หอศิลป์บ้านเกิด “กมล ทัศนาญชลี”  


เพิ่มเพื่อน    

 
    ใจกลางชุมชนซอยเทียมบุญยังที่หนาแน่นไปด้วยบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัย บ้านเลขที่ 111/1  ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ  หลังนี้คือบ้านเกิดของ ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และประธานสภาศิลปกรรมไทยแห่งสหรัฐอเมริก และยังเป็นศิลปินไทยเพียงหนึ่งเดียว ที่ผลงาน Buddha’s Footprint ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์โลก(Gardner's Art Through The Ages) จึงได้ชื่อว่าเป็นศิลปินสองซีกโลก เพราะความเชี่ยวชาญด้านงานศิลปะ จากการบ่มเพาะในครอบครัวของบรมครูช่างศิลป์ หรือช่างสิบหมู่ ทำให้ดร.กมลได้เรียนรู้ศิลปะไทยในทุกแขนง จนมีความเชี่ยวชาญ และมีความมุ่งมั่นที่จะสืบสานงานศิลปะ 

 ด้านนอกหอศิลป์


    ย้อนกลับไปในสมัยที่ ดร.กมล เป็นนักเรียนเพาะช่าง ก็มีห้องทำงานศิลป์เป็นของตนเอง เมื่อสำเร็จการศึกษา ก็เริ่มมีความสนใจศิลปะสากลจึงได้สร้างสตูดิโอเปิดสอนศิลปะให้ชาวต่างชาติกว่า 4 ปี  จนได้ทุนเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา  ค้นหาจุดยืนในการทำงานศิลป์ จนประสบความสำเร็จ และได้อาศัยอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน  ได้สร้างสตูดิโอสอนศิลปะที่ต่างประเทศด้วย เมื่อเดินทางกลับมาเมืองไทยก็ได้ปรับปรุงสตูโอสอนศิลปะเดิมที่บ้านเกิด  ให้เป็นรูปแบบหอศิลป์  3 ชั้น  เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น ตลอดการทำงานศิลป์มากว่า 60 ปี  และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะสำหรับเยาวชนในหมู่บ้านและเยาวชนที่สนใจ บุคคลทั่วไป ได้เข้ามาชมผลงาน และได้เวิร์คช้อปศิลปะด้วย โดยเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

อ.กมล นำชมผลงานภายในหอศิลป์


    นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ดร.กมล ทัศนาญชลี มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทยทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมศิลปิน นักวิชาการศิลปะของไทยในการศึกษาและหาประสบการณ์ในต่างประเทศ โดยเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ศิลปกรรมไทยและสภาศิลปกรรมไทย เพื่อการเผยแพร่ศิลปะไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา  เพื่อสืบสานให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแก่เยาวชนคนรุ่นหลัง จึงได้เปิดพื้นที่ของบ้านแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาทางด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จึงนับได้ว่าเป็นคุณประโยชน์ด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทยอย่างกว้างขวาง


    คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กล่าวเสริมว่า บ้านศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งสั่งสมองค์ความรู้ภูมิปัญญา และเป็นสถานที่ที่สร้างผลงานอันล้ำค่า และเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์ สมควรที่จะสนับสนุน เผยแพร่ให้เป็นแหล่งศึกษา สร้างเสริมทักษะและถ่ายทอดประสบการณ์จากศิลปินแห่งชาติ ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ของชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งอนุรักษ์และสืบสานมรดกศิลป์ให้คงอยู่คู่ชุมชนและสังคมสืบไป

