ค้าปลีกทรุดยาว ปี63ก็ยังชะลอตัว


เพิ่มเพื่อน    

25 ธ.ค. 2562 นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในปี 2562 ที่ผ่านมา มีสัญญาณการหดตัวขึ้นในทุกหมวดสินค้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับจีดีพีทั้งประเทศ โดยจากการรวบรวมข้อมูลผลประกอบการสมาคมผู้ค้าปลีกไทยคาดว่าอุตสาหกรรมค้าปลีก ในปี 2562 น่ามีการเติบโตเพียง 2.8% ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่เติบโต 3.2% ซึ่งการที่การบริโภคภาคค้าปลีกค้าส่งอ่อนแอลงมาตลอด สาเหตุหลักคงมาจากกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับกลางลงล่าง ที่ต้องอาศัยรายได้จากผลผลิตภาคเกษตร ยังคงมีกำลังซื้อที่อ่อนแออยู่ และรอการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐผ่านมาตรการต่างๆ

ขณะเดียวกันหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่มีแนวโน้มลดลง สะท้อนให้เห็นในหมวดสินค้าไม่คงทน  ที่เติบโตลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคระดับกลางที่มีรายได้ประจำเริ่มแสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อที่อ่อนแอลง ส่งผลให้การเติบโตการบริโภคหมวดสินค้ากึ่งคงทนเติบโตถดถอยลง  เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องหนัง รองเท้า นาฬิกา ซึ่งหมวดนี้เคยมีการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 8-12 ในช่วง 10 ปีผ่านมา แต่กลับเติบโตเพียง 3.2%

สำหรับในปี 2563 มองว่ายังปัจจัยลบที่อาจทำให้การบริโภคภาคค้าปลีกไม่เติบโตเท่าที่ควร ได้แก่ 1.ผลกระทบจากการเลิกจ้างและลดการผลิต ปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ที่กระทบคู่ค้าตลาดส่งออกทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย, การถูกสหรัฐตัดสิทธิประโยชน์ GSP สินค้าไทย อุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2.ผลจากภัยแล้งปี 2562 คาดว่ากระทบผลผลิตและรายได้ทางการเกษตรลดลง 16% จากปี 2561 สำหรับปี 2563 คาดว่ารายได้ทางการเกษตรจะทรงตัวหรือหดตัวเล็กน้อย ในกรอบ -0.5% ถึง 0.0%  3.ผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ การประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 5-6 บาทต่อวัน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 กระทบโดยตรงต่อการจ้างงานภาคบริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจร้านอาหาร ร้านค้าปลีกค้าส่ง และก่อสร้าง

ส่วนข้อ 4.ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวรอบนี้เป็นวงกว้างและเป็นเวลานาน การชะลอตัวของเศรษฐกิจในรอบนี้ ผลกระทบแตกต่างจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 อย่างสิ้นเชิง เพราะมีผลต่อชนชั้นกลางและชนชั้นล่างเป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนราว 70% ของประชากร หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ครัวเรือน ซึ่งมีผลต่อกำลังซื้อเป็นสำคัญ ทำให้การชะลอตัวของเศรษฐกิจในรอบนี้มีผลกระทบเป็นวงกว้างและต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูกลับมา

นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่า ยังพอปัจจัยบวกในการขับเคลื่อนการบริโภคภาคค้าปลีกในปี 2563 ได้แก่ 1.น่าจะเห็นมาตรการกระตุ้นจากนโยบายการคลังออกมาเพิ่มอีก ที่ผ่านมานโยบายการคลังเน้นบรรเทาช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบก่อน ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำในกลุ่มที่ยังมีกำลังจับจ่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้จ่ายให้กลุ่มคนชั้นกลาง ลูกจ้างประจำ ที่ยังไม่ถูกลดการทำงานเหมือนลูกจ้างชั่วคราว 2.      การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2563 คาดว่าน่าจะผ่านการพิจารณาอนุมัติเดือนมกราคม 2563 การเร่งรัดเบิกจ่ายน่าจะเริ่มเห็นผลราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งจะถูกเร่งรัดใช้ให้หมดภายในเดือนกันยายน งบประมาณปี 2563 จึงเป็นงบประมาณที่จะถูกอัดฉีดเข้าไปในระบบภายใน 6 เดือน ซึ่งจะเป็นงบที่มาบรรเทาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวระยะสั้นได้

อย่างไรก็ตาม ข้อ 3.นโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่ยังมีช่องว่างให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทยต่อจีดีพีอยู่ที่ 42% ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จึงมีโอกาสที่จะใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 4.ท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มเติบโตจากนักท่องเที่ยวจีน พบว่าช่วง 2 เดือนนี้นักท่องเที่ยวจีนเริ่มกลับมาอย่างชัดเจน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"