กรมรางฯขานรับนโยบาย Thai First ลุยสร้างมาตรฐานระบบราง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ


เพิ่มเพื่อน    


27 ม.ค. 2563 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดี ขร.นั้น เตรียมประสานความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมถึงจะจัดให้มีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรทางรางในต่างประเทศประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพ และสร้างมาตรฐานในงานระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และระบบไฟฟ้า 

ขณะเดียวกัน ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาการดำเนินการนโยบาย “Thai First” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อนนั้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นการลดใช้วัสดุจากต่างประเทศ ดังนั้น ขร. จึงเตรียมหารือร่วมกับ วว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานรับรอง ให้ไทยสามารถพัฒนาและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) และหมอนรองรางรถไฟได้เอง ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยังช่วยสนับสนุนการนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้

ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง และหมอนรองรางรถไฟอย่างมหาศาล โดยในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ระยะทาง 993 กิโลเมตร (กม.) นั้น ได้ใช้เครื่องยึดเหนี่ยวรางกว่า 6.6 ล้านตัว และใช้หมอนรองรางรถไฟ จำนวน 1.65 ล้านหมอนรองราง ซึ่งในทางรถไฟ ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้หมอนรองรางรถไฟ 1,660 หมอนรองราง และใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง 2 ชุด (เหล็กบน-ล่าง จำนวน 4 ตัว) อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถดำเนินการได้เองนั้น จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ระยะทาง 1,483 กม.

“ทาง วว. รับที่จะเข้ามาช่วยเหลือกับเรา คือ วัสดุบางตัวเราสามารถสร้างเองได้ ดังนั้นทำไมเราไม่ทำเอง ทำให้เป็นมาตรฐานรางไทย เพราะหมอนรองรางเราสร้างเองได้แล้ว ถ้าเราสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้อีก ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณมหาศาล เพราะ ตอนนี้เรานำเข้าจากจีน โดยเครื่องยึดเหนี่ยวราง ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,700 บาทต่อ 1 ชุด ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างรวบร่วมรายละเอียด แต่ส่วนที่เห็นชัด คือ เราได้ช่วยใช้ยางพาราในประเทศ ใช้เหล็กในประเทศ และซัพพลายเออร์ ได้มีงานทำ ถ้าทำได้ และเป็นไปตามนโยบาย Thai First ด้วย” นายสรพงศ์ กล่าว

นายสรพงศ์ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ได้รับโยบายจากรัฐบาล และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการรักษาสุขอนามัยในระบบขนส่งสาธาณณะระบบราง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ และเชื้อไวรัส โดยในสัปดาห์นี้ จะมีการหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการป้องกันดังกล่าว ในการเดินทางในระบบรางทั้งหมด

“ในช่วงเวลาเร่งด่วน ประชาชนเดินทางด้วยระบบรางจำนวนมาก โดยจะมีการรณรงค์และสร้างแนวทางป้องกันการติดต่อเชื้อโรคต่างๆในส่วนของระบบการเดินทางในระบบการขนส่งทางราง โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งในสัปดาห์นี้ จะเรียกผู้ประกอบการระบบขนส่งทางรางทั้งหมด มาหารือถึงแนวทางป้องกันเชื้อโรคติดต่อ จะต้องมีป้ายเตือนมีการสัมผัส และจะขอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนเรื่องของแอลกอฮอล์เช็ดมือ เพราะต้องมีการจับการโหนแตะมือ สิ่งเหล่านี้เราสามารถทำได้และคิดว่าประชาชนจะเห็นด้วยกับแนวทางเหล่านี้” นายสรพงศ์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"