'อัษฎางค์' ตอก 'ปิยบุตร' ถนัดพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว อ้าง ส.ส.มีความชอบธรรมเหนือกว่าอำนาจตุลาการ


เพิ่มเพื่อน    

20 ก.พ.63 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "สส. Vs รัฐบาล Vs ศาล ใครใหญ่กว่ากัน" การพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว เป็นงานถนัดของปิยบุตรและพลพรรคอนาคตใหม่เสมอ โดยมีเนื้อหาดังนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วยผู้มีอำนาจ 3 ฝ่าย ที่ต่างคานอำนาจซึ่งกันและกัน เริ่มจากผู้ที่อยู่เบื้องหลังของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงคือ ประชาชน ซึ่งประชาชนไม่ได้ใช้อำนาจนั้นโดยตรง แต่จะใช้อำนาจนั้นเลือก “ผู้แทนของราษฎร”(สส.) เข้าไปใช้อำนาจนั้นแทนตน

และอำนาจที่ฝ่ายนิติบัญญัติ(สส.) หรืออำนาจของ สส.ในสภา ที่มีอำนาจเหนือกว่าอีก 2 ฝ่าย อันได้แก่ อำนาจบริหาร (รัฐบาล) และอำนาจตุลาการ (ศาล) คือเมื่อประชาชนได้เลือกผู้แทนของราษฎร (สส.) เข้าไปทำงานในสภา รัฐสภาโดย สส.ก็เป็นผู้เลือกฝ่ายบริหาร โดยเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี หรืออาจกล่าวได้ว่า รัฐสภา หรือ สส. เป็นผู้เลือกรัฐบาล แทนประชาชน รวมทั้งสภาเป็นผู้เลือกผู้พิพากษาและตุลาการ เข้ามาทำงานในศาล

ส่วนอำนาจที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีเหนือกว่ารัฐสภาคือ นายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาได้ และอำนาจตุลาการมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายบริหาร(รัฐบาล) และฝ่ายนิติบัญญัติ(สภา) คือ เป็นผู้พิจารณาพิพากษาและลงโทษ คนในรัฐบาลหรือคนในรัฐสภาที่กระทำผิดกฎหมาย

ที่ปิยบุตร รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ทางด้านกฏหมาย บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่เหนือรัฐสภานั้นถูกต้อง แต่ที่บอกว่า สส. มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เหนือกว่าศาล เพราะได้เลือกตั้งมาจากประชาชนนั้น ก็นับว่ายังไม่ค่อยถูกต้องเท่าไหร่นัก เพราะ สส.ได้รับเลือกตั้ง(ทางตรง)มาจากประชาชน แต่ศาล ก็ได้รับเลือกตั้ง(ทางอ้อม) มาจากประชาชนเช่นกันโดยผ่านทาง สส.ในสภาอีกที การพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว เป็นงานถนัดของปิยบุตรและพลพรรคอนาคตใหม่เสมอ

สรุป..สิทธิและความชอบธรรมทางประชาธิปไตยของทั้ง 3 ในฝ่ายนั้น มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน สส.ในสภา ไม่ได้สูงส่งและมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูงกว่า รัฐบาล และ ศาล แต่อย่างใด (ถ้าขี้เกียจอ่านยาวๆ แค่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็ให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างต่อไปนี้)

• อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป ดังนี้

1. อำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย
2. เสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐอมนตรี
3. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
4. ให้ความเห็นชอบในกิจกรรมสำคัญของประเทศตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

• อำนาจบริหาร ใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ

• อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจของศาลทุกประเภท ศาลทุกประเภทมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีความต่าง ๆ ตามอำนาจของศาลนั้น ๆ เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์

การถ่วงดุลอำนาจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การแบ่งแยกอำนาจมิได้หมายความว่า องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งสาม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยอำนาจใดอำนาจหนึ่ง อาจอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่งได้ และอีกฝ่ายหนึ่งก็มีขั้นตอนในการลดอำนาจของอีกฝ่าย ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ แปลว่า การถ่วงดุลอำนาจมักเป็นเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร

ตัวอย่างของการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร มีดังนี้ 1.กรณีฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร หมายถึง อำนาจที่สภาผู้แทนราษฏรเปิดประชุมเพื่ออภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศเกิดความผิดพลาดเสียหาย หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเมื่อมีการลงมติภายหลังการอภิปราย หากรัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนหรือไว้วางใจน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ก็จะมีผลให้รัฐบาลต้องลาออก เพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

2.กรณีฝ่ายบริหารมีอำนาจสูงสุดเหนือฝ่ายนิติบัญญํติ กรณีฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง การใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีอันมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดต้องพ้นสภาพ

3.ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอำนาจที่เป็นอิสระเฉพาะ เนื่องจากการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ย่อมต้องเป็นกลางและเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าฝ่ายตุลาการเป็นฝ่ายที่มิได้มีการถ่วงดุลหรือคานอำนาจกับฝ่ายใด จึงเห็นได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างมีอำนาจที่จะถ่วงดุลซึ่งกันและกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

สรุป อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ อำนาจทั้งสามฝ่ายจะมีการถ่วงดุลกันอยู่ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจจนเกินขอบเขต

อำนาจอธิปไตยทั้งสามฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการถ่วงดุลอำนาจกันไม่ให้อำนาจใดมีอำนาจมากเกินไปหรืออ่อนแอ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างรา

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/…/cms_deta…/knowledge/2154-00/

............................................................................
ศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"