การแบ่งปัน-เสียสละเพื่อส่วนรวม ข้อคิดทำดีที่ลูกหลานซึมซับจากปู่ย่า


เพิ่มเพื่อน    

(เด็กๆ ที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุในเรื่องที่ช่วยได้ ปลูกฝังค่านิยมของการลดการเห็นแก่ตัว และทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ซึ่งเป็นแบบที่ดีของเยาวชนไทย โดยได้มาจากการปลูกฝังจากผู้ปกครอง โรงเรียน และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ)

 

      เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว “การให้และการแบ่งปัน” ถือเป็นเรื่องที่สร้างทั้งความสุขใจ และปลูกฝังเรื่องของการสร้างเอื้ออาทรให้กับคนในสังคมได้ทางหนึ่ง ทั้งนี้เรื่องของการให้นั้น นอกจากทรัพย์สินเงินทองตามอัตภาพของผู้ให้แล้ว การแสดงความมีน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ กับอื่น หรือแม้แต่เด็กรุ่นลูกหลานปฏิบัติต่อผู้สูงวัย เช่น เรื่องง่ายๆ อย่างการลุกให้คนวัยเกษียณนั่งบนรถเมล์ รถไฟฟ้า หรือแม้แต่การช่วยถือของ ก็ถือเป็นการเสียสละให้กับผู้อื่นได้แล้ว ซึ่งไม่เพียงสะท้อนเรื่องของความเอื้อเฟื้อเผื่อแล้ว ยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆ เยาวชนในวัยเดียวกันได้ แต่การที่เด็กจะซึมซับเรื่องของการทำความดีนี้ไปสู่ผู้อื่น การมีแบบอย่างที่ดีจากปู่ย่าตายาย ที่ประพฤติปฏิบัติให้แบบอย่างกับลูกหลาน ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามเสียไม่ได้

(พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร)

      พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและผู้สูงอายุ จากศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.28 กรุงธนบุรี ให้ข้อมูลว่า “ในฐานะที่หมอเข้าสู่วัยหลัก 60 ปีนิดๆ แล้ว สิ่งสำคัญสำหรับหมอคือการปล่อยวางและให้อภัยผู้อื่น และก็หันมา “ให้สิ่งต่างๆ กับคนมากขึ้น” เช่น การให้เงินกับลูกหลาน หรือน้องๆ ในที่ทำงาน หรือใช้วิชาชีพในการเป็นแพทย์ไปช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังของเรา ซึ่งบางครั้งการที่เราได้ให้เงินกับคนอื่นเพียง 100 บาท เราก็มีความสุขแล้วค่ะ กระทั่งบางครั้งที่หมอเดินไปทำงาน และเห็นคุณยายอายุมากๆ นั่งขายของอยู่ริมถนน หมอก็ช่วยซื้อค่ะ แม้ว่าบางครั้งจะไม่ใช่เงินจำนวนมาก หมอก็รู้สึกดีที่สามารถช่วยคุณยายได้ ซึ่งไม่เพียงแค่หมอสุขใจ แต่คุณยายที่ขายของเองก็มีความสุขใจเช่นกัน เพราะสามารถทำงานเลี้ยงชีวิตตัวเองได้โดยที่ไม่ได้พึ่งพาลูกหลานค่ะ ส่วนหนึ่งก็เรียกว่าส่งเสริมทางอ้อมให้คนวัยเกษียณได้ทำงาน ไม่นั่งอยู่กับบ้านแบบเหงาหงอย อีกทั้งอยู่แบบภาคภูมิใจ แม้ว่าบางครั้งเมื่อถึงวัยนี้ท่านควรจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้านก็ตาม กรณีของผู้ที่มีฐานะ ซึ่งลูกหลานพอที่จะเลี้ยงดูท่านได้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ

(คำเตือนที่ย้ำบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นพฤติกรรมของการช่วยเหลือผู้อื่นและสร้างสังคมให้น่าอยู่)

 

      นอกจากการหยิบยื่นเงินทอง ให้ผู้อื่นตามกำลังแล้ว เรื่องที่หมออยากพูดคือ อาจจะต้องยกความดีความชอบให้กับปู่ย่าตายายเอง หรือแม้แต่คนที่เป็นพ่อแม่ โดยเฉพาะ “การสอนให้ลูกหลานรู้จักเสียสละและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น” เพราะการปฏิบัติปฏิบัติชอบเหล่านี้ นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และสามารถสร้างให้เกิดความเอื้อเฟื้อในสังคม ลดการมองโลกในแง่ร้าย ที่สำคัญยังเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ วัยเดียวกันได้ เช่น ปัจจุบันเวลาที่หมอนั่งรถไฟฟ้า BTS ไปทำงานและไปธุระ จะสังเกตได้ว่าเด็กรุ่นใหม่น่ารักมากขึ้นเยอะเลยค่ะ และมักจะลุกให้ผู้สูงอายุนั่ง หรือแม้การที่ผู้สูงอายุถามเส้นทางเด็กๆ เขาก็จะกระตือรือร้น และรีบบอกเส้นทางกับคุณตาคุณยายว่าเราควรไปทางไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารัก เพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ใหญ่อย่างเต็มใจ ส่วนหนึ่งหมอคิดว่าน่าจะมาจากการสอน และการเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้เด็กได้ซึมซับสิ่งที่ดีๆ เหล่านี้ หรือแม้การให้ข้อมูลที่ย้ำบ่อยๆ ของทางบริการขนส่งสาธารณะเอง เกี่ยวกับการให้ความอนุเคราะห์ผู้สูงวัย เด็กและคุณแม่ตั้งครรภ์ อีกทั้งเมื่อเด็กได้ฟังทุกวัน แน่นอนว่าก็จะทำให้เขาได้คิดและปฏิบัติตาม ก็เป็นส่วนหนึ่งค่ะ แต่ท้ายที่สุดแล้วหมอคิดว่าการปลูกฝังเรื่องความมีน้ำใจและความเสียสละต่อผู้อื่นซ้ำๆ หรือผู้ใหญ่กระทำให้ลูกหลานเห็น เขาก็จะจดจำและนำไปสอนลูกๆ หลานๆ ต่อไปค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"