ผ้าบาติกสะสมในสมัย ร.5   หัตถศิลป์อันงดงามจากชวาสู่สยาม


เพิ่มเพื่อน    

     

    ในอดีตเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ได้เสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธไมตรีในต่างแดน ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียถึง 3 ครั้ง ในปี 2413, 2439 และ 2444 ซึ่งในการเสด็จไปแต่ละครั้งได้มีการทอดพระเนตรการเขียนผ้าบาติก ซึ่งถือว่าเป็นงานหัตถศิลป์ที่มีคุณค่าและมีชื่อเสียงของชาวบ้านบนเกาะชวา อีกทั้งยังเป็นเครื่องแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ ที่ได้เห็นถึงวัฒนธรรม ความนิยม ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ผ่านผืนผ้า และมีความพอพระทัยอย่างยิ่ง จึงได้มีการซื้อผ้าชนิดนี้ กลับมายังประเทศไทย และส่วนหนึ่งก็ได้รับทูลเกล้าฯถวายจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง จึงทรงมีผ้าบาติกสะสมทั้งสิ้น 307 ผืน ทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในเขตพระราชฐานชั้นในในพระบรมมหาราชวัง 


    เพื่อระลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และในโอกาสครบรอบ 70 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงจัดแสดง"นิทรรศการ ผ้าบาติกในพระปิยมหาราช : สายสัมพันธ์สยามและชวา ชุดที่ 2" จากการจัดแสดงทั้ง 3 ชุด โดยได้เปลี่ยนผ้าบาติกจากการจัดแสดงชุดแรกออกทั้งหมด และนำผ้าบาติกผืนที่ไม่เคยจัดแสดงมาก่อนมาจัดแสดงทั้งหมด 37 ผืน รวมกับผ้าบาติกลายสิริกิติ์อีก 1 ผืน  เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสชื่นชมความงดงาม และเรียนรู้ประวัติศาสตร์บนผืนผ้าบนเกาะชวา  จัดแสดงตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และเตรียมพบการจัดแสดงชุดที่ 3 ในเดือนกันยายน 2563 

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ (คนที่ 2 ซ้าย ) -ฯพณฯ อะฮ์หมัด(ขวาสุด) ชมผ้าบาติก


    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กล่าวว่า ในการจัดแสดงนิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราชฯ ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นการวางรากฐานที่สำคัญในด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ได้นำมาใช้เป็นองค์ความรู้ด้านงานศิลปะหัตถกรรมมา ความรู้ทางประวัติศาสตร์การแต่งกายของชวา ผ้าเหล่านี้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี มีการให้หมายเลขกำกับผ้าแต่ละผืน และบันทึกข้อมูลรายละเอียดของผ้าแนบไว้ ถือเป็นหลักฐานสำคัญยิ่ง เนื่องด้วยผ้าบาติกที่ทรงสะสมมีจำนวนถึง 307 ผืน และนำออกแสดงได้ประมาณครั้งละ 40 ผืน จึงมีการเปลี่ยนชิ้นงานผ้าบาติกจัดแสดงใหม่ในครั้งที่ 2  จำนวน 37 ผืน  ให้ประชาชนได้มีโอกาสชื่นชมผ้าบาติกทรงสะสม พร้อมเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

ลวดลายผ้าบาติกสะสมในรัชกาลที่ 5
    ฯพณฯ อะฮ์หมัด รุสดี เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า  อย่างที่ทราบประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมาอย่างยาวนานถึง 70 ปี และในฐานะที่ตนก็เป็นชาวชวารู้สึกซาบซึ้งและเป็นเกียรติอย่างมากถึงความชื่นชม ความหลงใหล และความรักที่มีต่อผ้าบ้าติกของรัชกาลที่ 5 แม้กระทั่งนักสะสมผ้าบาติกเองก็ยังสะสมไม่ได้มากเท่าพระองค์ ซึ่งน้องชายของตนก็เป็นอีกหนึ่งคนที่หลงใหลในผ้าบาติก และได้ทำการสืบสาน ประเพณีและวัฒนธรรมผ้าบาติกนี้ด้วย ผ้าบาติกถือเป็นงานศิลป์และงานหัตถกรรมที่รู้จักกันทั่วโลก ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน จนยูเนสโกประกาศว่าผ้าบาติกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย 


     นิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราชฯ แบ่งเป็น 2 ห้องจัดแสดง โดยห้องแรก จัดแสดงผ้าบาติกที่มาจากพื้นที่บริเวณชายฝั่งตอนเหนือของชวากลางและพื้นที่ชวาตะวันตก และห้องที่สอง จัดแสดงผ้าบาติกจากพื้นที่ชวากลาง           