แสดงฝีมือในวันเปิดหอศิลป์


    ในเส้นทางการเป็นศิลปิน ดร.กมล ทัศนาญชลี เล่าว่า เพราะเกิดมาในตระกูลช่างสิบหมู่ จึงทำให้ได้เรียนรู้และฝึกทำงานศิลป์ในหลากหลายแขนง และตั้งแต่เด็กก็ตั้งใจมั่นที่จะสืบสานงานศิลป์ไทยนี้  เพราะในสมัยนั้นหาคนวัยหนุ่มสาวที่จะเรียนรู้ยาก ซึ่งในระหว่างการเรียนตนก็เปิดสตูโอสอนศิลปะให้กับชาวต่างชาติ พร้อมกับฝึกภาษาไปด้วย เพราะในตอนนั้นเริ่มมีความสนใจในศิลปะที่มีความเป็นสากล จนได้ทุนไปศึกษาต่อด้านศิลปะที่สหรัฐอเมริกา สถานที่ที่ทำให้ตนต้องต่อสู้กับโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น เพื่อค้นหาจุดยืนของผลงาน เพราะในต่างประเทศนับว่าการแข่งขันสูงมาก จนกระทั่งได้เจอแนวทางที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้อยู่บนจิตวิญญาณของความเป็นไทย สื่อสารผ่านปรัชญาทางความคิด ที่มีความเป็นสากล ทำให้ผลงานที่ออกมาไม่เหมือนใคร ซึ่งนั้นทำให้ได้เดินบนเส้นทางศิลปะได้อย่างยาวนาน ไม่ต้องเขียนรูปเพื่อขายอย่างเดียว แต่ทำให้คนอยากมาซื้อผลงานของเพราะเข้าใจคอนเซปต์และชอบในตัวตนของศิลปิน


    “สิ่งสำคัญในการเป็นศิลปินที่ผมปฏิบัติมาตลอดคือ การไม่ยุ่งเกี่ยวกับไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวสถานบันเทิงกลางคืน และทำงานได้ทุกที่ไม่เกี่ยง แม้ในยามที่อุปกรณ์ไม่พร้อม หรือสีมีไม่ครบก็ตาม อีกหนึ่งข้อคือ ความจริงใจในการทำงาน  และนี่คือสิ่งที่ผมคอยพร่ำสอนให้กับเยาวชนที่อยากจะเป็นศิลปินเช่นกัน  ปัจจุบันแม้ผมจะต้องเดินทางไปสอนให้ความรู้ทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่ประเทศไทย ก็ตั้งใจทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อผมได้เปิดหอศิลป์ที่ได้ปรับปรุงสร้างใหม่นี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนที่บ้านเกิด  ให้เยาวชนในระแวกบ้าน และนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจ ที่ตนจะเป็นวิทยากรในการพาชม และเวิร์คช้อปด้วยตัวเอง” ดร.กมล  เล่า 

ด้านล่างจัดแสดงจดหมายของ อ.ถวัลย์ ดัชนี 


        เยาวณี นิรันดร ผู้แทน คริสตี้อ๊อกชั่น (ประเทศไทย) และเจ้าของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ 129(129 ART MUSEUM)  บอกว่า ตนได้สะสมผลงานของอาจารย์กมล เพราะชื่นชอบในความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และคุณประโยชน์ที่ได้ทำให้กับวงการศิลปะ อย่างหอศิลป์หลังนี้คงจะสร้างประโยชน์ให้กับคนที่สนใจงานด้านศิลปะได้เข้ามาเรียนรู้มากขึ้น ส่วนตนได้สะสมผลงานตั้งแต่ในช่วงที่เพิ่งเริ่มเป็นศิลปิน และได้มีผลงาน Buddha’s Footprint ผลงานชิ้นพิเศษ มาอยู่ในคอลเลกชั่นที่มีกว่า 10 ชิ้น เรียกได้ว่าเป็นการจัดแสดงเรื่องราวศิลปะของดร.กมล และผลงานขอศิลปินที่มีฝีมืออีกมากมายร่วมจัดแสดง ซึ่งนักเรียน นักศึกษาก็เดินทางมาศึกษาดูงานอยู่อย่างต่อเนื่อง 

ผลงานจิตรกรรม

 

 

ชั้นล่างจัดแสดงอุปกรณ์ทำงาน และผลงานปติมากรรม


    อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่สนใจสามาถติดตามข้อมูลและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Kamol Tassananchalee Thai National Artist-followers หรือ โทร. 089-201-3579  หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.culture.go.th/cul_fund/ewt_dl_link.php?nid=1139  

 

ผู้สนใจเดินชมผลงานภายในหอศิลป์


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"