เปิดนโยบายพัฒนานิคมฯ-โรงงาน เพิ่มโอกาสการลงทุนในอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    

การเร่งขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อีอีซี ที่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโครงการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือฯ แหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและดึงดูดการลงทุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        เปิดฉากเดินหน้าอย่างเต็มกำลังในการลุยโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี โดยมีหลายหน่วยงานที่สำคัญเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการสำคัญระดับประเทศที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันให้เกิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้ดีขึ้น และในปี 2563 นี้เอง หน่วยงานนั้นๆ ก็ต้องมีแผนเตรียมงานที่จะสานต่อความคืบหน้าอย่างแน่นอน

        โดยหนึ่งองค์กรที่ถือว่าเป็นกลไกหลักในการพัฒนาพื้นที่และเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังจะตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ ก็คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. ที่ในปี 2563 นี้เองก็มีแผนงานและแนวร่วมพัฒนาพื้นที่อีอีซีในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการเตรียมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ก็คือการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี

        ซึ่งล่าสุด กนอ.ได้ลงนามในสัญญาจ้างบริหารจัดการท่าเรือฯ มาบตาพุด กับบริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด ต่อเนื่องในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2562-2572 หรือ 10 ปี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมและบริหารจัดการคนประจำเรือ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอู่ต่อ-ซ่อมเรือ อุปกรณ์เรือ และกลุ่มธุรกิจให้บริการรับจ้างเหมาบริหารจัดการท่าเรือสำหรับเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป สินค้าน้ำมัน เคมีและแก๊ส รวมถึงการบริหารจัดการระบบคลังเก็บสินค้า เพื่อให้การบริหารจัดการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการบริการผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยบริการที่มีมาตรฐาน ความปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาคอุตสาหกรรมแล้ว

        ในขณะที่ทิศทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 63 นั้น กนอ.มองว่ามีแนวโน้มที่ดี เพราะมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น จากการที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี

      และการเร่งขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อีอีซี ที่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโครงการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือฯ แหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และดึงดูดการลงทุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

      ดังนั้น จากปัจจัยดังกล่าวทำให้การลงทุนในปีงบประมาณ 2563 มีทิศทางการเติบโตได้อย่างแน่นอน แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว ค่าเงินบาทแข็งค่า และปัจจัยภายนอกอื่นๆ รวมถึงสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่ยังไม่มีข้อยุติ ทำให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย

        ทำให้นักลงทุนตัดสินใจซื้อที่ดินในนิคมฯ เพื่อลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากผลประกอบการของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 มีมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 30,527.54 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 5,512 คน เพิ่มขึ้น 60% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งมีการจ้างงาน 3,446 คน และมียอดขาย/เช่าที่ดินเพิ่มขึ้น 807 ไร่ จาก 1,376 ไร่ เป็น 2,183 ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 59% โดยในจำนวนดังกล่าว แบ่งเป็นพื้นที่อีอีซีจำนวน 1,964 ไร่ นอกพื้นที่อีอีซีจำนวน 219.85 ไร่ ซึ่งในพื้นที่อีอีซีมียอดขาย/เช่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 ถึง 98%

        อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูผลประกอบการของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 ช่วงเดือน ต.ค.61-ก.ย.62 จะพบว่ามีทิศทางที่ดี โดยการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.บริหารงานเอง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับภาคเอกชน จำนวน 59 นิคมอุตสาหกรรม และ 1 ท่าเรืออุตสาหกรรม ในพื้นที่ 16 จังหวัดทั่วประเทศ และมีนิคมอุตสาหกรรมที่เซ็นสัญญาในปีงบประมาณ 62 จำนวน 1 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง)

        เป็นผลให้มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมประมาณ 175,939 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับขาย/เช่า ประมาณ 110,558 ไร่ และพื้นที่ขาย/เช่าสะสม ประมาณ 88,906 ไร่ มีมูลค่าการลงทุนในภาพรวมประมาณ 4 ล้านล้านบาท มีโรงงาน 5,875 แห่ง และมีจ้างงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 500,000 คน

        สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก ที่ให้ความสนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ 2.อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง 3.อุตสาหกรรมยาง พลาสติก และหนังเทียม 4.อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ 5.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์

        โดยประเทศที่มาลงทุนในนิคมฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับของ กนอ.มีศักยภาพที่พร้อมรองรับการลงทุนอย่างเต็มที่ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ครบถ้วน ขณะเดียวกัน  กนอ.ยังให้ความสำคัญในด้านการบริการนักลงทุนแบบครบวงจรเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการขอใบอนุมัติ และใบอนุญาต ผ่านศูนย์ให้บริการของ กนอ. Total Solution Center (TSC) โดยศูนย์บริการดังกล่าวจะให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง

        อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยลบต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ ทำให้มีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ดังนั้น กนอ.ได้มีมาตรการที่รอบคอบและรัดกุมในการเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ทันท่วงทีแน่นอน

        ขณะที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรอ. ก็เป็นอีกหน่วยงานที่มีความร่วมมือพัฒนาพื้นที่อีอีซีเช่นกัน และที่ผ่านมา กรอ.เองก็เห็นความก้าวหน้าของอีอีซีจากตัวเลขของการเปิดและขยายกิจการโรงงานมาโดยตลอด และในปี 63 นี้เองก็ตั้งเป้าที่จะดำเนินงานผลักดันโครงการต่างๆ ตามนโยบานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่ในอีอีซีเท่านั้น แต่ยังเหมารวมไปกับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศอีกด้วย เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ที่ส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวเบื้องต้นมอบหมายให้กองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน (กทส.) ประสานการดำเนินการกับอุตสาหกรรมจังหวัดอย่างใกล้ชิด

        โครงการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ ก็จะประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมจังหวัด โดยแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มที่มีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มพื้นที่อีอีซี และโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสายหลัก โดยเริ่มจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา และคลองอู่ตะเภา ซึ่งจะขยายผลไปอีก 25 ลุ่มน้ำสายหลัก และโครงการอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการน่าลงทุน

(ประกอบ วิวิธจินดา)

        นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า แผนดำเนินงานในปี 2563 กรอ.ให้ความสำคัญในแผนงาน 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1.การดำเนินนโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อม และปราบปรามผู้ประกอบการที่กระทำผิด จนเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแบบเข้มงวดมากขึ้น 2.การพัฒนากฎหมาย และระบบดิจิทัล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 3.การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

        และ 4.การพัฒนาบุคลากรตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจไทยควบคู่กับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมสำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก

        ซึ่งจะเน้นบริหารจัดการ กำกับ ดูแล และเฝ้าระวังผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กรอ.มีแผนในการตรวจกำกับโรงงาน 5,000-6,000 โรงงาน เพื่อเฝ้าระวังเรื่องของความเสี่ยงด้านต่างๆ อาทิ น้ำเสีย อากาศ กากอุตสาหกรรม ความปลอดภัย  (สารเคมี อัคคีภัย ระบบไฟฟ้า หม้อน้ำ) ที่รวมถึงในพื้นที่อีอีซีด้วย หลังจากพบว่าในปี 62 มีชาวบ้านหรือชุมชนร้องเรียนโรงงานที่สร้างความเดือดร้อนมายัง กรอ. จำนวน 594 เรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของกลิ่นเหม็นมากที่สุด 389 เรื่อง รองลงมาเป็นเสียงดังจำนวน 200 เรื่อง, เรื่องฝุ่นละอองจำนวน 136 เรื่อง, ทำงานกลางคืนจำนวน 89 เรื่อง และเรื่องเขม่าควันจำนวน 79 เรื่อง เป็นต้น

        ขณะเดียวกัน หากพบว่าโรงงานมีการปล่อยมลพิษ ทาง กรอ.ก็จะมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วเข้าระงับ และจัดการ เพื่อความรวดเร็ว แม่นยำ เนื่องจากกรมมีระบบรายงานมลพิษแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทั้งน้ำ อากาศ และกากอุตสาหกรรม นอกจากนี้ก็จะพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและพัฒนาระบบอนุญาตและการกำกับดูแล ทั้งข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการวัตถุอันตราย เชื่อมโยงเอกสารและข้อมูลประชาชนและบริการภาครัฐ การนำระบบบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และทำเนียบสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมถึงการผลักดันโครงการต่างๆ ที่จะช่วยลดมลพิษ เป็นต้น

        เมื่อย้อนกลับไปดูผลงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรอบปี 62 กรอ.ได้ดำเนินการในหลายจุด เช่น การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมสู่ Factory 4.0, การอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทำความเย็นและหม้อน้ำในโรงงาน, การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โรงงานปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในโรงงาน กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้วกว่า 2,131 เครื่อง หรือจำนวนโรงงาน 107 โรงงาน, การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อยกระดับโรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ปี 62 จำนวน 2,921 ราย จากเป้าหมายที่ 2,000 ราย

        อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการปรับตัวตามแนวทางการพัฒนาของประเทศ หรือการปรับตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอยู่อย่างเป็นมิตรกับชุมชนที่เป็นหัวใจของการส่งเสริมทิศทางภาคอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน ขณะเดียวกันการเร่งพัฒนาโครงการขนาดใหญ่อย่างอีอีซีนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นช่องทางสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีการเติบโตที่ก้าวกระโดด และมีความพร้อมที่จะไปแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"