ภัณฑารักษ์ เล่าถึงผ้าบาติกในรัชกาลที่ 5


    ศาสตรัตน์ มัดดิน ภัณฑารักษ์ประจำนิทรรศการ นำชมนิทรรศการเล่าว่า จากการศึกษาเรื่องลายผ้าบาติกในคอลเลกชั่นของ รัชกาลที่ 5 กว่า 5 ปี เพื่อจัดนิทรรศการ  พบว่ามี 6 ชนิด ได้แก่ ผ้าโพกศีรษะ ผ้าตัวอย่างลาย(คอนโลห์ โปลา) ผ้านุ่ง(กายน์ ปันจัง) ผ้านุ่ง(โสร่ง) และผ้าคาดอก ซึ่งในภาพถ่าย หรือในพระราชนิพนธ์ ยังทรงได้เซตหนึ่งของเครื่องแต่งกายสุลต่านมาด้วย แต่ไม่มีการพบของจริง พบเพียงโกรุก(หมวก) ที่เป็นของจริง ส่วนสำคัญที่นำมาจัดแสดงยังเป็น ป้ายคำอธิบายผ้าบาติกใน หลักฐานสำคัญที่มาพร้อมกับผ้าบาติก ซึ่งจะมีรอยของเข็มหมุดที่หมุดกับตัวผ้าเอาไว้ ซึ่งเราได้ค้นพบว่าผ้าคอลเลกชั่นนี้ไม่ใช่ผ้าที่พระองค์ทรงซื้อทั้งหมด  เพราะมีป้ายคำอธิบายอยู่หนึ่งใบที่บอกว่า ผ้าตัวอย่างลายอย่างสูงห้ามมิให้ราษฎรใช้ในเมืองโดยกยา(เมืองยอกยาการ์ต้า)  ที่ถวายโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง

ผ้าบาติกลายสิริกิติ์ 
    ศาสตรัตน์ เล่าต่อว่า ในห้องแรกจะให้เป็นสีโทนร้อน เพราะผ้าบาติกที่มาจากชวาตะวันตก เมืองจิเรบอน ที่นับว่าศูนย์กลางการทำผ้าบาติกที่สำคัญแห่งหนึ่งในแถบชวาตะวันตก และด้วยเป็นเมืองท่า ทำให้มีการติดต่อค้าขายกับจีนมากเป็นพิเศษ จึงมีโรงเขียนผ้าที่เป็นชาวจีนและชาวชวาเชื้อสายจีนอยู่หลายแห่ง เอกลักษณ์ของเมืองนี้คือพื้นหลังสีอ่อน และลวดลายย้อมด้วยสีเข้ม  ได้แก่ แดงและน้ำเงิน(รวมถึงสีม่วงเข้ม) หรือสีน้ำตาลและสีน้ำเงิน  ที่มีไฮไลท์อย่าง ผ้าโพกศีรษะ(อิแกต เคพาลา) หรือที่เรียกว่าปราดา ผ้าเขียนทอง ซึ่งผืนนี้เป็นผืนเดียวที่พบว่ามีการเขียนทองอย่างชัดเจนมากที่สุด ซึ่งผืนอื่นจะมีการพบในลักษณะของกาวที่เอาไว้โรยผงทอง และแท๊กที่ติดมากับผ้าตั้งแต่ในสมัยนั้น ที่ระบุชัดเจนว่า ผ้าโพกเขียนทอง  อีกผืนผ้านุ่ง (โสร่ง) บริเวณหัวผ้าเขียนลายนกสลับกับลายนกคู่ อยู่ท่ามกลางลายพรรณพฤกษา สื่อถึงความหมายอันเป็นมงคล หากย้อมด้วยสีแดงสามารถใช้ในโอกาสงานแต่งงานได้ แต่ผ้าบาติกผืนนี้ใช้โทนสีน้ำเงินและขาว ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในโอกาสไว้ทุกข์จึงสันนิษฐานว่า เป็นผ้านุ่งสำหรับเจ้าสาวในคืนก่อนวันที่จะย้ายออกจากบ้านไปอยู่กับครอบครัวเจ้าบ่าว

