หาเวลาผ่อนคลายให้ตัวเอง เทคนิคสูงวัย"จิตฟิตสุขภาพดี"


เพิ่มเพื่อน    

(ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร)

 

      เป็นวัยเก๋าที่เรียกได้ว่าครบเครื่องทั้งความรู้ความสามารถในหน้าที่การงานและการดูแลสุขภาพ ในวัย 70 ปีของ ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตากันดีในบทบาทก่อนหน้านั้นอย่าง ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กระทั่งล่าสุดกับบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาสรรหา หรือ ส.ว. ที่งานนี้เจ้าตัวบอกให้ฟังว่า นอกจากการทำงานในช่วงวัยหลัก 7 แล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้คือการหาเวลาว่างในการพักผ่อนและดูแลตัวเอง เพราะอารมณ์ที่แจ่มใสเบิกบานด้วยการใช้วันว่างไปกับการดูคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศนั้น ย่อมสร้างความผ่อนคลายได้ไม่น้อย เพราะเจ้าตัวการันตีว่าเสียงดนตรีสามารถบำบัดความเครียดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เจ้าตัวก็ไม่ลืมที่จะดูแลสุขภาพด้านอื่นๆเช่นเดียวกัน เพราะการที่จะเป็นวัยเก๋าอย่างมีพลังนั้น การดูแลสุขภาพให้แข็งคือใบเบิกทางสำคัญที่จะทำให้อายุของเรายืนยาวยิ่งขึ้น

      ส.ว.ฉวีรัตน์ บอกให้ฟังว่า “เคล็ดลับของการอายุยืนแบบสุขภาพดีนั้น ก็ต้องให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย แม้ว่าการทำงานของเจ้าตัวจะค่อนข้างรัดตัว และทำให้ต้องกลับบ้านเย็นทุกวัน แต่อย่างน้อยๆ เจ้าตัวก็ขอขยับร่างกาย โดยการยืนแกว่งแขนวันละ 5-10 นาที หรือทำท่ากายบริหารประมาณ 10 ท่าอย่างน้อยๆประมาณ 5 นาที และที่สำคัญจะชอบการเดินไปไหนมาไหน เพราะนั่นเท่ากับว่าได้ออกกำลังกายไปด้วยในตัว แม้ว่าจะไม่ได้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันในเลือด แต่ก็จะมีบ้างคือการเป็นโรคความดันโลหิต ซึ่งก็พบแพทย์เป็นประจำ และไม่มีเรื่องที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้มองว่าการขยับเขยื้อนร่างกายในทุกครั้งๆ ที่โอกาสเอื้ออำนวย ถือว่าเราก็ไม่ละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพค่ะ แม้ว่าจะมีค่อนข้างรัดตัวก็ตาม

      สำหรับการเลือกรับประทานอาหารนั้น ก็ต้องเลือกให้ถูกสุขลักษณะ เพราะนอกจากการเลือกรับประทานผักและปลาที่ย่อยง่าย อีกทั้งโปรตีนสูงแล้ว การที่เราเลี่ยงอาหารมันจัดก็ทำให้เราไม่มีปัญหาเรื่องของคอเลสเตอรอล แม้ว่าพี่จะเป็นคนรูปร่างท้วมก็ตามค่ะ นอกจากนี้ก็จะเลี่ยงกินอาหารที่สุกๆ ดิบๆ อย่างลาบหมู ก้อยเนื้อ เพราะถือเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และอาจทำให้เจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ง่าย ก็จะไม่บริโภคอาหารเหล่านี้เช่นกันค่ะ

