แยกถุงใส่วัตถุดิบ-กินเมนูปรุงสุกใหม่ ป้องกันเชื้อโรค-แพร่ระบาดสู่ผู้สูงวัย


เพิ่มเพื่อน    

(เพื่อป้องกันเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียต่างปนเปื้อนในอาหารสู่ร่างกาย ขณะที่ผู้สูงวัยทำอาหารรับประทานจะต้องใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที)

      ช่วงนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ค่อนข้างติดโรคดังกล่าวได้ค่อนข้างง่ายกว่าคนวัยอื่นๆ ดังนั้นนอกจากการหมั่นล้างมือบ่อยๆ การใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกไปข้างนอกแล้ว การกินอาหารปรุงสุกใหม่ ตลอดจนการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ ในอาหารไปสู่คน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอย่าลืมว่าอาหารทั่วไปนั้นมักจะมีเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ปะปนอยู่โดยที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ รวมถึงเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยก็ตาม ดังนั้นการส่งเสริมสุขอนามัยการบริโภคที่ดี เพื่อให้ห่างไกลจากไวรัสร้ายในคนหลัก 6 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม

(แววตา เอกชาวนา)

      พี่แวว-แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารอิสระ และที่ปรึกษาโครงการกินผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัมจาก สสส. ได้ให้ข้อมูลว่า การทำอาหารจากเนื้อสัตว์เพื่อให้ผู้สูงอายุรับประทานนั้น จะต้อง ปรุงเนื้อสัตว์ทุกชนิดให้สุก ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่แค่อุ่นอาหารให้ร้อนก่อนรับประทาน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ เท่านั้น เพราะความร้อนดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอ แต่เวลาที่ทำกับข้าวให้คุณตาคุณยายจะต้องต้มเนื้อสัตว์ให้เดือดจัดเป็นเวลา 5 นาที เพื่อให้แบคทีเรีย พยาธิ หรือเชื้อโรคต่างๆ ที่ปะปนอยู่กับเนื้อสัตว์ตาย เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เดือด 100 องศา จะทำให้เนื้อสัตว์ที่อยู่ข้างในสุก 70-80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างปลอดภัย ส่วนคนที่ตั้งคำถามว่าถ้าต้มเนื้อสัตว์นานๆ จะทำให้แข็งและผู้สูงอายุเคี้ยวยากหรือไม่ ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้หั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดพอคำจะดีที่สุด หรือหากต้องการปรุงอาหารด้วยเนื้อไก่ ก็ให้หมักในน้ำมันก่อนเพื่อให้นิ่ม และนำไปปรุงให้สุกอย่างทั่วถึงค่ะ

      สำหรับลูกหลานคนไหนที่ช่วงนี้พาผู้สูงอายุหรือคุณพ่อคุณแม่ไปรับประทานอาหารปิ้งย่าง เช่น บาร์บีคิวต่างๆ นั้น อย่าลืมว่าการกินเนื้อสัตว์อย่าง ปลา กุ้ง ไก่ ก็ต้องสุกแบบทั่วถึง เพราะอาหารปิ้งย่างสุกๆ ดิบๆ นั้นจะทำให้เชื้อโรค พยาธิ และเชื้อไวรัสต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในอาหารเจริญเติบโตได้ดี ที่สำคัญแสงสว่างที่สลัวๆ ในร้านอาหารปิ้งย่างก็อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดเจนว่าอาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานนั้นสุกเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจควรปิ้งย่างให้สุกมากที่สุด แต่ต้องไม่ให้อาหารไหม้ หรือแม้อาหารสไตล์สุกี้ เวลาที่รับประทานนั้น ผู้สูงอายุไม่ควรนำตะเกียบที่คีบอาหารดิบใส่หม้อสุกี้ไปคีบอาหารชนิดอื่นๆ รับประทาน เพราะนั่นมีโอกาสที่จะทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี เช่น จากอาหารดิบไปยังอาหารชนิดอื่นที่ปรุงสุกแล้ว โดยที่เรามองข้ามจุดนี้ไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแยกตะเกียบในการคีบอาหารสุกและอาหารดิบออกจากกันค่ะ

