คติ 3 ข้อใช้ชีวิตวัยเกษียณมีสุข หลักคิด"ดร.พะนอม แก้วกำเนิด"


เพิ่มเพื่อน    

      เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นใหม่เดินรอยตาม ที่นอกจากความสามารถด้านหน้าที่การงานหลากหลาย ทั้งเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, อธิบดีกรมการฝึกหัดครู, รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, อธิบดีกรมสามัญศึกษา, อธิบดีกรมวิชาการ, ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา นั่นจึงไม่แปลกที่ ดร.พะนอม แก้วกำเนิด ในวัย 87 ปี จะเป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพนับถือของคนหลากหลายวงการ ในฐานะรุ่นใหญ่ที่มากความสามารถ ซึ่งปัจจุบันเจ้าตัวดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการบำนาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม อีกทั้ง .พะนอม ยังเป็นนักเขียนหนังสือเกี่ยวกับพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์และดนตรีไทยให้กระทรวงวัฒนธรรม และหนังสือที่เกี่ยวกับปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาคนให้กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงมีธุรกิจส่วนตัวที่ จ.นครปฐม

      จั่วหัวเรื่องความสามารถในการด้านทำงานที่ก่อคุณประโยชน์หลายด้าน ในฐานะของผู้ทรงคุณวุฒิที่คับแก้ว แต่ทว่าหลักในการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณอย่างมีความสุขที่ .พะนอม ตั้งธงไว้ 3 อย่างคือ การมีอายุยืน มีความสุข และ อยู่อย่างมีคุณภาพตัวต่อเอง ครอบครัว และประเทศชาติบ้านเมือง ผ่าน 7 มาตรการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการชีวิตให้เป็นไปอย่างมีคุณค่า ที่งานนี้เจ้าตัวแต่งไว้บนกลอนย่อๆ แต่ความหมายเข้าใจง่าย แถมแฝงไว้ด้วยความหมายกินใจ รักษาอนามัย, จับงานที่ใจรัก วางหลักให้ลูกหลาน, ช่วยเหลืองานสังคม, รื่นรมย์เพื่อนจัดประชุม, มรดกมอบสร้างให้อยู่คู่บ้านเมือง, รองเรืองชีวิตด้วยหลักธรรม งานนี้เจ้าตัวไม่รอช้าในการขยายความ หลักการใช้ชีวิตหลังวัย 6 แบบแฮปปี้ เพื่อถ่ายทอดแบบอย่างให้กับผู้ที่สนใจ

      ดร.พะนอม บอกว่า จากหลักเกณฑ์ที่ผมตั้งไว้ 3 เรื่องข้างต้น สิ่งที่ผมใช้ขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพนั้น คือหลัก 7 มาตรการ เรื่องแรกคือการดูแลรักษาสุขอนามัยผ่าน 5 อ. คือ อาหาร อารมณ์ อากาศ ออกกำลังกาย รักษาอนามัย ป้องกันโรคภัย โดยเริ่มจากการเลือก อาหาร โดยการกินให้ครบ 5 หมู่ ทั้งโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน แต่จะลดปริมาณการรับประทานอาหารลง อีกทั้งลดแป้ง ลดน้ำตาล ลดอาหารมันเค็มและอาหารเผ็ด และกินอาหารให้ตรงต่อเวลา โดยเฉพาะมื้อเย็นนั้นต้องรับประทานก่อนเข้านอนได้ 3-4 ชั่วโมง ส่วน อ.ที่สองอย่าง อากาศ สิ่งที่ผมทำเป็นประจำคือ การฝึกสูดหายใจเข้าไว้ลึกๆ จากนั้นก็หายใจออกเช้าและเย็น วันละ 10 ครั้ง

      ส่วน อ.ที่สาม คือ ออกกำลังกาย เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ผมเลือกออกกำลังกายด้วยการเดินจ๊อกกิ้งและเต้นระบำ ระยะเวลา 30-50 นาที แต่ตอนหลังนั้นทำไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะการวิ่งจ๊อกกิ้ง ก็เลยเปลี่ยนมาเดินในบ้านวันละ 1 ชั่วโมงทุกวัน ก็ถือเป็นการออกกำลังไปด้วยในตัว ส่วนเรื่อง อารมณ์ นั้นก็พยายามควบคุมตัวเองไม่ให้โลภ โกรธ หลง และตัดความกังวลใดๆ ออกไปให้หมดทั้งสิ้น ส่วน อ.สุดท้ายคือ การดูแลรักษาอนามัย ขณะนี้เป็นสิ่งที่ผมทำเป็นประจำ คือการพึ่งหมอหรือหมั่นไปพบแพทย์เป็นประจำ เพราะปัจจุบันการแพทย์รักษาดีขึ้น เพราะอย่าลืมว่าถ้าเราตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 1 2 หรือ 3 ก็มักจะแก้ตก แต่ถ้าเราปล่อยให้เป็นระยะที่ 4 และ 5 ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นผมจะไปพบหมออายุกรรมทุกๆ 3 เดือน เพื่อตรวจดูว่าป่วยเป็นโรคอะไรหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง หากพบโรคต่างๆ แทรกซ้อนเข้ามาครับ

      ส่วนการดูแลจิตใจนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในวัย 87 ปี บอกอีกว่า เนื่องจากที่ผ่านมาทำงานหลายตำแหน่งหน้าที่การงาน ดังนั้นเวลาที่เพื่อนๆ และลูกศิษย์ลูกหานัดเลี้ยงรุ่นทางการศึกษา ตัวเองก็จะไปพบปะเพื่อนฝูงทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานเลี้ยงรุ่นที่เมืองกาญจน์ จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.เพชรบุรี หรือแม้แต่ที่ จ.สงขลา ก็ไป เพราะการมีเพื่อนจะทำให้เรามีสังคมและทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้เจอเพื่อนเก่า ประกอบกับการที่เจ้าตัวได้ตั้งปณิธานในการทำสิ่งที่มีประโยชน์นั้น แต่ก็ไม่ลืมที่จะใช้ชีวิตด้วยความสงบผ่าน 3 เรื่อง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

      ไล่มาถึงประเด็นการทำงานหลังวัยเกษียณในปัจจุบัน ที่แม้ว่าจะมีหลายด้านทั้งการเป็นข้าราชการบำนาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่ อ.พะนอม บอกว่าต้องมีการประชุมคณะกรรมการ เนื่องจากดำรงเป็นกรรมการใหญ่ แต่อีกงานที่ทำควบคู่กัน คือการหนังสือด้วยกัน 2 เล่ม ที่งานนี้บอกให้ฟังว่าประโยชน์ของการทำงาน เมื่อวัยเกษียณหลัก 8 นั้นไม่เพียงสร้างประโยชน์แก่สังคม แต่ทว่ายังเป็นการดูแลสุขภาพไปด้วยในตัว

        ผมได้ประโยชน์หลายอย่าง จากการที่ผมเขียนหนังสือ เช่น หนังสือไหว้ครูนาฏศิลป์ดนตรีไทย มันทำให้ผมต้องค้นคว้าโดยการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด รวมถึงการลงพื้นที่จริงไปถ่ายรูป ไปเก็บข้อมูลในพิธีไหว้ครู ก็ทำให้ได้ประโยชน์หลายประการ ทั้งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ที่ได้เห็นของจริงในพิธีการไหว้ครูจริงๆ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สำคัญยังได้พักผ่อนไปด้วยในตัว และได้ความสุขใจ ได้สังคมจากการได้พูดคุยสัมภาษณ์คน อีกทั้งได้ฝึกสมอง ฝึกข้อมือ เพราะหลังจากการที่ผมได้ลงพื้นที่ไปรวบรวมข้อมูลแล้ว ก็ต้องมานั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์อีกประมาณ 500 หน้า เพื่อส่งต่อไปยังโรงพิมพ์ กระทั่งออกมาเป็นรูปเล่ม

        อ.พะนอม กล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับสิ่งที่อยากฝากไปยังเด็กรุ่นใหม่ ว่า ในมุมของผู้ใหญ่นั้น ผมสนใจและติดตามข่าวสาร รวมถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องของอริยสัจ 4 กระทั่งย่อยเหลือ 3 ข้อคือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะเรื่องของสมาธินั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้ามีสมาธิก็จะก่อปัญญา ทั้งนี้ การที่คนเราจะมีสมาธิได้นั้นก็ต้องตั้งสติและคิดก่อนโดยไม่วู่วาม เพราะถ้าหากว่าเรามีสติ ก็จะทำให้เรารู้ว่าสาเหตุของปัญหานั้นเกิดจากอะไร และเมื่อตัดสินใจทำแล้วจะได้รับอะไร เช่น ผลเสียหรือผลดีมากกว่ากัน ซึ่งตรงนี้เมื่อกระบวนการทุกอย่างผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ด้วยสติ ก็จะทำให้เรารู้ว่าเรื่องที่เราตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งการปฏิบัติรูปแบบดังกล่าวนั้น เรียกกันว่าการทำสมาธิกรรมฐาน ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปแบบนี้ได้ เด็กก็จะมั่นคงในความคิด และสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งเร้าด้านลบที่เข้ามานั้น หากหลงหรือทำตาม ผลเสียมันจะเป็นอย่างไร สุดท้ายเด็กก็จะเลือกทำในสิ่งที่ดีงาม หรือใช้ชีวิตด้วยปัญญา”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"