      การดูแลจิตใจของพี่นั้น พี่จะไปวัดตามโอกาสสำคัญๆ และเวลาที่ไปก็มักจะไปทำบุญและทำสังฆทาน แต่จะสวดมนต์ทุกวันค่ะ โดยนั่งสวดมนต์ในรถยนต์เวลาที่ออกมาทำงาน และพอถึงที่ทำงานเราก็จะสวดได้บทหนึ่งแล้ว เวลาที่ได้สวดมนต์มันทำให้ใจของเรารู้สึกนิ่งและสงบมากขึ้น ทำให้เราสามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาได้อย่างรู้สติ นอกจากนี้การทำบุญโดยการบริจาคโลงศพเป็นประจำทุกเดือน โดยจะมีน้องๆ ที่ทำงานมารวบรวมเงินไปทำบุญให้เราทุกๆ สิ้นเดือนค่ะ และเขาก็จะเอาบิลเงินที่ทำบุญมาให้เรา ก็ถือเป็นการทำกุศลตามอัตภาพของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องทำบุญที่ใหญ่โตมโหฬาร แต่ต้องทำตามกำลังของเรา เพียงแค่นี้เราก็มีความสุขแล้วค่ะ

      ส่วนการรับมือกับความเครียดที่เข้ามาจากการทำงาน หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั้น พี่จะหาวิธีผ่อนคลายโดยการไปดูคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศ พี่ฟังได้หมดทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตสุนทราภรณ์, สุเทพ วงค์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร หรือนักร้องรุ่นน้องอย่าง แจ้-ดนุพล หรือแม้แต่คอนเสิร์ตนักร้อง AF พี่ก็ไปค่ะ เพราะอย่าลืมว่าดนตรีนั้นสามารถบำบัดความเครียดให้กับเราได้ ที่สำคัญเป็นการสร้างความผ่อนคลายหลังจากที่เลิกงานแล้ว เพราะการแสดงดนตรีส่วนใหญ่นั้นมักจะเริ่มในเวลาเย็นหลังเลิกงานค่ะ”

      ถามถึงการทำงานในวัยหลัก 7 กันบ้าง ดร.ฉวีรัตน์ บอกให้ฟังว่า “ตอนนี้อายุ 70 ปีแล้วก็ยังทำงานอยู่อาทิตย์ละ 5 วัน ซึ่งตำแหน่งล่าสุดตอนนี้คือเป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ซึ่งงานที่ทำก่อนหน้านี้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริหาร แต่งานปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ ที่เข้ามาในสภา ซึ่งเราต้องศึกษาในเรื่องนี้ และรูปแบบการทำงานนั้นจะมีลักษณะเป็นช่วงๆ แต่ว่าไปทำงานทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ขณะที่เมื่อก่อนนั้นงานบริหาร เราจะทำเช้าจรดเย็นเสียเป็นส่วนใหญ่ค่ะ แต่สิ่งสำคัญนั้นการที่เมื่อเข้าวัย 70 ปีแล้ว เรายังทำงานอยู่สิ่งที่ได้นั้น ต้องเรียนว่าจากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา เราจะใช้วิทยายุทธ์ตรงนั้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาในงานที่ทำปัจจุบัน เช่น เวลาที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เราก็จะแก้ไขปัญหาด้วยสติและปัญญา ที่สำคัญก็จะต้องศึกษาก่อนว่า ถ้าเราแก้ปัญหาแบบนี้มันจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน ซึ่งการที่เราคิดแบบนี้ มันก็ทำให้เป็นคนที่คิดรอบคอบในการรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”

      พี่ฉวีรัตน์ ทิ้งท้ายกันที่สิ่งที่เป็นห่วง และอยากฝากบอกลูกชายบุญธรรมวัย 16 ปี ที่ปัจจุบันอยู่โรงเรียนประจำ และกลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง ว่า “สำหรับเรื่องการเรียนนั้น ไม่ได้คาดหวังว่าลูกชายจะต้องเรียนเก่งดีเลิศ แต่สิ่งสำคัญขอให้เขาเป็นเด็กดี เพราะอันที่จริงแล้วถ้าเขาเรียนไม่เก่งก็ไม่ผิดอะไร แต่ทั้งนี้เขาจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และเป็นเด็กดี เพียงแค่นี้ในฐานะคนเป็นแม่ก็รู้สึกภาคภูมิใจแล้วค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"