ผ่อนผันระเบียบขยายลงทุนอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    

      การลงทุนด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอีอีซีนั้น มองว่าเป็นข้อดีและเกิดประโยชน์กับภาคธุรกิจทั้งในเรื่องการเดินทาง ระบบการขนส่ง และการส่งออก ที่มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราก็มองว่าจะทำให้ความคึกคักด้านที่พักอาศัยแถบโรงงานจะดีขึ้น แต่หากในแง่ของการขยายโรงงานอาจจะทำได้ยากสักนิด  เนื่องจากถูกจัดให้เป็นพื้นที่ในการอยู่อาศัยเป็นหลัก และพื้นที่ในการผลิตและอุตสาหกรรมจะอยู่ในระยอง

      การส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อน และยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายนำร่องใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ทำให้จังหวัดดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ ที่ต้องการเข้าไปขยายกิจการในพื้นที่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่ายังคงมีอุปสรรคที่อาจจะทำให้การขยายลงทุนบางทำเลไม่สามารถดำเนินงานได้ง่ายมากนัก  เนื่องจากกฎระเบียบเรื่องของพื้นที่ไม่ได้อำนวยต่อการขยายให้เป็นโรงงานอุตสาหกรรม

ผ่อนปรนเขตสร้างโรงงาน

(ชัยวัฒน์ นันทิรุจ)

        ชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เอกา โกลบอล จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิด Longevity Packaging กล่าวว่า การลงทุนด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอีอีซีนั้น  มองว่าเป็นข้อดีและเกิดประโยชน์กับภาคธุรกิจทั้งในเรื่องการเดินทาง ระบบการขนส่ง และการส่งออก ที่มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราก็มองว่าจะทำให้ความคึกคักด้านที่พักอาศัยแถบโรงงานจะดีขึ้น แต่หากในแง่ของการขยายโรงงานอาจจะทำได้ยากสักนิด เนื่องจากถูกจัดให้เป็นพื้นที่ในการอยู่อาศัยเป็นหลัก และพื้นที่ในการผลิตและอุตสาหกรรมจะอยู่ในระยอง โดยปกติแล้วในการสร้างโรงงานจะมีการกำหนดระยะร่น เพื่อสร้างโรงงานได้ แต่กฎระเบียบใหม่จะทำให้ระยะร่นเพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้เป็นปัญหาในการขยายโรงงานอุตสาหกรรมยาก อาจจะต้องผลักดันไประยองหรือมาบตาพุด ในฐานะผู้ผลิตอีอีซีอาจไม่ได้ทำให้รับประโยชน์ในแง่การขยายโรงงาน แต่ทำให้ขนส่งดีขึ้น ส่วนการผลิตคงต้องย้ายไประยองจึงจะได้เปรียบ

        “กฎกระทรวงใหญ่ครอบไว้ก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องจัดโซนนิ่ง เพราะพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทราค่อนข้างกว้าง หากอยู่ในโซนท่องเที่ยวแล้วจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับโครงการที่พักอาศัยก็ไม่น่ามีปัญหา แต่หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมก็ควรจะมีโซนนิ่งหรือข้อผ่อนผัน หรือเป็นการออกกฎระเบียบที่ลงลึกไปในรายละเอียดของบางเขตพื้นที่ให้มีข้อยกเว้น เพราะในบางทำเลมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่แล้ว คงไม่มีใครมาสร้างที่อยู่อาศัย รัฐบาลต้องมาสำรวจ ไม่ควรปล่อยไปเลย ไม่ใช่พูดโดยรวมว่าเป็นฉะเชิงเทรา แต่ต้องมาดูในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย หากไม่จัดโซนนิ่งเลยจะทำให้การขยายโรงงานอุตสาหกรรมลำบาก”

ส่งเสริมความรู้พลาสติกรีไซเคิล

        นายชัยวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า ในฐานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ ก็มองว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินงานให้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ คงเป็นเรื่องของรีไซเคิลและสิ่งแวดล้อม โดยประการแรกเลยรัฐบาลต้องเข้าใจก่อนเกี่ยวกับพลาสติกว่ามีหลายประเภท จากนั้นจึงทำการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเภทของพลาสติกว่ามีทั้งแบบที่รีไซเคิลได้ ย่อยสลายได้และไม่ได้ ต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องดังกล่าว ต่อมาก็คงเป็นเรื่องของการแยกขยะให้ถูกต้อง เพื่อให้โรงงานสามารถนำพลาสติกที่รีไซเคิลได้กลับมาใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยมีการนำพลาสติกที่นำมาใช้ใหม่ได้ไม่ถึง 1% หากไม่มีการประชาสัมพันธ์ ใครจะรู้ใครจะทำ และการคัดแยกขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลกับรีไซเคิลได้ไม่ให้ปะปนกันนั้น จะเป็นประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่ใช้เสร็จก็ทิ้งอย่างเดียว

        พร้อมกันนี้ ยังอยากให้รัฐบาลช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ผลิตอาหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าว่ามีอะไรบ้าง เนื่องจากประเทศไทยมีอุตสาหกรรอาหารและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง หากต้องการให้ประเทศไทยเติบโตอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน หากมีการผลิตแต่สินค้าแบบพื้นฐาน ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่สามารถสร้างรายได้ที่มากขึ้นให้แก่ประชาชน อาทิ ข้าว หากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ได้ ก็จะสร้างรายได้ให้เกษตรกรรมมากขึ้น นอกจากจะสามารถมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริงแล้ว ยังทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนโดยรวมจะดีขึ้น ภาครัฐควรให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ ทั้งวิธีการถนอมอาหาร และต้องสร้างมูลค่าสินค้าให้ตัวเอง

