วิถีงานศิลป์ ถิ่นบ้านดำ 'ถวัลย์ ดัชนี'


เพิ่มเพื่อน    

กมล ทัศนาญชลี และปรีชา เถาทอง สองศิลปินแห่งชาติ สร้างสรรค์งานศิลปะที่บ้านดำ

 

     หากกล่าวถึงศิลปินคนสำคัญของไทยที่โดดเด่นในวงการศิลปะสากล อ.ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นปูชนียบุคคลสำคัญในแวดวงศิลปะอีกท่านหนึ่ง ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้มากมาย ผลงานของท่านได้รับการสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์สมัยใหม่ และสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งยังสร้างคุณูปการโดยได้สร้างพิพิธภัณฑ์บ้านดำแห่งดอยนางแล จ.เชียงราย ขึ้น เพื่อรวบรวมมรดกศิลปวัฒนธรรม จัดแสดงให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม

      นับเป็นเวลาเกือบ 4 ปีแล้วที่ศิลปินแห่งดอยสูงเชียงรายได้ล่วงลับ ในวันที่ 30-31 ส.ค.ที่ผ่านมา ศิลปินแห่งชาติหลายท่าน หลายสาขา อาทิ อ.กมล ทัศนาญชลี, อ.ปรีชา เถาทอง, อ.ธงชัย รักปทุม, อ.ชมัยภรณ์ บางคมบาง และอีกหลายท่านได้รวมตัวกันรำลึกถึง อ.ถวัลย์ ดัชนี ที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำ จ.เชียงราย ผ่านกิจกรรมเปิดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมล้ำค่า “วิถีงานศิลป์ ถิ่นบ้านดำ ถวัลย์ ดัชนี” และกิจกรรมการฝึกอบรมโครงการศิลปินแห่งชาติ สืบศาสตร์ สานศิลป์ สร้างรักปรากฏรูป จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ผลงานของศิลปินแห่งชาติ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของศิลปินผ่านกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม

 

   พิพิธภัณฑ์บ้านดำ สถานที่จัดโครงการศิลปินแห่งชาติ    

 

     นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า สวธ.ได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้บ้านศิลปิน สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และโครงการศิลปินแห่งชาติ โดยได้กำหนดจัดงานแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมล้ำค่า และจัดกิจกรรมการฝึกอบรมโครงการศิลปินแห่งชาติ ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดำในครั้งนี้ขึ้น เพื่อรำลึกถึง อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติด้วย และเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านศิลปะให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจในงานศิลปะ โดยศิลปินแห่งชาติ 3 สาขาเข้าร่วม ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ศิลปะการแสดง และผู้ทรงคุณวุฒิ และเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมบ้านศิลปินให้เป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากยิ่งขึ้น และมีความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างรายได้แก่ประเทศในมิติของการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

      “บ้านศิลปินแต่ละหลังจะมีผลงานทรงคุณค่า ถ้าให้เก็บไว้ประชาชนก็จะเข้าถึงยาก อย่างบ้าน อ.ถวัลย์ เมื่อก่อนเงียบมาก แต่พอเปิดบ้าน ตอนนี้มีนักท่องเที่ยวมาวันละหลายพันคน เพื่อเรียนรู้งานอาจารย์ที่ได้รับรางวัลมากมาย แล้วชาวบ้านบริเวณโดยรอบก็มีการนำสินค้าชุมชนออกมาค้าขาย สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งบ้านหลังนี้เป็นต้นแบบที่ดี ขณะที่บ้านศิลปินแห่งชาติหลายๆ หลังก็เริ่มเปิดแล้ว และทาง สวธ.ก็เล็งให้มีการส่งเสริมบ้านศิลปินอีกหลายแห่ง โดยเชิญชวนชุมชนเข้ามาร่วมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมกันในครั้งต่อๆ ไป” นางพิมพ์รวีกล่าว

เยาวชนเข้าฐานจิตรกรรมกับศิลปินแห่งชาติ

 

      ด้าน ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า อ.ถวัลย์ ท่านเป็นอัจฉริยะศิลปินที่เราทุกคนเคารพรัก เพราะท่านมีความรอบรู้ในหลายๆ ด้าน เท่าที่ได้รู้จักกับท่านมาไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม แค่มีพู่กันกับสีก็อยู่ได้ แล้วยังสามารถวาดภาพได้อย่างรวดเร็ว บางภาพใช้เวลาแค่ 1-2 นาที ครั้งหนึ่งท่านเคยไปแสดงงานที่ต่างประเทศ สื่อต่างชาติรายงานว่าท่านใช้เวลารวดเร็วแค่ 40 กว่าวินาทีเท่านั้น ไม่แปลกที่ทุกคนจะยกให้ท่านเป็นครู ส่วนโครงการฝึกอบรมโดยศิลปินแห่งชาติมีมานาน อ.ถวัลย์เป็นศิลปินคนสำคัญคนหนึ่งของโครงการนี้มาก เพราะท่านอยากจะส่งเสริมครู อาจารย์ เยาวชน ให้รู้จักและรักในศิลปวัฒนธรรม

