พท.นำแต่วูบ/เกินครึ่งยังไม่เลือก


เพิ่มเพื่อน    

    โพลเผยประชาชนชี้การเมืองไทยยังขัดแย้ง เชื่อ "บิ๊กตู่" คุมสถานการณ์อยู่ จี้แจงเหตุเด้ง "สมชัย" กระทบภาพลักษณ์ คสช. "เพื่อไทย" เรตติ้งวูบแต่ยังนำอันดับ 1 เหนือ ปชป. คนเกินครึ่งเบื่อยังไม่เลือกพรรคใด หวังปฏิรูปเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง
    เมื่อวันที่ 25 มีนาคม “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "การเมืองร้อนๆ ณ วันนี้" เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,236 คน ระหว่างวันที่ 20-24 มี.ค. สรุปผลได้ ดังนี้
       1.กรณีการยื่นขอจดจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ จนถึงขณะนี้มีทั้งหมดกว่า 60 พรรค อันดับ 1 ร้อยละ 41.59 อยากได้พรรคการเมืองที่ดี มีคุณภาพ เน้นทำประโยชน์เพื่อประชาชน, อันดับ 2 ร้อยละ 39.27 ประชาชนมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น มีทั้งพรรคเก่าและใหม่, อันดับ 3 ร้อยละ 37.72 มีจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดความสับสน จำไม่ได้    
          2.กรณี สนช.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายลูก ส.ว. อันดับ 1 ร้อยละ 40.00 อยากให้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ขัดกับกฎหมาย, อันดับ 2 ร้อยละ 35.36 เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คนบางกลุ่มไม่พึงพอใจ,     อันดับ 3 ร้อยละ 28.10 อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง เป็นการยื้อเวลา    
    3.กรณีการโต้เถียงในประเด็นการเมืองต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมือง อันดับ 1 ร้อยละ 52.65 อยากให้โต้เถียงในเรื่องที่มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง, อันดับ 2 ร้อยละ 29.3 เป็นเกมการเมือง ต้องการให้เกิดเป็นกระแส, อันดับ 3 ร้อยละ 19.17 ได้เห็นท่าที แนวคิดของแต่ละพรรค ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร      
    4.กรณี คสช.ใช้ ม.44 ให้นายสมชัย ศรีสุทธิยากร พ้นจากตำแหน่ง กกต.  อันดับ 1 ร้อยละ 39.24 ควรมีการชี้แจงเหตุผล ที่มาที่ไปให้สังคมได้รับรู้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง, อันดับ 2 ร้อยละ 32.72 เป็นการใช้อำนาจมากเกินไป ควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา    , อันดับ 3 ร้อยละ 32.46 กระทบต่อภาพลักษณ์ของ คสช. มีผลต่อความเชื่อมั่น    
    5.จากกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เหล่านี้ ประชาชนคิดว่าสะท้อนการเมืองไทยอย่างไรบ้าง?
อันดับ 1    ร้อยละ 56.87 ยังมีความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์, อันดับ 2 ร้อยละ 44.35 การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ทำให้ประเทศไม่พัฒนา, อันดับ 3 ร้อยละ 30.32 ควรมีการเลือกตั้ง ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและตัดสินใจด้วยตนเอง    
    6.ประชาชนคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี จะควบคุมสถานการณ์ (เอาอยู่) หรือไม่? อันดับ 1 ร้อยละ 51.21 เห็นว่าเอาอยู่ เพราะมีอำนาจพิเศษ มีกำลังทหาร เด็ดขาด ตั้งใจที่จะแก้ปัญหา น่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ฯลฯ,   อันดับ 2 ร้อยละ 29.61    ไม่แน่ใจ เพราะต้องรอดูต่อไป ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ, อันดับ 3 ร้อยละ 19.18 เอาไม่อยู่เพราะบ้านเมืองมีปัญหาหลายด้าน แก้ไขได้ยาก มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ฯลฯ 
    กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการเลือกตั้ง”  เก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน พบว่า ร้อยละ 65.4 เห็นว่าสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.3 เห็นว่าช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น/บรรยากาศเข้าสู่การเลือกตั้ง และร้อยละ 28.7 เห็นว่ามีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก
    เมื่อถามว่า ท่านคาดหวังอยากได้พรรคการเมืองแบบไหน ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.0 อยากให้มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง รองลงมาร้อยละ 43.2 อยากให้มีนโยบายใหม่ๆ ที่พลิกโฉมประเทศ และร้อยละ 35.7 อยากให้สานต่อนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
    สำหรับสิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ รองลงมาร้อยละ 64.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา และร้อยละ 40.8 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
    ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมือง พบว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 14.3 (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนพ.ค.2560 ร้อยละ 3.5) รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 12.2 (ลดลงร้อยละ 3.4)  และพรรคอนาคตใหม่ มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 3.9
    สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประชาธิปไตยกับการเลือกพรรค กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,047 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-24 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 รู้เข้าใจประชาธิปไตย บอกได้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร ในขณะที่ร้อยละ 39.2 ไม่รู้ ไม่ทราบ และเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่เลือกแล้วในใจ พบว่าก้ำกึ่งกัน คือร้อยละ 48.9 เลือกพรรคในใจแล้ว ขณะที่ร้อยละ 51.1 ไม่เลือกพรรคใด เพราะเบื่อ ไม่เชื่อใจ ดีเฉพาะหาเสียง ถอนทุนคืน โกง เลือกมาก็เหมือนเดิม ไม่มีใครทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติแท้จริง ไม่ชอบพวกกร่าง อยู่ใต้อิทธิพล
    ที่น่าสนใจคือ คนรายได้น้อยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 52.6 เลือกพรรคในใจแล้ว แต่คนรายได้มากส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.4 ไม่เลือกพรรคใด และเมื่อจำแนกตามกลุ่ม พบว่าคนที่ไม่รู้ ไม่ทราบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 52.5 เลือกพรรคในใจแล้ว แต่คนที่รู้เข้าใจประชาธิปไตย ร้อยละ 53.3 ไม่เลือกพรรคใด
    ที่น่าพิจารณาคือ ความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาล และ คสช. ให้ทำเพื่อคืนความสุขประชาชน พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 68.9 ต้องการรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี รักษาโรคฟรี คืนมา คืนความสุขประชาชน รองลงมาร้อยละ 66.5 ให้แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานรัฐ โกงเงินคนจน ขอให้เยียวยาคนจน, ร้อยละ 63.2 ความปลอดภัยทางถนน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, ร้อยละ 62.4 ให้แก้ปัญหายาเสพติด จัดระเบียบสังคม สถานบันเทิง หวยเกินราคา รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตู้ เหมือนตอนรัฐบาลเข้ามาใหม่ๆ เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"