กางเป้า 5 โตมากกว่าเท่าตัว

        จากวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับคุณภาพ และการผลิตด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อให้สินค้าของบริษัทได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวัน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น  บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด จึงได้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบคุณค่าจากสินค้าของบริษัทไปสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบรรจุอาหารพร้อมรับประทานและอาหารสัตว์ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณภาพ และมีมาตรฐานระดับโลกในด้านความสะอาดและปลอดภัย

        เมื่อช่วงต้นปี 2562 บริษัทได้ซื้อกิจการ “พริ้นท์แพค เอเซีย” ซึ่งมีทั้งโรงงานผลิตและลูกค้าในประเทศจีน ทำให้บริษัทกลายเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิด Longevity Packaging รายใหญ่ในภูมิภาค โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ล้านชิ้นต่อปี โดยมีโรงงานในประเทศไทย 1 แห่ง ประเทศจีน 2 แห่ง  และสำนักงานขายในอินเดีย

        นายชัยวัฒน์ กล่าวเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากปี 2563 ว่า บริษัทมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ทำการผลิตเต็มกำลังที่มีอยู่ หรือ 2,500 ล้านบาทชิ้นต่อปี  ซึ่งจะส่งผลให้รายได้เติบโตไปในทิศทางเดียวกันที่ 2,500 ล้านบาท จากคาดการณ์รายได้ปีที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่ 80% เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย เป็นต้น ตอนนี้กำลังการผลิตค่อนข้างพร้อม เหลือการทำตลาดเพียงอย่างเดียว บริษัทมีทีมทั้งในจีน อินเดีย และไทย ทั้งหมด 20 กว่าคนที่เตรียมลุย และในประเทศที่ไม่ตั้งสาขา ก็มีตัวแทนจำหน่ายในการ่วมมือ อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สำหรับไทยนั้นจะเป็นฐานการผลิตที่คอยส่งออกเป็นหลัก มีอัตราการเติบโตทุกปี

        ด้านตลาดในประเทศจีนคาดการณ์ว่าจะสามารถเติบโตได้ปี 30-40% โดยที่ผ่านมานั้นมีแบรนดิ้งที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว เนื่องจากใช้สินค้าคุณภาพ และฐานลูกค้าในประเทศดังกล่าวจะเป็นกลุ่มอินโนเวชั่น รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูง มีวอลุ่มมหาศาล โดยผู้ประกอบการมีความพยายามจะทำพรีเมียมโปรดักต์ ซึ่งลักษณะของการทำตลาดในจีนก็จะเน้นบีทูบี และออกงานประมาณ 3-4 ครั้งที่เป็นงานแฟร์ด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ รวมถึงยังมีอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เข้าเว็บไซต์ไปซื้อสินค้าได้อีกด้วย ขณะที่ตลาดในอินเดียจะมีสำนักงานอยู่ 3 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ได้แก่ เดลี, เจนไน และบังคาลอร์ ฐานลูกค้าขนาดใหญ่จะอยู่ในผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการเติบโตจะพบว่าอินเดียเติบโตมากที่สุด เนื่องจากเพิ่งเปิดตลาดได้ไม่นาน แต่ยังสู้ตลาดจีนไม่ได้ในแง่วอลุ่ม

        อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ส่งออกโดยรวมจะติดลบ แต่ในส่วนของบริษัทไม่มีผลกระทบ เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อเศรษฐกิจถดถอยก็ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มมาเสริมผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อมาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ดีขึ้น เพราะคนกลุ่มดังกล่าวจะมองหาหรือเลือกทานอะไรที่มองเห็นแล้วสวยงาม หรือแม้กระทั่งมองเห็นสินค้าภายในว่าน่ารับประทานขนาดไหน การส่งออกภาพรวมแทบจะไม่ได้รับผลกระทบ

มุ่งสู่การเป็นอินเตอร์แบรนด์

        สำหรับในปี 2563 บริษัทมีแผนจะรีแบรนดิ้งแผนในปีหน้าจะทำการรีแบรนดิ้งเอกา โกลบอล รวมถึงมีการขยายช่องทางใหม่ๆ ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ในเมืองไทยและอินเดีย ส่วนการทำการตลาดในแต่ละประเทศก็ทำอย่างเต็มที่  ไม่น่ามีปัญหาอะไร หากมีการสร้างแบรนด์ให้ชัดเจน แข็งแรง ก็จะเกิดความเชื่อมั่น เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมากแก่ลูกค้า รวมถึงจะมีการสร้างเทคนิคอลเซ็นเตอร์ หรือศูนย์กลางเรียนรู้แก่ลูกค้าและบุคคลภายนอกเข้ามาดูผลิตภัณฑ์ คาดว่าต้องใช้งบอีก 300-400 ล้านบาท

        ด้านการแข่งขันในกลุ่ม Longevity Packaging ยังไม่ค่อยมีเท่าไหร่ เนื่องจากต้องมีการใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง และใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก โดยการที่จะให้ลูกค้ายอมรับในคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเกี่ยวกับอายุการจัดเก็บ หากไม่ดีก็คงจะมีผลกระทบ เกิดการเรียกคืนสินค้า นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าความเชื่อมั่น การที่ลุยสร้างแบรนด์ เนื่องจากต้องการให้เป็นแบรนด์ระดับอินเตอร์ และสื่อให้เห็นถึงคุณภาพระดับโลก ไม่ใช่เป็นโลคอลแบรนด์เท่านั้น

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ Longevity Packaging ของบริษัท สามารถแบ่งประเภทได้ตามการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ 1.บรรจุภัณฑ์สำหรับผลไม้แปรรูป 2.บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเด็ก 3.บรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวหุงสำเร็จ 4.บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารสัตว์ 5.บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารปลาและอาหารทะเล และ 6.บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์จากนม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"