"ณัฏฐพล"มอง สพม.ไม่จำเป็นต้องมีครบ 77จังหวัด ควรคำนึงถึงจำนวนรร.และระยะทางเป็นตัวกำหนด


เพิ่มเพื่อน    

18ก.พ.63-ตามที่มีนักวิชาการด้านการศึกษา ให้ข้อกังวลถึงกรณีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) ว่า หากตั้งไม่ครบทั้ง 77 จังหวัด อาจจะส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย เนื่องจากโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในอนาคตจะมีการปรับให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อกคศ.) จังหวัด เข้ามาบริหารงานบุคคล และการที่ สพม.บางเขตครอบคลุม 3-4 จังหวัด จะเกิดความยุ่งยาก วุ่นวาย ดังนั้นการบริหารงานบุคคลควรมีกลไกดูแลตั้งแต่ต้นที่เขตพื้นที่ฯ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้ง โยกย้ายอย่างที่ผ่านมานั้น

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนคิดว่าเรื่องนี้จะไม่เกิดความวุ่นวายขึ้นแน่นอน เพราะหากเราศึกษาในรายละเอียดของข้อมูลจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จะสามารถบริหารจัดการได้ว่าควรมีจำนวน สพม.เท่าไร อย่างเหมาะสม และจากความคิดเห็นส่วนตัวเบื้องต้น คิดว่า สพม.ไม่ควรจะมีแค่ 42 แห่ง เหมือนในปัจจุบัน และก็จะไม่ใช่จำนวน 77 แห่งด้วย ส่วนจะมีจำนวนเท่าไรนั้น  คงต้องมีการพิจารณาปรับปรุงในแต่ละพื้นที่ โดยจะคำนึงถึงจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษาในแต่ละพื้นที่ว่ามีเท่าไร ระยะทางของแต่ละจังหวัดห่างไกลกันอย่างไร เพราะเท่าที่ตนได้ลงพื้นที่สัมผัสบางจังหวัด พบว่า บางจังหวัดมีโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวนมาก ส่งผลให้ ผอ.สพม.ต้องรับภาระมากเกินไป อาจจะไม่เหมาะสมที่คนเดียวจะต้องรับผิดชอบในหลายจังหวัด ซึ่งตนจะพยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด และเราสามารถเดินหน้าได้ทันทีตาม เนื่องจากเรื่องนี้เป็นมติที่ประชุม สกศ. ไม่ต้องรอดำเนินการพร้อมการผรับโครงสร้าง ศธ.ทั้งหมด ดังนั้นคงต้องรอให้ สพฐ.เสนอเรื่องขึ้นมา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"