MOU16 องค์กรภาคีเครือข่ายTobacco End Game 13th APACT2020 Bangkok


เพิ่มเพื่อน    

 

แพทยสมาคมฯ จับมือ สสส. รวม 16 องค์กร เป็นเจ้าภาพ 13th APACT 2020 Bangkok สังคมโลกปลอดบุหรี่ เชิญชวนแพทย์สมาคมฯ จาก 40 ประเทศ 1,000 คนร่วมประชุมที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ 2-4 ก.ย. ด้วยจุดมุ่งหมาย Tobacco End Game Tobacco Free World Clean the Air Free the Nature MOU 16 องค์กรภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

               

ปัญหาพิษภัยจากการสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขใหญ่ที่สุดติดอันดับโลก ในช่วงศตวรรษที่ 20 บุหรี่คร่าชีวิตประชากรโลกมากถึง 100 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่ร่ำรวย ขณะนี้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศร่ำรวยจนถึงประเทศยากจนที่จะต้องร่วมมือแก้ไขปัญหา คนจำนวน 7 ล้านคนเสียชีวิตจากบุหรี่ และยังมีอีก 1.2 ล้านคนเสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งมีจำนวนสูงยิ่งกว่าคนที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ละประเทศต้องใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อรักษาผู้ป่วยทำให้เสียโอกาสของครอบครัว สังคม ทั้งนี้ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศปลอดบุหรี่ และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงในประเทศไทยได้เหลือร้อยละ 15 ในปี 2586

 

               

.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานจัดการประชุม 13th APACT 2020 Bangkok กล่าวถึงพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดประชุม บุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (Asia Pacific Conference on Tobacco or Health : APACT 2020 ที่ห้องสัมมนา 4-6 ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตร โดยเป็นการประชุมเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบอย่างยั่งยืนและสุขภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

               

สักขีพยานภาคีเครือข่ายทั้ง 16 องค์กรพันธมิตร ดังนี้ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส., นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานจัดการประชุม APACT 2020, ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภาฯ, สุพัตรา จิราธิวัฒน์ รอง กก.ผจก.ใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บ.กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย รองประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่, นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผอ.สำนักอนามัย, รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, รศ.ดร.นพวรรณ เปียซื่อ รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี, อาพัทธ์ วิชิตะกุล ผู้ช่วยผจก.ใหญ่ ผู้บริหารสำนักงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์, วิชญา สุนทรศารทูล รอง ผอ.สายงานบริหาร สสปน.

               

นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ผอ.สำนักงานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมปลอดบุหรี่, รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา เลขาธิการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ, บังอร ฤทธิภักดี Director of Global for Good Governance in Tobacco Controk  Senior Advisor of South East Asia Tobacco Controk Alliance มูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA), Global Center for Good Governance in Tobacco Control (GGTC), ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วย ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ

               

.นพ.รณชัยกล่าวว่า การจัดประชุม APACT 2020 ในระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2563 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถือเป็นครั้งที่สองที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดร่วมกับ 15 องค์กรพันธมิตร กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แพทยสมาคมฯ ฯลฯ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คนจาก 40 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนเพื่อให้สังคมปลอดบุหรี่จากนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมมีการนำเสนอข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบและสุขภาพต่างๆ และการจัดนิทรรศการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การรับมือผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ การผนึกเครือข่ายเพื่อสังคมปลอดบุหรี่ในระดับสากล การเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมกำหนดสังคมแห่งสุขภาวะ

               

การจัดประชุม APACT ครั้งแรกเมื่อ 31 ปีก่อนที่ประเทศไต้หวัน ไทเป เบื้องหลังการแข่งขันจัดประชุมระดับโลกในเมืองไทย เพราะ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ให้คำแนะนำ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าไทยควรเข้าแข่งขันด้วยมีประสบการณ์และมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APACT ครั้งที่ 13 โดยมีอาจารย์ผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนและ สสปน.ให้งบประมาณ เพื่อนำเสนอข้อมูลโน้มน้าวคณะกรรมการฯ จาก 10 ประเทศสนับสนุนไทย และเป็นที่รับรู้ว่าประเทศเกาหลีใต้เตรียมพร้อมที่จะจัดที่กรุงโซล แต่เมื่อไทยนำเสนอคณะกรรมการฯ 15 นาที คณะ กก.สนับสนุนและประเทศเกาหลีใต้ขอถอนตัว เราได้รับความร่วมมือจากสุพัตรา จิราธิวัฒน์ รอง กก.ผจก.ใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บ.กลุ่มเซ็นทรัล ให้สถานที่จัดงาน

               

“การเตรียมความพร้อมการจัดประชุม แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จึงได้จัดจัดทำบันทึกข้อตกลงในการการจัดประชุมร่วมกับ 15 หน่วยงานพันธมิตร เพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปยังสาธารณชนว่า แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จะร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรอย่างเข้มข้น ในการเดินหน้าส่งเสริมการขับเคลื่อนเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เพื่อยกระดับชุมชนไปสู่สังคมเพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป” ศ.นพ.รณชัยกล่าว

 

              

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามีประชากรที่ยังสูบบุหรี่อยู่ถึง 10.7 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งในระดับครัวเรือนและระดับรัฐรวมกันถึงปีละ 1 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์ภาพรวมจะเริ่มดีขึ้น แต่พบปัญหาการส่งเสริมการขาย การใช้ช่องทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดนักสูบหน้าใหม่อยู่ตลอดเวลา อาทิ การขายบนช่องทางออนไลน์ การออกผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่อย่างบุหรี่ไฟฟ้า และการบิดเบือนว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งที่ปัจจุบันมีการรายงานผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยจากการสูบบุหรี่จากหลายประเทศ และบางประเทศได้เริ่มมีมาตรการห้ามจำหน่ายแล้ว

