"นิยาย-นิทานพื้นบ้าน" คนรุ่นตายาย สอนความกตัญญู-ปลูกนิสัยการอ่าน


เพิ่มเพื่อน    

 

“วรรณกรรมพื้นบ้าน” อาทิ นิยาย และนิทานพื้นบ้าน ไม่เพียงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้สูงวัยมายาวนาน แต่ทว่ายังเป็นแหล่งความรู้และความบันเทิงของคนยุคก่อนก็ว่าได้ ที่สำคัญภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากวรรณกรรมดังกล่าว ยังเป็นตัวเชื่อมให้ผู้สูงอายุรู้สึกคุ้นกับนิยายพื้นบ้านของไทยมากขึ้น   กระทั่งหยิบยกสาระและแง่คิด ถ่ายทอดให้กับลูกหลานได้รับฟัง อาทิ นิทานเรื่องปลาบู่ทอง สังข์ทอง แก้วหน้าม้า และนิยายอย่างมนต์รักลูกทุ่ง เป็นต้น ในยุคที่การอ่านหนังสือเป็นรูปเล่มอาจจะพบได้น้อยลง แต่ประโยชน์ของการอ่าน ย่อมมีอยู่ไม่น้อย งานนี้คุณตาคุณยายรักการอ่าน ได้มาสะท้อนถึงวรรณกรรมพื้นบ้านในดวงใจให้ทราบกัน

(สุภาพร พิชิตทรรณ)

มนต์รักลูกทุ่ง

คุณป้าสุภาพร พิชิตทรรณ วัย 63 ปี บอกให้ฟังว่า “นิยายเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง เป็นนิยายเรื่องแรกที่ป้าเริ่มอ่านตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 15 ปี และก็เป็นนิยายที่ทำให้ป้าเริ่มจำตัวหนังสือ และทำให้ฝึกอ่านหนังสือมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ค่ะ ส่วนคติสอนใจที่ได้จากนิยายเรื่องนี้คือ การสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน โดยเฉพาะการปลูกข้าวทำนา และมีงานรื่นเริงอย่างงานรำวงต่างๆ ที่เป็นมหรสพที่สร้างความบันเทิงให้กับคนยุคก่อน สะท้อนการสู้ชีวิตและการแสดงออกถึงความรักของคนยุคเก่าได้ดี และแม้ว่ายุคนี้เด็กจะอ่านหนังสือน้อยลง แต่ป้าก็อยากให้เด็กๆ หันมาอ่านหนังสือให้มากขึ้น โดยเฉพาะนิยายพื้นบ้าน กระทั่งหนังสือนิทานพื้นบ้าน และจดจำในสิ่งที่ดีๆ ของหนังสือ เพื่อนำมาใช้ในชีวิต”

(สุชัญญา ตุ้มเทียน)

ปลาบู่ทอง-สังข์ทอง

คุณป้าสุชัญญา ตุ้มเทียน หรือป้าแดง วัย 67 ปี บอกว่า “สมัยตอนที่ป้ายังเด็กนั้นคุณตาคุณยายได้เล่านิทานพื้นบ้านเรื่องปลาบู่ทอง และเรื่องสังข์ทองให้ป้าฟัง พอโตขึ้นก็ได้มีโอกาสดูหนังดูละครทั้ง 2 เรื่องนี้ สำหรับแง่คิดที่ป้ามองว่าได้จากนิยายพื้นบ้านทั้ง 2 เรื่อง คือทำให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนสมัยก่อน และความกตัญญูรู้คุณของตัวละครทั้ง 2 เรื่อง ซึ่งแง่คิดตรงนี้ก็ได้นำมาใช้สอนลูกหลาน เพื่อให้เขาได้สอนลูกๆ ของเขาต่อไป และส่วนหนึ่งทำให้ประวัติศาสตร์ของนิยายพื้นบ้านของเราไม่หายไป และผู้ปกครองยังสามารถสอนลูกๆ ให้เป็นเด็กดี และทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านการอ่านนิยายพื้นบ้านค่ะ”

(พรชัย ชาติสุทธิพงศ์)

