'จตุพร' บุกเรือนจำพัทยา ปลอบ 6 นักโทษนปช. อยู่ให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้


เพิ่มเพื่อน    

6 ม.ค. 63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมแกนนำ นปช. เข้าเยี่ยมแกนนำนปช.ที่ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษพัทยาในคดีชุมนุมและขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิทที่เมืองพัทยาเมื่อปี 2552

ทั้งนี้ นักโทษคดีการเมืองที่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งคุมขังคุก 4 ปีนั้น ประกอบด้วย นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย, นายสำเริง ประจำเรือ, นายพายัพ ปั้นเกตุ, นายสิงห์ทอง บัวชุม, นายศักดา นพสิทธิ์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ และนายพงษ์พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง โดยทั้งหมดเป็นแกนนำและแนวร่วม นปช.

นายจตุพร กล่าวภายหลังเข้าเยี่ยมว่า ทุกคนมีกำลังใจดี มีพี่น้องและครอบครัวเดินทางมาเยี่ยมอยู่ตลอด อีกทั้งทุกคนก็ผ่านการติดคุกมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในช่วงระหว่าง จากชั้นอุทธรณ์ไปศาลฎีกา จำนวนกว่า 5 เดือน ดังนั้นในรอบนี้ก็ถือว่าผ่านบทเรียนมาแล้วทุกคนสุขภาพดี ยกเว้นนายพงษ์พิเชษฐ์ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว แต่ทุกคนก็มีจิตใจดีปรับตัวได้ ตามคำที่ตนเคยพูดไว้ คือ อยู่ให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้

“ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของชะตากรรมจากการต่อสู้กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแกนนำคนอื่นๆที่ยังไม่เข้าเรือนจำตามคำพิพากษาของศาลนั้นส่วนตัวทราบว่า ขณะนี้แต่ละคนกำลังแก้ไขปัญหาครอบครัวเนื่องจากทันทีที่เข้าเรือนจำครอบครัวก็จะอยู่ด้วยความลำบาก เพราะทุกคนที่เป็นจำเลยในคดีนี้ล้วนแต่เป็นหัวหน้าครอบครัว ดังนั้นต่างฝ่ายต่างให้กำลังใจ และส่วนตัวเคยมีประสบการณ์เข้าออกคุกมากกว่า 4 ครั้ง ก็เข้าใจถึงชะตากรรมดังกล่าว”

นายจตุพร ย้ำว่า ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากกรมราชทัณฑ์เหมือนกับผู้ต้องขังรายอื่น ดังนั้นอยากเชิญชวนมวลชนคนเสื้อแดงหากมีโอกาส ก็มาเยี่ยมเพื่อเป็นการต่อลมหายใจให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะอย่างน้อยจะมีความหวังและความรู้สึกที่ผูกพันกับชะตากรรมดังกล่าวเพื่อก่อเกิดเป็นพลังในการรอวันเวลาที่จะได้รับอิสรภาพออกมาใช้ชีวิตกันต่อไป ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาที่ทุกคนพ้นโทษก็จะมีชะตากรรมเดียวกับตนคือถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี

พร้อมทั้งเเสดงความห่วงใยในการจัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุงในวันที่ 12 มกราคม 2563 ว่า เป็นห่วงทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาลเองก็ต้องมองว่านี่คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน หน้าที่ของรัฐคือการดูแลรักษาความปลอดภัยรวมถึงการอำนวยความสะดวก

แต่หากรัฐละเลยไม่ดำเนินการดูแลดังกล่าวตามหลักการแล้วอาจจะ ถูกแทรกแซงจากมือที่สาม ปัญหาก็จะเกิดขึ้นกับรัฐเสียเอง ดังนั้นหากรัฐใจกว้างและเคารพว่าประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และเสรีภาพของประชาชนก็ควรเข้าไปอำนวยความสะดวก ประชาชนก็จะไม่กดดัน

ส่วนฝ่ายของผู้จัดกิจกรรมนั้น เนื่องจากเวลาเริ่มต้นกิจกรรมอยู่ในช่วงเช้ามืด ถึง 8 นาฬิกาโดยไม่มีการปราศรัยทางการเมือง แต่ปริมาณของประชาชนที่ตั้งต้นด้วยหลักหมื่นนั้น ในทางปฏิบัติวันจริงเมื่อออกเดิน หรือแม้เเต่การชุมนุมทางการเมืองใดๆจะเหมือนกันทั้งหมดคือ เมื่อถึงวันจริงประชาชนจะมาเพิ่มเกิน 2 เท่า

“ทางผู้จัดกิจกรรมแม้จะไม่มีการปราศรัยแต่ควรจะมีระบบเครื่องเสียงให้สามารถสื่อสารได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในบริเวณสวนรถไฟ เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์อะไรก็สามารถทำความเข้าใจกับประชาชนได้ทันท่วงที”

ดังนั้นหากทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบทั้งผู้จัดกิจกรรมและเจ้าหน้าที่รัฐก็ควรตั้งจุดตรวจร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกและขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ได้ เรื่องนี้ก็จะจบภายใน 3 ชั่วโมงตามที่ผู้จัดกิจกรรมได้ประกาศไว้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"