               

“ปัญหาผลกระทบจากยาสูบไม่อยู่แค่ในประเทศ แต่เป็นปัญหาข้ามพรมแดน ในการประชุม APACT 2020 นี้ สสส.พร้อมสนับสนุนทั้งข้อมูลวิชาการในการผลักดันนโยบาย และภาคีเครือข่ายที่มีประสบการณ์การทำงานรณรงค์สังคมปลอดบุหรี่ทั้งในประเทศและนานาชาติ เพื่อมาแลกเปลี่ยน สังเคราะห์องค์ความรู้ หามาตรการควบคุมและป้องร่วมกับนานาชาติให้สังคมปลอดบุหรี่” ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าว

               

ขณะนี้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่ามีมาตรการควบคุมยาสูบอยู่ในระดับต้นๆ ของอาเซียน แนวโน้มการบริโภคยาสูบลดลงเรื่อยๆ ตัวเลขสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2560 คนไทยสูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน ลดลงทั่วประเทศจากปี 2558 จำนวน 2 แสนคน ทั้งนี้ เพราะทุกภาคีเครือข่ายทำงานประสบความสำเร็จ เป็นที่น่ายินดีด้วยว่าคนสูบบุหรี่ในหลายประเทศลดจำนวนลง ในอังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี แต่ก็อย่าได้ชะล่าใจ เพราะขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้ามีความเชี่ยวชาญทางการตลาดมาก เข้าถึงกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มนักสูบหน้าใหม่ ขณะเดียวกันงานวิจัยทางการแพทย์ก็ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลที่จะให้ข้อสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยหรือไม่

               

รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา เลขาธิการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ในฐานะนักวิชาการการจัดประชุม APACT 2020 ด้วยแนวคิดยุติการบริโภคยาสูบโดยสมบูรณ์เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ด้วยกลยุทธ์ผลักดัน ภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำแคมเปญการตลาดผ่าน Social Media มีงานวิจัยรองรับการประชุมประจำปีเป็นเรื่องสำคัญมาก ด้วยแนวคิด WHO ในช่วง ดร.มากาแร็ต แชร์ เสนอแนวคิดที่ล้ำหน้ากว่าธุรกิจยาสูบ เพราะเดิมๆ จะคิดต่ำกว่าธุรกิจยาสูบ 1 ก้าว เนื่องจากธุรกิจบุหรี่มีงบมหาศาลในการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดที่มีฝีมือ ในขณะที่หน่วยงานควบคุมยาสูบจะเป็นนักวิชาการบางครั้งก็ตามนักการตลาด ไม่ทันแนวคิดการควบคุมยาสูบ จึงเป็นแบบเดิมๆ

               

พฤติกรรมการบริโภคยาสูบทั่วโลกใน 197 ประเทศ มีจำนวนหมื่นล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลก ประเทศจีนครองแชมป์สูบบุหรี่สูงสุดของโลกเป็นจำนวนครึ่งประเทศ ประเทศอินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตยาสูบที่สำคัญที่สุดในโลก ทำให้ถูกครอบงำโดยธุรกิจยาสูบ ประเทศอินโดนีเซียเป็น 1 ในหลายประเทศที่ไม่ลงนามสนธิสัญญา FCTC ลดการบริโภคยาสูบ เพราะ บ.บุหรี่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลเป็นอย่างมาก ประเทศอินเดียบริโภคยาสูบแบบเคี้ยวและคายทิ้ง คล้ายกับหมากและหมากฝรั่ง ประเทศในกลุ่มแอฟริกาสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือมีจำนวนการบริโภคบุหรี่ต่ำมาก คนจนมีแนวโน้มสูบบุหรี่สูงกว่าคนมีฐานะ บางครั้งใช้ใบไม้มวนยาสูบเอง

               

ด้วยกลยุทธ์ 1 ก้าว ล้ำหน้าธุรกิจยาสูบ ยุติไม่ให้เด็กรุ่นใหม่ใกล้ชิดสัมผัสผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีนโยบายการตลาดที่แยบยล ยาสูบแบบดั้งเดิมสู่บุหรี่ไฟฟ้า มีความทันสมัย ล้ำยุค ถูกใจกลุ่มวัยรุ่นเยาวชน    ทั้งๆ ที่เป็นอันตราย บุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในเมืองไทย 5 ปีที่แล้ว ส่วนต่างประเทศเป็นเวลา 7 ปี แต่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิด กม. ในเมืองไทยต้องลักลอบซื้อขาย แต่เมื่อมีการสำรวจเด็กในเมืองจำนวน 1 ใน 3 เคยทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า จึงเป็นสัญญาณอันตรายและน่ากลัวกว่าบุหรี่มวน ถ้าประเทศไทยเปิดขายเสรีบุหรี่ไฟฟ้าก็น่าเป็นห่วงเยาวชนไทยจะเข้าถึงได้ง่ายมาก

               

การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันปิดเกมธุรกิจยาสูบในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเป็นต้นแบบด้วยการร่วมมือกันทางวิชาการ ผลักดันและพลิกโฉมการควบคุมยาสูบก้าวใหม่ที่เข้มแข็งมาก www.apact2020.com


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"