        นางสิบสอง-สังข์ทอง

คุณลุงพรชัย ชาติสุทธิพงศ์ บอกว่า “ประโยชน์ของการอ่านนิยายพื้นบ้านของไทย อย่างเรื่องนางสิบสอง และเรื่องสังข์ทองนั้น มันได้ทั้งความเพลิดเพลินและสอนเรื่องความกตัญญู และนิยายพื้นบ้านดังกล่าว ยังสอดแทรกแง่คิดเรื่องความมีคุณธรรม ซึ่งอาจจะหาอยากได้ในคนยุคนี้ ดังนั้นในฐานะคนรุ่นเก่าที่ได้เคยอ่านวรรณกรรมดังกล่าวมาก่อนแล้ว ก็อยากให้เด็กรุ่นใหม่หันมาอ่านนิยายแนวนี้ดูบ้าง เพราะเด็กยุคนี้มักจะอยู่กับการเล่นมือถือตลอดเวลา ถ้ารู้จักแบ่งเวลาในวันว่างโดยการหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ก็จะช่วยพักสายตาการจ้องหน้าจอได้ ที่สำคัญยังสามารถนำความรู้จากนิยายพื้นถิ่น โดยเฉพาะเรื่องของคุณธรรมและความกตัญญูไปปรับใช้ ก็จะทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้นครับ”

(ถวิล ธนขันธ์)

แก้วหน้าม้า

คุณลุงถวิล ธนขันธ์ วัย 70 ปี ที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือบอกว่า “ผมชอบอ่านหนังสือมากครับ ทุกวันนี้ก็ยังอ่านอยู่เสมอ เช่น หนังสือสวดมนต์ที่ผมพกติดตัวมาอ่านเสมอๆ แต่ถ้าย้อนกลับไปตอนวัยหนุ่มสาวนั้น นิยายที่ผมเคยอ่านคือเรื่องแก้วหน้าม้าครับ ประโยชน์ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ สอนให้รู้เกี่ยวกับความซื่อสัตย์และการเป็นคนที่จิตใจดี อีกทั้งไม่เอาเปรียบผู้อื่น และนิยายเรื่องนี้ยังสอนเรื่องความยุติธรรมอีกเช่นกันครับ ผมคิดว่าถ้าเด็กได้อ่านนิยายพื้นบ้านของเราในลักษณะแบบนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เขามีความรู้เพิ่มเติม และสอนใจให้สามารถทำตามแง่คิดดังกล่าวได้ เพียงแต่ว่าผู้ปกครองจะต้องคอยอ่านหนังสือให้ลูกหลานฟัง เพื่อเป็นแบบอย่างของการอ่านหนังสือของเด็กๆ ครับ”

ปลาบู่ทอง

คุณป้าเตือนใจ พุ่มดี วัย 65 ปี บอกว่า “ตอนที่ป้ายังเด็กๆ นั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ปลูกฝัง เรื่องการอ่านหนังสือให้ป้าฟัง และพอโตขึ้นมาป้าก็ได้อ่านนิยายเรื่องปลาบู่ทอง ที่ทำให้ป้าได้แง่คิดของความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และทำให้เด็กๆ รักพ่อรักแม่ และตอนนี้โลกเปลี่ยนไปเด็กชอบอยู่กับมือถือมากขึ้น ดังนั้นคงจะดีไม่น้อยถ้าหากว่าผู้ปกครอง สามารถยึดเวลาของการเล่นโซเชียล โดยการให้ลูกแบ่งเวลามาอ่านหนังสือจากกระดาษมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าหนังสือทุกเล่มทุกแนว ไม่เว้นแม้แต่นิยายพื้นบ้านนั้น ย่อมมีประโยชน์ทั้งการสอนแง่คิดการใช้ชีวิต และยังทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องราวประเพณี วัฒนธรรมไทยในเรื่องต่างๆ ผ่านการเล่าของตัวละคร ที่เด็กๆ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตปัจจุบันได้”

ท่ามกลางนิยายแฟนตาซีจากนักเขียนต่างประเทศ ที่ว่าน่าสนใจตื่นเต้นชวนติดตามแล้ว ทว่านิยายและนิทานพื้นบ้านของไทย ที่สอดแทรกแง่คิดการใช้ชีวิต โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา ที่ปู่ย่าตายายอ่านต่อๆ กันจากรุ่นสู่รุ่น ย่อมเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างให้เด็กรุ่นใหม่ หันมารักการอ่านมากขึ้นจริงไหมค่ะ...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"