สมุนไพรไทย..รู้เทคนิควิธีกิน ช่วยสุขภาพปรับสมดุลร่างกาย


เพิ่มเพื่อน    

(“น้ำขิงเต้าฮวย” เมนูสมุนไพรช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต และช่วยย่อยในผู้สูงวัย)

 

      ว่ากันด้วยเรื่องของสมุนไพร ที่ผู้สูงวัยนิยมรับประทาน เพราะรู้สึกไว้วางใจมากกว่ายาฝรั่งแผนปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องรู้เทคนิคการใช้อย่างผสมผสานเพื่อให้ได้สรรพคุณที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงอากาศแกว่งไปมาเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น

(ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร)

      ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร มาให้คำแนะนำในการกินสมุนไพรไทยในช่วงอากาศไม่แน่นอนว่า “การบริโภคสมุนไพรในช่วงหน้าหนาวของผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องเพิ่มสมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนโลหิตเข้าไป โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่ดื่มน้ำน้อยในช่วงอากาศเย็นจะทำให้เลือดมีความข้นและหนืด แต่การบริโภคสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดนั้น แนะนำให้บริโภคเป็น “น้ำขิงเต้าฮวย” เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับร่างกาย อีกทั้งได้ความอุ่นร้อนของน้ำขิงที่กำลังดี ที่สำคัญสมุนไพรไทยอย่างขิง จะเป็นตัวที่ช่วยย่อยเต้าฮวย (เต้าฮวยทำจากถั่วเหลืองแช่น้ำ บดและคั้นเป็นน้ำ นำมากวนไฟอ่อนๆ และกรองน้ำเต้าหู้ที่ตั้งไฟกวนจนได้ที่ ผสมผงเจียกอละลายน้ำ ที่ช่วยทำให้น้ำเต้าหู้จับตัวกันเป็นก้อน ทิ้งไว้สักครู่ จนได้ฟองเต้าฮวยนุ่มๆ) ซึ่งจะมีลักษณะย่อยยาก ให้ย่อยได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเป็นเมนูรสนุ่มละมุ ที่เหมาะกับคนสูงวัยในช่วงอากาศเย็นนั่นเอง

(“ซุปกระเทียม” และ “ซุปหอม” กินหน้าหนาว ช่วยปรับสมดุลร่างกายคนวัยเก๋าให้อบอุ่น)

      เพราะการที่บริโภคสมุนไพรฤทธิ์เผ็ดร้อนแบบชนิดเดียว อย่าง กระเทียม, หอม, ขิง, พริกไทย จะยิ่งกระตุ้นให้ร่างกายของผู้สูงอายุแห้งมากขึ้นไปอีก เนื่องจากธาตุเจ้าเรือนของคนวัยเก๋า คือธาตุวาตะ ที่มีความแห้งและความเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับอากาศเย็นและแห้งในช่วงสิ้นปีอย่างนี้ จะทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุแห้งมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรกินของเผ็ดร้อน แต่ถ้าจะให้เหมาะสมนั้น แนะนำให้บริโภคเป็น “ซุปหอมใหญ่” หรือ “ซุปกระเทียม” มากกว่า เพราะอาหารที่ปรุงจากสมุนไพรพื้นบ้านดังกล่าว ผู้สูงอายุจะได้ซดน้ำอุ่นๆ จากหอมใหญ่หรือกระเทียม ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่า หรือไม่ทำให้ร่างกายร้อนหรืออุ่นมากจนเกินไป จึงช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกายได้ดี

(กินน้ำมันรำข้าว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวพรรณ และปรับอารมณ์ผู้สูงอายุให้สงบจากภาวะซึมเศร้า ในช่วงที่อากาศเย็น)

 

      นอกจากนี้ ผู้สูงอายุสามารถรับประทาน “น้ำมันรำข้าว” ที่ช่วยเพิ่มความชุมชื่นให้กับร่างกาย ทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดี อีกทั้งช่วยให้ผู้สูงอายุนอนหลับสบาย โดยเฉพาะในช่วงหน้าลม หรือหน้าหนาวที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี และน้ำมันมันรำข้าวยังช่วยลดอารมณ์ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ที่มักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงหน้าหนาวอากาศเย็นได้อีกเช่นเดียวกัน

      ที่สำคัญในวัยผู้ใหญ่นั้น สามารถปรับอารมณ์ให้สงบนิ่ง และนอนพักผ่อนแบบหลับสนิทได้ตลอดทั้งคืน ด้วยการ “ดื่มชาดอกบัวหลวง” ที่มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย หรือ “ดื่มชาเกสรตากแห้งทั้ง 5” ได้แก่ เกสรดอกบัวหลวง, เกสรดอกพิกุล, เกสรดอกบุนนาค, เกสรดอกสารภี, เกสรดอกมะลิ หรือจะเลือกดื่มชาเกสรตากแห้งทั้ง 5 แบบชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้เช่นเดียวกัน

(ผู้สูงอายุกินข้าวหลามช่วงอากาศเย็นและแห้ง ช่วยเติมความชุ่มชื่นให้กับร่างกาย การดูแลสุขภาพจากอาหารการกินของคนยุคก่อน)

      หรือแม้แต่การทาครีมบำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื่น และการที่ผู้สูงอายุบริโภค “ถั่ว” และ “งา” ก็สามารถเพิ่มความชุมชื่นผิวได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมัยก่อนนั้นในชนบทได้มีการกวนข้าวกระยาสารท ที่มีส่วนผสมของทั้งถั่วและงาดำไว้รับประทานกันในช่วงหน้าหนาว หรือแม้แต่การเผาข้าวหลาม ที่มีกะทิจากมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุและคนทั่วไปรับประทานแล้ว ก็ถือเป็นการเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวได้จากการอาหารการกินในช่วงสิ้นปีอีกเช่นกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"