เปิดค่าใช้จ่ายการดูแล...ผู้สูงวัยติดเตียง


เพิ่มเพื่อน    

    ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 17 ของจำนวนประชากร สาเหตุหลักมาจากอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง และคนมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้น และในปี 2562
    เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สัดส่วนผู้สูงวัยจะมีมากกว่าเด็ก และคาดว่าในปี 2583 จะมีผู้สูงอายุมากถึง 20.5 ล้านคน หรือร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นของคู่กายกับผู้สูงวัยและมากกว่านั้นคือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลที่เพิ่มเข้ามาตามอาการ หากผู้สูงอายุเหล่านั้นช่วยเหลือตนเองไม่ได้จนเป็นผู้ป่วยติดเตียง
    ผู้เชี่ยวชาญจาก 3 เอ็ม คาวิลอน (3M Cavilon) เปิดเผยว่า ปกติค่าบริการผู้ดูแลผู้สูงอายุจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท จนถึง 36,000 บาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 900-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระดับของการดูแลและอาการผู้สูงอายุ ตั้งแต่กลุ่มที่พอช่วยตัวเองได้บ้างจนถึงผู้สูงอายุติดเตียง โดยในราคานี้เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะการดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร, ยา, การอาบน้ำ, การทำความสะอาดหลังขับถ่าย ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ รวมถึงการพลิกตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
    แต่ในกรณีที่ผู้สูงอายุเริ่มมีแผลกดทับ ต้องใช้ผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นจากผู้ดูแลช่วยเหลือคนไข้ อาจต้องเพิ่มระดับขั้นเป็นผู้ช่วยพยาบาลจนถึงพยาบาลวิชาชีพ แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นไปเป็นเงาตามตัวตั้งแต่ 500-1,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระดับของแผลกดทับ เมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้วบางรายอาจสูงถึงเดือนละ 65,000 บาท ขึ้นไปเลยทีเดียว โดยตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมค่ายา, น้ำยา และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำแผลอีกด้วย
    นอกจากนี้ ผู้ดูแลเองก็มีค่าใช้จ่ายแฝงที่คุณเองก็ไม่เคยมองเห็นมาก่อน เช่น ค่าอาหารของผู้ดูแล, ค่าโอที กรณีที่ต้องอยู่ล่วงเวลาหรือวันหยุด, ค่าเดินทาง ในกรณีที่ผู้ดูแลไม่ได้พักที่บ้าน, ค่าทำสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมๆ แล้วอาจสูงถึง 7,000-15,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับเงินค่าแพ็กเกจรายเดือนที่ต้องเสียไปเลยทีเดียว
    จากค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมาก จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวเอง แต่ก็อาจยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลอย่างเพียงพอจนก่อให้เกิดแผลกดทับ แผลติดเชื้อ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต แผลที่เกิดขึ้นจะหายยากเป็นเท่าตัว หรือบางครั้งก็ไม่หายเลย และลุกลามจนกลายเป็นเนื้อตาย ติดเชื้อรุนแรง ต้องผ่าตัดหรือตัดอวัยวะส่วนนั้นออก ค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นมากอยู่ตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนเลยทีเดียว
    การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทั้งความเข้าใจ และความใส่ใจ โดย 3 เอ็ม คาวิลอนเจ้าของผลิตภัณฑ์ การดูแลผิวหนังผู้ป่วย 3 เอ็ม คาวิลอน สกินแคร์ มีคำแนะนำสิ่งที่จำเป็นในการดูแล อาทิ 
    การทำความสะอาด ความสะอาดถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2-4 สัปดาห์ และทำความสะอาดสายด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ทุกครั้ง หากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่น ข้น หรือปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
    แผลกดทับจากการนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน การที่ผู้ป่วยนอนติดเตียงเป็นเวลานานๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ จะขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง ทำให้เซลล์ตายจนเกิดเป็นแผลกดทับขึ้นได้หลายจุด เช่น ท้ายทอย สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า
    "การป้องกันการเกิดแผลกดทับ" ทำได้ด้วยการใส่ใจ ตั้งแต่พลิกตัวเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หมั่นตรวจดูรอยแดงตามปุ่มกระดูก ควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก การดูแลผิวหนังให้แข็งแรงโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน การทาโลชั่นป้องกันผิวแห้ง หรือครีมเคลือบผิวป้องกันความเปียกชื้นใต้ผ้าอ้อม เป็นต้น
    ผิวแข็งแรงคือหัวใจของการดูแล นอกจากเข้าใจโรคและอาการแล้ว สิ่งที่สำคัญใน "การป้องกันแผลกดทับ" ไม่แพ้กันคือการเลือกผลิตภัณฑ์ในการดูแลผิวหนัง ป้องกันการอักเสบของผิวผู้ป่วยที่เกิดจากการขับถ่าย ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลผิวที่บอบบางของผู้ป่วยโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งขั้นตอนการทำความสะอาด และให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง รวมถึงเคลือบเพื่อป้องกันผิวอีกด้วย
    "การดูแลผู้ป่วยติดเตียง" ไม่เพียงต้องใช้ความรู้และความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด ลดสภาวะบั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจจากความเจ็บป่วย การไม่มีแผลกดทับแทรกซ้อน จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและความเจ็บปวดจากแผล ลดภาระค่าใช้จ่ายการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล การรักษาที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อทั้งสุขภาพใจและสุขภาพกายของผู้ป่วยได้ด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"