"ธนบุรีบูรณา”บ้านหลังที่สอง ดูแลผู้สูงวัยป่วยอัลไซเมอร์


เพิ่มเพื่อน    

      เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยระยะยาว โดยเฉพาะโรคความจำเสื่อม (Alzheimers) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เนื่องจากโรคทั้ง 2 ชนิดนั้นมีแนวโน้มพบได้สูงในคนสูงอายุ

(นพ.บุญ วนาสิน)

      ล่าสุด นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG จัดงานเปิดตัว โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา โรงพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยระยะยาว (Trusted Long-Term Care Hospital) โดยเฉพาะที่ป่วยโรคความจำเสื่อม (Alzheimers) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยการดูแลรักษาแบบองค์รวม (Holistic care) ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ให้การบริการอย่างครบวงจรทั้งการฟื้นฟู รักษา ป้องกัน และส่งเสริม รวมไปถึงการจัดทำแผนในการดูแลสุขภาพให้เหมาะเฉพาะรายบุคคล (Individualized) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล และทีมสหวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ ร่วมสัมผัสกับโรงพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยระยะยาวให้มีสุขภาพดีได้มากที่สุดพร้อมกัน ที่โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ในโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้

      “นพ.บุญ วนาสิน ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) โดยในกว่า 10 ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว (Super-Aged Society) โดยมีสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นจำนวนเกินกว่า 20% และโรคอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงวัยเกิดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดการเสียชีวิตก็คือ โรคความจำเสื่อม (Alzheimers) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งมีผลกระทบทำให้ผู้สูงวัยและผู้ดูแล ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุขได้เหมือนเดิม เช่น เกิดอาการแขนขาหมดแรง ทำให้เคลื่อนที่ลำบาก พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก ใบหน้าเบี้ยว มีแผลกดทับ ระบบทางเดินอาหาร แม้กระทั่งโรคจิตเวช เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเฉพาะทางจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกายภาพบำบัด Medical Sport Science การฝังเข็มแบบแผนแพทย์ทางเลือก โปรแกรมโภชนบำบัด โปรแกรมฟื้นฟูบำบัดด้วยการทำกิจกรรมและใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาช่วย ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกในและนอกโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้การรักษาฟื้นฟูเกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกและกลับมามีคุณภาพชีวิตทีดีในมิติใหม่ (Transforming Your Healthcare)

      บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ได้มองเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงเป็นที่มาของ โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา โรงพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยระยะยาว ด้วยการสร้างความสมดุลชีวิตในทุกมิติของผู้สูงวัยและครอบครัว โดยเน้นการฟื้นฟู ดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม (Alzheimers) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภายใต้มาตรฐาน ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG จึงสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปจนถึงสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติเท่าที่จะเป็นไปได้

(นพ.อี๊ด ลอประยูร)

      ด้าน นพ.อี๊ด ลอประยูร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ให้ข้อมูลว่า สำหรับการสังเกตอย่างง่ายในกลุ่มของผู้สูงวัยที่ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งจำเป็นต้องมาพบแพทย์โดยด่วนนั้นโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเป็นลมสลบไป โดยให้ใช้หลัก 4 ประการ คือ Fast โดยเริ่มจากอักษรตัว 1. F คือ fall เวลาที่ยิ้มแล้วมุมปากจะตก หรือมีอาการปากเบี้ยว น้ำลายไหลแบบที่กลั้นไม่ได้ ส่วนอันที่ 2. a หรือ arm ซึ่งผู้ป่วยจะอาการ ยกแขนไม่ขึ้น หรือรู้สึกอ่อนแรงที่แขน (หากยกแขนทั้งสองข้างได้เท่ากันถือว่าอาการปกติ ทั้งนี้หากยกแขนทั้งสองข้างได้ไม่เท่ากัน โดยอีกข้างอ่อนแรงให้รีบมาพบแพทย์ทันที) 3.อักษรตัว S. Speak หรือการพูดคุยให้สังเกตว่าหาก ผู้สูงอายุพูดไม่เป็นคำ หรือ คำที่คุยนั้นไม่ได้อยู่ในเรื่องที่เรากำลังคุยกับคนอื่น ส่วนอักษรตัวที่ 4. คือ T หรือ Time หากผู้ป่วยหมดสติโดยโรคหลอดเลือดสมองให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที เพื่อให้แพทย์ฉีดยาสลายลิ้มเลือดก่อน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อให้ลิ้มเลือดสลายได้อย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งการรักษาที่ทันท่วงที

(พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล)

      ปิดท้ายกันที่ พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ประธานการแพทย์ โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ให้คำแนะนำว่า นอกจากการดูแลและป้องกันโรคทั้ง 2 ชนิดแล้ว คนที่ดูแลผู้ป่วยก็จำเป็นต้องเรียนรู้การดูแลตัวเองเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ทั้งผู้ป่วยและคนดูแลอยู่ด้วยกันแบบสมดุล เช่น การที่คนดูแลบำบัดความเครียดโดยการร้องเพลง เพราะเวลาที่เราร้องเพลงจะทำให้ผู้ดูแลได้ระบายกับเรื่องที่ยึดติดในใจทุกอย่างออกมา กระทั่งวาดรูปทำงานศิลปะ หรือการออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เรามีสมาธิและมีสติ ดังนั้นเมื่อใจมาทุกอย่างก็จะดีขึ้น และคิดหาทางออกได้เอง      

      แต่ทั้งนี้เมื่อผู้ดูแลบำบัดตัวเองแล้ว ก็ต้องไม่ลืมให้กำลังใจผู้ป่วย รวมถึงการที่ผู้ป่วยเองก็ควรตั้งธงในใจว่าจะต้องอาการดีขึ้นเพื่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางหลอดสมองที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ดังนั้นถ้าใจสู้ อาการของผู้ป่วยก็จะดีขึ้นโดยรวมค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยคนดูแลสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้ออำนวยต่ออาการป่วยให้ดีขึ้น เช่น การพาผู้สูงอายุโรคหลอดสมองที่อาการเริ่มดีขึ้นไปว่ายน้ำ เพราะการที่เขาได้เดินในน้ำจะทำให้ผู้ป่วยสูงอายุรู้สึกว่าตัวเองเริ่มเดินได้ดีขึ้น ก็จะเกิดความมั่นใจและมีกำลังใจ กระทั่งค่อยๆ เดินได้เองมากขึ้นค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"