      รวมถึงหากลูกหลานต้องการปรุงเมนูจากไข่ไก่ให้ผู้สูงวัยรับประทานนั้น อย่าลืมว่าการที่ผู้สูงอายุกินไข่ไก่วันละ 1 ฟอง ก็จะได้รับโปรตีนที่จำเป็นไปในร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้นจึงควรงดเว้นอาหารประเภทไข่ลวกในช่วงนี้ เพราะเป็นอาหารกึ่งดิบกึ่งสุก ที่อาจทำให้เชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายได้ ดังนั้นจึงต้องปรุงอาหารทุกอย่างให้สุกมากที่สุด เช่น ปรุงเมนูไข่ตุ๋นให้ผู้สูงอายุรับประทาน (วิธีสังเกตุว่าไข่ตุ๋นสุกกำลังดี ให้ใช้ไม้หรือช้อนขนาดเล็กจิ้มลงไปที่ไข่ตุ๋น หากไม่มีน้ำติดออกมา แปลว่าไข่สุกกำลังดีแล้ว) นอกจากนี้ให้เลี่ยงกิน ไข่ดาวแบบสุกกรอบและไข่แดงยางมะตูม หรือไข่พะโล้ด้วยเช่นกัน

(คุณตาคุณยายกินอาหารปิ้งย่าง เน้นว่าต้องสุกอยู่เสมอ งดเว้นอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด)

      ส่วนการไปเลือกซื้ออาหารเพื่อเตรียมปรุงรับประทานเองในครอบครัวนั้น แนะนำว่าอันดับแรก ให้ผู้สูงอายุ แยกถุงใส่วัตถุดิบ หมายความว่า ถ้าหากซื้อเนื้อสัตว์ก็ให้แยกจากถุงที่ใส่ผักและผลไม้ หรือพกถุงใส่ผักและเนื้อสัตว์แยกคนละ 1 ถุง เพราะเนื้อสัตว์ที่บางครั้งซื้อในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าทั่วไป เวลาที่ใส่ถุงพลาสติก หรือห่อพลาสติกแช่แข็งไว้ก็ตาม น้ำของเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ปะปนด้วยเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่างๆ จะไปปนเปื้อนในผักหรือผลไม้ได้ หากว่าใส่ทุกอย่างรวมในถุงเดียวกัน จึงเป็นต้องแยกถุงในการใส่วัตถุดิบ หรือหากซื้อปูหรือกุ้งก็ควรให้พนักงานห่อด้วยกระดาษให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ในสัตว์ที่มีก้ามหรือกิ่งไหลทะลุไปปนเปื้อนเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่ใส่ในถุงเดียวกัน

      หลังจากได้วัตถุดิบครบถ้วนแล้ว เข้าสู่การปรุงอาหารให้ผู้สูงวัยรับประทาน ที่เริ่มจาก การล้างผักและผลไม้ รวมถึงเนื้อสัตว์แยกกัน และหากต้องการป้องกันเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่กับเนื้อสัตว์แช่แข็งไม่ให้ปนเปื้อนไปยังเนื้อสัตว์ในส่วนที่เหลือนั้น อันดับแรกแนะนำว่าให้ผู้สูงอายุหรือลูกหลานแบ่งเนื้อสัตว์ที่จะใช้ทำอาหารออกเป็นถุงขนาดเล็ก (ถุงละ 1 ขีด) เพื่อที่เวลานำออกมาละลายน้ำแข็งก่อนปรุงอาหารนั้น จะได้ไม่ต้องนำไปเก็บในช่องแช่แข็งอีกครั้ง เพราะนั่นจะทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในเนื้อสัตว์ไปปนเปื้อนเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ใช้ปรุงอาหารนั่นเอง นอกจากนี้ เขียงที่ใช้หั่นผักผลไม้ควรแยกจากเขียงที่หั่นเนื้อสัตว์ หรือหากต้องการใช้เขียงใบเดียวกันจริงๆ นอกจากล้างให้สะอาดแล้ว ยังต้องนำไปผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้ครั้งต่อไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เชื้อไวรัส ที่ปนเปื้อนในอุปกรณ์หั่นของดังกล่าวไปสู่อาหารชนิดต่างๆ ที่เราปรุงค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"