งานวิจัยระบุผงชูรส (MSG) อาจช่วยผู้มีภาวะสมองเสื่อม


เพิ่มเพื่อน    


    ขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยกำลังเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอวัยวะของมนุษย์ ผู้คนต่างมีอายุที่ยืนยาวขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมา ความก้าวหน้าทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้เปลี่ยนโรคต่างๆ ที่เมื่อก่อนเคยถูกมองว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต ให้กลายเป็น "ภาวะเรื้อรัง" ที่เราสามารถมีชีวิตอยู่กับโรคได้เป็นเวลาหลายทศวรรษ ผลลัพธ์หนึ่งของความก้าวหน้านี้คือ ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงภาวะด้านสุขภาพที่ปกติจะรุมเร้าเราในอดีตมีภาวะที่ดีขึ้น เช่น โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ รวมถึงโรคภาวะสมองเสื่อม กลับมีภาวะที่ดีขึ้น
    ความเสี่ยงของโรคภาวะสมองเสื่อมนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่า ร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยโรคนี้จะเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าอัตราการเกิดของภาวะสมองเสื่อมนั้นจะสูงขึ้นเช่นกัน โดยจะเพิ่มขึ้นจาก 47 ล้านรายในปี พ.ศ.2558 เป็น 131 ล้านรายในปี พ.ศ.2593
    ภาวะสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อทั้งชุมชน ไม่เฉพาะผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเท่านั้น คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อมอยู่ที่ประมาณ 818,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2558 และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.5 เท่าในปี พ.ศ.2573 ดังนั้นจึงต้องมีการค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่นำไปสู่การลดภาระที่มีต่อบุคคลและต่อสังคมลง


    เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์บทความหนึ่งที่น่าตื่นเต้นและอาจสร้างให้เกิดความประหลาดใจอย่างมากในวารสารโภชนาการทางคลินิกในสหภาพยุโรป (European Journal of Clinical Nutrition) นักวิจัยจาก Tottori University ในญี่ปุ่นได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานกับภาวะสมองเสื่อมที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านประโยชน์ของ MSG
    การศึกษาวิจัยนี้มีการแยกผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม 159 รายเป็น 2 กลุ่ม โดยที่กลุ่มแรกมีผู้ป่วย 80 รายได้รับอาหารที่เติมเกลือเข้าไป 0.26 กรัม (3 มื้อ/วัน) และอีกกลุ่มมีผู้ป่วย 79 รายได้รับอาหารที่เติม MSG เข้าไป 0.9 กรัม (3 มื้อ/วัน) โดยกำหนดปริมาณที่เติมเข้าไปตามปริมาณเกลือโซเดียมเทียบเท่ากับปริมาณที่รับเข้าไปในแต่ละวันสำหรับแต่ละกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตอบแบบสอบถาม และทดสอบอาการทางการรับรู้ทั้งก่อนและหลังการทดลองที่มีระยะเวลา 12 สัปดาห์ และหลังจากนั้น 4 สัปดาห์ในระหว่างการประเมินเพื่อติดตามผล
    ในการติดตามผล นักวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ MSG แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่สูงกว่าสำหรับการทดสอบความสามารถด้านการรับรู้ โดยรวมเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเกลือ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าผลการทดสอบด้าน "การจดจำคำ" และ "การจดจำเวลา" สูงกว่าอีกด้วย
    มีการพิจารณาว่าการสูญเสียความอยากอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการลุกลามของภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุ มีการตั้งสมมติฐานว่าความสามารถในการรับรสอูมามิอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และปัจจัยนี้ส่งผลให้ไม่มีความสุขในการรับประทานอาหาร ในการศึกษาวิจัยนี้ การเติม MSG ที่เพิ่มการรับรสอูมามิในอาหารนั้น จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และช่วยเพิ่มการรับรู้ในผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วย การศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้รสอูมามิอาจช่วยยับยั้งการลุกลามของภาวะสมองเสื่อม และนักวิจัยต่างเชื่อว่าการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอาจแสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกที่มีต่อการเริ่มต้นของโรคด้วย
    แม้ว่ามีผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้นและมีความหวังอย่างมาก แต่การวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น นักวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าทำไม MSG ถึงมีผลในทางบวกต่อความสามารถในการรับรู้ และมีผลอย่างไร.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"