แบบอย่างคุณแม่หลัก 6 ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม


เพิ่มเพื่อน    

(อังคณา นีละไพจิตร)

 

      ถ้าเอ่ยชื่อ คุณอังคณา นีละไพจิตร เชื่อได้ว่าหลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี ทั้งในบทบาทของผู้หญิงเก่งที่มีความมั่นใจ และเคารพถึงสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน กระทั่งได้รับรางวัลแมกไซไซ 2019 จากมูลนิธิรามอนแมกไซไซ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเปรียบเสมือนได้ว่าเป็นรางวัลโนเบลแห่งเอเชียก็ว่าได้ ซึ่งเจ้าตัวเป็น 1 ใน 5 ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว และยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แม้ปัจจุบันเจ้าตัวจะลาออกจากตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว แต่ทว่าก็ยังที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรต่างๆ ภายในประเทศ และยังช่วยงานกรรมการสภาสิทธิมนุษยชนฯ รวมถึงยังเป็นวิทยากร รวมถึงให้ข้อมูลการวิจัยที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน

      นอกจากบทบาทด้านการทำงานเพื่อส่วนรวมแล้ว ทว่าไลฟ์สไตล์ในวัย 63 ปีของผู้หญิงเก่งคนนี้ ที่เลี้ยงดูลูกๆ ทั้ง 5 คนเพียงลำพัง ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในวันที่เจ้าตัวลาออกจากงานประจำ และผันตัวเป็นทั้งที่ปรึกษาและทำงานอิสระด้านสิทธิมนุษยชน นั่นจึงทำให้พอมีเวลาว่าง ซึ่งเจ้าตัวคาดว่าจะใช้เวลาต่อจากนี้เพื่อเที่ยวพักผ่อนประเทศในแถบเอเชีย หรือแม้แต่หาเวลาว่างไปนั่งฟังงานเสวนาอภิปรายเกี่ยวกับการเมืองและสังคม รวมถึงเรื่องต่างๆ ที่ตัวเองสนอกสนใจเพื่อเติมความรู้ใหม่ๆ ซึ่งต้องทำควบคู่กับการดูแลสุขภาพไปพร้อมๆ กัน

      คุณอังคณา บอกให้ฟังว่า ผู้หญิงนั้นเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ก็ยิ่งต้องหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าระบบเผาผลาญในร่างกายก็เริ่มน้อยลง ทั้งนี้ นอกจากการเลี่ยงบริโภคแป้งให้น้อยลงแล้ว ยังจำเป็นต้องเน้นโปรตีนและเสริมผักผลไม้เข้าไป เพราะอันที่จริงแล้วการเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่สำคัญจะเปลี่ยนจากการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นเนื้อปลาแทน และก็จะพยายามกินอาหารเผ็ดให้น้อยลง

      นอกจากการควบคุมเรื่องอาหารแล้ว พี่เชื่อว่าการดูแลสุขภาพจิตใจ โดยเมื่อเข้าสู่วัยหลัก 6 ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะในสังคมที่เต็มไปด้วยเรื่องของความขัดแย้งมากขึ้น การดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนตัวพยายามสร้างความสมดุล ระหว่างคนเจเนอเรชั่นใหม่กับคนยุคเก่าอย่างตัวเอง รวมถึงคนอายุ 70-90 ปี โดยการปล่อยวางและเป็นผู้รับฟังที่ดี พร้อมเปิดใจกว้าง ส่วนตัวเราเป็นคนชอบฟังเวลาที่ใครเล่าอะไร โดยที่เราไม่ได้รู้สึกต่อต้านความคิดผู้อื่น เพราะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งมันจะผิดจะถูกก็ต้องว่ากันอีกที ที่สำคัญเมื่อเรามีประสบการณ์มากกว่า เราเคยผ่านปัญหามา ทำให้เรารู้ว่าถ้าแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้แล้วจะเกิดอะไร หรือเวลาที่เจอปัญหานี้ เราจะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีเหล่านี้ เป็นต้น ดังนั้นเราจึงค่อนข้างเป็นคนที่ชอบการแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อให้เรารู้จักการปรับตัว และมีความอดทน”

      นอกจากการดูแลจิตใจด้วยการเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นทุกคน อีกทั้งใช้ประสบการณ์ที่มีแนะนำผู้อื่น ซึ่งไม่เพียงทำให้รู้ถึงความคิดของคนแต่ละช่วงวัยแล้ว ยังเป็นการฝึกจิตใจให้อดทน เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงในสังคมด้วยความเข้าใจ นับเป็นการดูแลสุขภาพจิตที่ดี ทว่าในส่วนของการเสริมสร้างความแข็งแรงทางกาย ด้วยการเอกเซอร์ไซส์นั้น คุณอังคณา บอกว่า

