เลขาฯองค์กรต้านโกงตั้งคำถามจะเกิดอะไรกับประเทศไทยหลังกลุ่มซีพี ได้สิทธิ์ประมูลอู่ตะเภา


เพิ่มเพื่อน    


14 ม.ค.63- ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อะไรจะเกิดหลังจากนี้...

จะเกิดอะไรกับประเทศไทยภายหลังกลุ่มบริษัท ซีพี กลายเป็นเอกชนรายแรกที่สามารถยื่นเอกสารการประมูลได้แม้จะเลยเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งๆ ที่ธรรมเนียมปฏิบัติของราชการนั้นยึดถือมาตลอดว่า กำหนดเวลาเป็นเรื่องของความยุติธรรมที่ชัดเจน ใครมายื่นทันก็มีสิทธิ์ ไม่ทันก็หมดสิทธิ์ คือชัดเจนว่าเป็นขาวหรือดำ โดยไม่ต้องมาเถียงกันว่าที่มาสายเป็นเพราะรถติด ไปผิดที่ หรือมีเอกสารเยอะ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงทำให้ผมเกรงว่า

1. จากนี้ไปการมายื่นประมูลเลยกำหนด (ซึ่งแปลว่าคนอื่นเขายื่นกันหมดแล้ว) อาจเป็นเรื่อง สีขาว สีเทาหรือสีดำก็ได้ เพราะคนที่ทำผิดกติกาย่อมสามารถอ้างแนวคำตัดสินจากคดีนี้ ไปร้องต่อศาลปกครอง หรือเอาที่ง่ายกว่านั้นคือ ขอให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของโครงการนั้นๆ “ใช้ดุลยพินิจ” เองเลยว่า พฤติกรรมแบบใดที่ตนทำไปหรือเอกสารใดที่ตนยังไม่ได้ยื่น แต่ให้ถือว่ายอมรับได้หรือให้รับไว้เป็นส่วนหนึ่งของการประมูล เหตุนี้ย่อมทำให้หน่วยงานของรัฐเสียหายจากการหยุดชะงักล่าช้าออกไป

2. ข้าราชการจะมีอำนาจในการ “ใช้ดุลพินิจโดยไร้กรอบกติกาที่ชัดเจน” ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดการเลือกปฏิบัติและคอร์รัปชันได้ เพราะหลักเกณฑ์หรือแนวทางในเรื่องแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลยในกฎหมาย ข้อกำหนดหรือระเบียบใดๆ

3. การเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจโดยไร้กรอบกติกาเช่นนี้ ย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ที่ต้องการให้ใช้กติกาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ มีการแข่งอย่างเท่าเทียม เปิดเผย และโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

4. ผลของการมีอำนาจใช้ดุลยพินิจแบบนี้
ข้าราชการที่ดีและตั้งใจให้งานสำเร็จ จะเป็นทุกข์เพราะเสี่ยงติดคุก หากถูกร้องเรียนจากผู้เสียประโยชน์และถูกตรวจสอบจากต้นสังกัด หรือ ป.ป.ช. และ สตง.

ส่วนข้าราชการที่ฉ้อฉลและพ่อค้าผู้มีอิทธิพล เส้นสาย จะชอบใจเพราะเปิดช่องให้ช่วงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบกันได้ โดยเฉพาะเมื่อแอบล่วงรู้ข้อมูลของผู้ยื่นประมูลคนอื่นๆ

มาดูกันว่าหลังจากนี้ หน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างกรมบัญชีกลางและ สคร. จะทำให้ถูกต้องและชัดเจนอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องเลวร้ายในอนาคต

แต่ที่ผมอยากรู้มากกว่าคือ ทำไม? ประธานตุลาการศาลปกครองสูงสุดจึงไม่สั่งการให้นำคดีอู่ตะเภานี้เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ทั้งๆ ที่กองทัพเรือได้ร้องขอแล้ว[1] เพราะเล็งเห็นว่า อาจจะเกิดความเสียหายต่อรัฐได้ ขณะที่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ ก็เปิดช่องให้ทำได้[2] และเคยทำมามากแล้ว

ดร. มานะ นิมิตรมงคล
เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

อ้างอิง:
1 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/854134
2 https://www.isranews.org/isranews/84415-openn-84415.html


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"