ผ้าบาติกลายลิกาโด 
    ถัดมาในแถบชายฝั่งตอนเหนือของชวากลาง  ภัณฑารักษ์ ได้เล่าอีกว่า หรือในเมืองลาเซ็ม ผ้านุ่ง(โสร่ง) แบบบัง บังงัน ที่หมายถึงผ้าที่ย้อมด้วยสีแดงเพียงสีเดียว ซึ่งคาดว่าเป็นโรงเขียนชาวจีน  ที่เขียนลายด้วยมือและย้อมสีธรรมาติบนผ้าฝ้าย ที่แสดงถึงความความเชื่อ อย่างลายม้าที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าที่สื่อถึงผู้ที่สวมใส่เพื่ออวยพรให้ลูกชายสอบผ่านจอหงวน ถัดมาเมืองเปอกาลองงัน ผ้านุ่ง(โสร่ง)ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ สันนิษฐานว่ามาจากโรงเขียนนาง เอ.เจ.เอฟ. ยานส์ ชาวดัชต์  ซึ่งเอกลักษณ์จะอยู่ที่บริเวณหัวผ้าและท้องผ้า และการเขียนสีพาสเทล รัชกาลที่ 5 ทรงมีผ้าจากโรงเขียนนี้ 8 ผืน ปัจจุบันลายดอกไม้ลักษณะนี้รู้จักกันในชื่อ บูเกต์  

ผ้าโพกศีรษะ(อิแกต เคพาลา) หรือที่เรียกว่าปราดา


     ส่วนผืนที่คาดว่ามีอายุมากที่สุดในคอลเลกชั่นกว่า 100 ปี คือผ้านุ่ง(โสร่ง) ที่ข้อสันนิษฐานว่ามาจากโรงเขียนผ้าของนางแคโรสินา โจเซฟินา วอน แฟรงเคอมองต์ เมืองเซมารัง ชวากลาง อีกข้อสันนิษฐานคือ รัชกาลที่ 5 ทรงซื้อผ้าบาติกผืนนี้เมื่อคราวเสด็จเยือนชวาครั้งแรกปี 2413 คาดว่าผ้าผืนนี้ผลิตเพื่อขายให้ลูกค้าชาวชวาเชื้อสายจีนและเชื้อสายยุโรป ด้วยลวดลายที่มาจากความเชื่อเรื่องสวนอีเดน เช่น งูและเถาองุ่น หรือจากความเชื้อของจีน เช่นผีเสื้อและตะขาบ 

ผ้านุ่ง(โสร่ง) แบบบัง บังงัน 

ผ้านุ่ง (โสร่ง) ลายนกสลับกับลายนกคู่ 
    ในส่วนห้องที่สองเป็นแถบชวากลาง  ภัณฑารักษ์ บอกว่า แบ่งเป็นผ้าบาติกที่ใช้ในราชสำนักและใช้ทั่วไป ผ้าบาติกที่ใช้ในราชสำนักนั้นจะใช้สีที่มีคุณภาพในการผลิต และใช้ที่มีฝีมือในการเขียน ส่วนลายทั่วไปก็จะมีลายคล้ายแต่จะมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เหมือน อย่าง เมืองยอกยาการ์ตา ที่มีมีลายผ้าบาติกเฉพาะตัว และมีเอกลักษณ์ในการย้อมคราม และส่วนใหญ่เป็นผ้าไม่มีเชิงหรือขอบ ทำให้เดียวทั้งผืน อาทิ ผ้าบาติกลายลิกาโด เป็นลายที่แสดงให้ถึงศิลปะของญี่ปุ่นที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในเกาะชวา ซึ่งเป็นลายของพัดในแบบที่ต่างๆ บริเวณท้องผ้า พื้นหลังเป็นกาวุง ลายดั้งเดิมของชาวชวากลาง ที่มีความปราณีตงดงาม 

ผ้าบาติกที่สงวนใช้ในพระบรมศานุวงศ์ ผ้าคาดอกงลายเซเมน อาลิค(ด้านบน)- ลายรูจัก ซองเต(ด้านล่าง) 