      เนื่องจากตอนนี้บ้านเรามีปัญหาฝุ่นควันพิษ ดังนั้นการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งอาจจะไม่เหมาะสม เพราะเราอายุมากแล้ว ดังนั้นการหายใจเพื่อรับอากาศที่มีมลพิษเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ และแม้ว่าที่บ้านจะมีเครื่องออกกำลังกาย แต่ส่วนตัวนั้นถ้าอากาศดี ไม่มีฝุ่นควัน ก็จะชอบเดินออกกำลังวันละ 1-3 กิโลเมตร ทั้งออกในสวนสาธารณะ และออกกำลังด้วยการเดินทำงาน เหตุผลทำไมที่พี่ชอบเดิน ก็เป็นเพราะมันทำให้เราได้สูดอากาศบริสุทธิ์ และได้เห็นชีวิตของคนในสิ่งแวดล้อมที่เราเดินผ่านค่ะ”

      อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ บอกอีกว่า “หลังจากลาออกจากงานประจำแล้ว ช่วงเวลาต่อจากนี้เป็นเวลาของการพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยเจ้าตัวตั้งใจอยากเดินทางท่องเที่ยวในประเทศแถบเอเชีย เพราะสมัยที่ยังทำงานประจำนั้นไม่มีเวลาไปเที่ยว นอกจากนั่งเครื่องบินไปต่างประเทศเพื่อทำงานเท่านั้น โดยเมืองที่อยากไปนั้น อาทิ เมืองจาการ์ตา เมืองมะละกา (อินโดนีเซีย) รวมถึงเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ก็อยากไป ที่สำคัญก็คิดว่าจะใช้ช่วงเวลานี้ อ่านหนังสือที่ตัวเองชอบ ซึ่งเก็บไว้แต่ยังไม่ได้อ่าน อีกทั้งหากวันไหนที่เป็นวันว่างในแต่ละสัปดาห์ ก็คิดว่าจะหาเวลาว่างไปนั่งฟังงานเสวนาหรืองานอภิปรายในเรื่องที่ตัวเองสนใจ ทั้งเรื่องทั่วไป เรื่องการเมือง และเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ ให้กับตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ต้องหมั่นหาความรู้อยู่เสมอ”

      ถามถึงการทำงานหลังวัย 6 กันบ้าง เนื่องจาก คุณอังคณา บอกว่าเจ้าตัวได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว แต่ทว่ายังคงทำงานอยู่ เพราะชีวิตที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ การทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำงานร่วมกับผู้อื่น อาทิ การเป็นที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรต่างๆ ในประเทศ และยังช่วยงานกรรมการสภาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตลอดจนเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเวทีต่างๆ และเป็นผู้ให้ข้อมูลตลอดจนการวิจัยที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

      “บอกได้เลยว่างานที่ทำทุกวันนี้ แม้จะไม่ใช่งานประจำ แต่อย่างน้อยๆ มันทำให้เราได้ลับสมอง อีกทั้งการที่เราไม่ได้ไปทำงานทุกวัน หรือต้องอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้รู้สึกเบื่อได้ แต่งานที่เราทำนั้นมันทำให้เราได้เปิดกว้างทางความคิดมากขึ้น เช่น การที่เราได้ให้ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนกับเด็กนักศึกษารุ่นใหม่ที่เข้ามาขอความรู้ ตลอดจนนักวิจัยเข้ามาขอสัมภาษณ์ทุกอาทิตย์เช่นกัน ก็ทำให้เราได้ทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำให้เรารู้ถึงความคิดของคนในแต่ละช่วงวัยได้เป็นอย่างดี จากประสบการณ์สั่งสมมาจากการทำงานด้านการเมืองและเรื่องสิทธิค่ะ”

      เรื่องการทำงานที่ผ่านมาว่าเข้มข้นสไตล์ผู้หญิงเก่งและแกร่ง แต่ในบทบาทการเป็นคุณแม่ลูก 5 คน คุณอังคณา บอกชัดเจนว่าไม่เป็นห่วงลูก เพราะเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แต่สิ่งที่อยากฝากไปยังลูกๆ คือการต้องไม่ละทิ้งเรื่องการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และต้องไม่ลืมช่วยเหลือคนอื่นในเรื่องที่เราสามารถช่วยได้

      “ส่วนตัวไม่เป็นห่วงลูกๆ เพราะที่ผ่านมาเราได้เลี้ยงดูเขาอย่างเต็มที่ และเราเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สิ่งที่พร่ำสอนลูกๆ อยู่เสมอ คือการที่เราสอนให้เขาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อโตขึ้น ที่สำคัญก็จะต้องทำเพื่อคนอื่นด้วย อีกทั้งเมื่อตั้งใจทำอะไรแล้วก็ขอให้มั่นใจ แม้ว่าระหว่างที่ทำงานต่างๆ นั้นอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่สอนลูกมาโดยตลอด เพื่อที่จะให้เขาโตมาอย่างมีคุณภาพ และเห็นคุณค่าของตัวเอง ที่สำคัญเพื่อให้เขาสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ อีกทั้งสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้น ต้องไม่ลืมทำประโยชน์ ช่วยเหลือคนอื่นค่ะ”.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"