" โดนผู้นำมาเลย์กดดัน แต่ที่ประชุมไม่ถึงขั้นประณาม

มัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกฯ ออสเตรเลีย (ขวา) และ ลี เซียนลุง นายกฯ สิงคโปร์ แถลงข่าวปิดการประชุมอาเซียนซัมมิต ที่ซิดนีย์ เมื่อวันอาทิตย์ / AFP

ซิดนีย์ / เอเอฟพีรายงานว่า ผู้นำจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียนมาร่วมประชุมอาเซียนซัมมิตสมัยพิเศษ ที่นครซิดนีย์ของออสเตรเลีย ประเทศคู่เจรจากับอาเซียนมานับแต่ปี 2517
    แถลงการณ์วันสุดท้ายของการประชุมนาน 3 วันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2561 ผู้นำอาเซียนและออสเตรเลียได้แสดงความเห็นชอบร่วมกันว่าจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของลัทธิคตินิยมความรุนแรงสุดโต่งและการทำให้เกิดแนวความคิดหัวรุนแรง
    แถลงการณ์ยังกล่าวถึงความแน่วแน่ในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้คนในประเทศต่างๆ ของชาติสมาชิก แต่กลับไม่มีการกล่าวประณามการปฏิบัติของพม่าต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งอพยพหนีความรุนแรงในรัฐยะไข่เข้าสู่บังกลาเทศแล้วเกือบ 700,000 คน นับแต่กองกำลังความมั่นคงพม่าเปิดปฏิบัติการกวาดล้างเมื่อ 6 เดือนก่อน ที่องค์การสหประชาชาติระบุว่าเป็น "การล้างเผ่าพันธุ์" แต่นางอองซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลพม่าโดยพฤตินัย ปฏิเสธคำกล่าวหานี้
    มัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกฯ ออสเตรเลีย กล่าวระหว่างการแถลงข่าวปิดการประชุมว่า ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่กันค่อนข้างนานในวันนี้ นางอองซาน ซูจี ปราศรัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างครอบครอบคลุมและยาวนานพอสมควร เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ซับซ้อนมาก ทุกคนพยายามหาทางยุติความทุกข์ทรมานเกิดจากสถานการณ์ความขัดแย้งนี้
    นายกฯ ลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ในฐานะประธานอาเซียนวาระปัจจุบัน กล่าวว่า วิกฤตินี้เป็นเรื่องที่ทุกประเทศในอาเซียนมีความห่วงกังวล กระนั้น อาเซียนก็ไม่สามารถแทรกแซงเพื่อบังคับให้บังเกิดผลลัพธ์ใดได้
    นายกฯ นาจิบ ราซัค ของมาเลเซียได้โยงการหลั่งไหลของชาวโรฮิงญาไร้ที่อยู่ด้วยว่า มีโอกาสเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงครั้งใหม่ เนื่องจากคนจนตรอกสามารถถูกชักจูงให้มีความคิดหัวรุนแรงได้ง่าย
    ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้นำในภูมิภาคนี้ห่วงกังวล ออสเตรเลียและอาเซียนกล่าวในแถลงการณ์ ย้ำถึง "ความสำคัญของการรักษาและส่งเสริมสันติภาพ, เสถียรภาพ, ความมั่นคงปลอดภัยในการเดินเรือ, เสรีภาพในการเดินเรือและการบินในภูมิภาคนี้" โดยไม่ได้เอ่ยถึงจีน ซึ่งยังคงเดินหน้าพัฒนาเกาะเทียมภายในหมู่เกาะพิพาท ที่สามารถติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร
    ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจหลักที่ดึงดูดการชุมนุมประท้วงระหว่างการประชุมที่ซิดนีย์ โดยมีผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัวกันประณามนางซูจี, นายกฯ ฮุน เซน ของกัมพูชา และนายกฯ เหงียน ซวน ฟุก ของเวียดนาม ที่ปราบปรามฝ่ายต่อต้านในประเทศ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"