    ผ้าบาติกที่มาจากโรงเขียนของ นางแวน ลาวิก แวน แพบสต์ ชาวดัตช์เชื้อสายจีนผ้าจากโรงเขียนนี้มีชื่อเสียงอย่างมาก นิยมใช้ในหมู่ชาวยุโรปและชาวชวาเชื้อสายยุโรปในแวดวงสังคมชั้นสูง  เพราะผลิตผ้าบาติกที่สวยงามและมีคุณภาพสูง ใช้เทคนิคการทำที่ซับซ้อน มีการลงขี้ผึ้งลวดลายทั้งสองด้านของผ้า สีน้ำเงินที่ใช้ย้อมก็สว่างสดใสเป็นธรรมชาติ ขณะที่สีน้ำเป็นสีน้ำตาลโซกะที่เป็นเอกลักษณ์ จากการลงพื้นที่พบว่าในพิพิธภัณฑ์โทแป้น ที่ประเทศเนเธอแลนด์ มีผ้าตัวอย่างลาย ไซต์ 100x100 ของโรงเขียนแห่งนี้จัดแสดงเยอะมาก แต่ รัชกาลที่ 5 ทรงมีผ้าติกของโรงเขียนนี้สะสมถึง 43 ผืน และเป็นแบบเต็มผืนอย่างผ้าโสร่ง  ส่วนที่จัดแสดงจะมีที่สงวนใช้ในพระบรมศานุวงศ์ อย่างผ้าคาดอกลายเซเมน อาลิค ที่สื่อความหมายถึงการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยลายปีกครุฑ หรือลายอื่นๆที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ อย่าง ดอกไม้ สัตว์ ภูเขา 

ผ้านุ่ง จากโรงเขียนผ้าของนางแคโรสินา โจเซฟินา วอน แฟรงเคอมองต์ 


    อีกผืนแบบเดียวกัน คือลายรูจัก ซองเต ลายนี้เป็นกลุ่มลายนิ้วในแนวทแยง ในหนึ่งจะประกอบด้วยหลายลายสลับกัน อีกส่วนคือผ้านุ่ง ซึ่งเป็นลายปารัง ซิงเดย์ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของกริช มักทำเป็นลักษณะของแถวในแนวทแยง แต่ละแถวจะแทรกด้วยสี่เหลี่ยนขนมเปียกปูนขนาดเล็ก ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังอำนาจและความแข็งแกร่ง ขุนนางชั้นสูงสามารถใส่ลายนี้ได้ด้วย และอีกลายที่อยู่ข้างกันคือลายจัมบลัง ที่มีรูปทรงคล้ายตะกร้าสาน ที่สื่อความหมายถึง ตะกร้าแห่งคำแนะนำที่ดี สีเหลืองของพื้นหลังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของผ้าบาติกจากเมืองบันยูมาส ที่นิยมย้อมสีเหลืองแบบนี้ 

ผ้านุ่งจากโรงเขียนนาง เอ.เจ.เอฟ. ยานส์ ชาวดัชต์  
    อีกหนึ่งเมืองในคอลเลกชั่นครั้งเมืองสุราการ์ตา มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือจะเป็นสีน้ำตาล แบบโซกะ บราว ซึ่งโซกะนั้น ทำมาจากเปลือกต้นนนทรี และจะสังเกตได้ว่าผ้าจากเมืองนี้จะมีลายเต็มพื้นไม่ปล่อยให้มีพื้นที่วางของผ้า ถัดมาจากเมืองนี้ คือผ้าบาติกลายสิริกิติ์ จากเมืองยอกยาการ์ตา ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากสมาคมผ้าบาติก เชอการ์ จากาด โดยดร.ลาราสาติ สุไลมาน ให้นำมาจัดแสดง ซึ่งเป็นลายเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการเสด็จพร้อมกับในหลวงรัชกาลที่ 9 เยือนอินโดนีเซีย เมื่อกุมภาพันธ์ 2503  ในส่วนลายบนผืนผ้าซึ่งเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความงาม จากแรงบันดาลใจความงามของพระบรมราชชนนีพันปีหลวงฯ และโรงเขียนไหนที่จะทำลายนี้ขายต้องมีการลงทะเบียนด้วย และทางทีมงานก็เพิ่งทราบว่าผ้าบาติกลายนี้ในตอนลงพื้นที่ทำการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นผ้าที่ร่วมสมัย


    นอกจากนี้ทางสถานทูตอินโดนีเซียฯ ยังได้จัดกิจกรรม เขียนลายผ้าบาติกแบบชวา จากช่างผู้เชี่ยวชาญจากเมืองยอกยาการ์ตาที่สิ้นสุดไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา 

กิจกรรม เขียนลายผ้าบาติกแบบชวา
    สามารถเข้าชมนิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราช: สายสัมพันธ์สยามและชวา ชุดที่ 2 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ ห้องจัดแสดง 3-4 พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมเวลา 15.30 น. บัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ ราคา 150 บาท ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ราคา 80 บาท นักเรียนหรือนักศึกษา (โปรดแสดงบัตรประจำตัว) และเด็กอายุ 12-18 ปี ราคา 50 บาท  เด็กอายุต่ำว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"