      "อาจารย์เคยบอกว่า เราคือต้นไม้ เราควรจะเผยแพร่บ่มเพาะต้นกล้าให้เติบใหญ่ อยากให้ฝึกครูทั่วประเทศและฝึกเยาวชนต้นกล้าให้มีความรอบรู้ทางศิลปะ และมีผลงานไปเผยแพร่ทั่วโลกด้วย ฉะนั้นคนที่สนใจเข้ามาชมงานศิลป์ที่บ้าน อ.ถวัลย์ แล้วก็มาพบกับศิลปินแห่งชาติในครั้งนี้ ก็จะได้เรียนรู้ศิลปะและสืบสานงานศิลป์ต่อจากท่าน" ดร.กมลกล่าว

 

     

     ด้านนายดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ กล่าวเสริมว่า กว่า 4 ปีที่อาจารย์ถวัลย์ได้ล่วงลับ วันนี้ทุกคนผู้รักท่านได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยเฉพาะศิลปินแห่งชาติที่มาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์รัก อาจารย์ท่านนอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว ก็ยังส่งเสริมศิลปะในทุกแขนงในหลากมิติ ทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ศิลปะการแสดง ฯลฯ และใครที่มาที่นี่จะเห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สินค้า OTOP นวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นของเชียงรายและชาวล้านนา สอดคล้องกับกิจกรรมในครั้งนี้ที่มีงานศิลปะและสินค้ามากมายทางวัฒนธรรม แล้วก็ยังมีกิจกรรมให้พบปะศิลปินแห่งชาติผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมาให้ความรู้แก่เยาวชนด้วย

      สำหรับบรรยากาศที่บ้านดำมีการสาธิตและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมและงานหัตถกรรม อาทิ การสาธิตและการจำหน่ายสินค้าของดีบ้านฉัน OTOP CPOT ของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 32 ซุ้ม ได้แก่ สาธิตการทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง สาธิตวิถีชีวิตชนเผ่ากะเหรี่ยง สาธิตผ้าปักชาวยอง สาธิตการทอผ้าไทยลื้อ สาธิตการทำโคมล้านนา สาธิตการต้องลาย สาธิตการทำเข็มกลัดลวดลายภาพ อ.ถวัลย์ ดัชนี สาธิตการทำข้าวฮาง สาธิตการทำขนมบัวลอยมือถือ และการแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงดนตรีล้านนา การแสดงชุดเต้นรำดั้งเดิม อาข่า และการแสดงชุด ฟ้อนมองเซิง  

 

 

      นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการฝึกอบรมศิลปินแห่งชาติ สืบศาสตร์ สานศิลป์ สร้างรักปรากฏรูป จำนวน 7 ฐาน ประกอบด้วย เทคนิคจิตรกรรม เทคนิคประติมากรรม เทคนิคภาพพิมพ์ เทคนิคสถาปัตยกรรม เทคนิคถ่ายภาพสีและการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมประยุกต์ การสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ การสร้างงานศิลปะการแสดง การฟ้อนรำ และด้านศิลปะการแสดง การขับซอ ซึ่งบรรยากาศภายในงานมีทั้งเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อพบปะศิลปินแห่งชาติแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาร่วมงานด้วย

      นางสาวภูชนิกานต์ มีสัตย์ นักเรียน ม.6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เชียงราย ผู้มาร่วมกิจกรรม กล่าวว่า วันนี้มาร่วมงานเพราะอยากจะทำกิจกรรมในฐานจิตรกรรมกับศิลปินแห่งชาติ เพื่อต่อยอดทักษะทางด้านจิตรกรรมให้ดีขึ้น เพราะตนชอบในการวาดภาพมาแต่เด็ก ชอบที่จะวาดภาพลายไทย เพราะเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ โดยส่วนตัวชอบในงาน อ.ถวัลย์ เพราะงานของอาจารย์ค่อนข้างหนักแน่น เชื่อว่างานของอาจารย์จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนได้ และมาวันนี้ก็ยังได้เห็นงานศิลปะทุกแขนงที่รายล้อมอยู่ภายในบ้านดำแห่งนี้.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"