รู้ทัน"โรคกระดูกพรุน" ตัวสร้างปัญหาชีวิตสว.


เพิ่มเพื่อน    


    “โรคกระดูกพรุน” เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกระดูกสะโพก หากปล่อยไว้อาจทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคกระดูกพรุน นับว่าอยู่ในจุดที่น่าห่วง โดยจากสถิติพบว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและหลอดเหลือด
    สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุนนั้นมาจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม รวมถึงในแต่ละช่วงวัยได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในวัยทารกต้องการปริมาณแคลเซียม 270 มิลลิกรัมต่อวัน วัยเด็กต้องการปริมาณแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน วัยรุ่นต้องการปริมาณแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน วัยผู้ใหญ่ต้องการปริมาณแคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยตลอดช่วงชีวิตร่างกายต้องการปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
    นพ.เทพรักษา เหมพรหมราช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถิติของโรคนี้ว่า “ผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหัก จะมีโอกาสเสียชีวิตในปีแรกประมาณร้อยละ 20 และครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตภายใน 6 ปี นอกจากนั้นโรคกระดูกพรุนยังก่อให้เกิดอาการปวดหลัง หลังโก่งงอ เคลื่อนไหวลำบาก หายใจลำบาก ปอดทำงานได้ไม่ดี มีอาการเหนื่อยง่าย ส่งผลให้เกิดทุพพลภาพหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด”


    นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากกองวิเคราะห์อาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้วิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมในอาหารของไทย พบว่า อาหารภาคกลางมีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อร่างกาย โดยมีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยต่อวันน้อยที่สุดเพียง 156 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ส่วนอาหารของภาคเหนือมีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่  251.8 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนย ชีส กุ้งแห้ง ปลากรอบ งาดำ ถั่วแดง เต้าหู้ ผักใบเขียว เช่น คะน้า ใบชะพลู เป็นต้น 
    สำหรับวิธีดูแลร่างกายเพื่อช่วยให้ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน ทีมแพทย์และเภสัชกรจากไบโอฟาร์มฯ ได้ให้คำแนะนำว่า ควรให้ความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น หากยังไม่เพียงพอก็สามารถทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียมได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ โดยไม่ควรรับประทานแคลเซียมร่วมกับยาความดัน เพราะมีผลต่อการดูดซึมของยาและหากทานแคลเซยมพร้อมอาหารที่มีผักมากจะทำให้ท้องอืดได้ 
    นอกจากแคลเซียมแล้วควรมีการเสริมวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยในการดูดซึมปริมาณแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น โดยเราสามารถได้รับวิตามินดีโดยตรงได้จากแสงแดดและอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ไข่แดง นม ปลาคอด ปลาแซลมอน ซาร์ดีนหรือปลาแมคเคอเรลที่นิยมนำมาผลิตปลากระป๋อง เป็นต้น ซึ่งหากได้รับวิตามินดีและแคลเซียมอย่างเพียงพอแล้วจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากกระดูกหักได้ถึง 30% รวมไปถึงการงดบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ ไม่ควรเกินวันละ 4 แก้ว และหมั่นออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการทรงตัว เช่น การเดิน วิ่งเหยาะๆ รำมวยจีน แกว่งแขน ก็มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคกระดูกพรุนและช่วยลดความรุนแรงจากการหกล้มได้ด้วย


    นายชวิศ เพชรรัตน์ ผู้จัดทำโครงการ ตู้ยาไบโอฟาร์มฯ เพื่อนคู่สุขภาพชุมชน บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด กล่าวว่า “ไบโอฟาร์มได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม พร้อมเติมเวชภัณฑ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขและชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมที่เราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามปณิธานของบริษัทที่ไบโอฟาร์ม เพื่อนคู่สุขภาพ คู่คนไทยมากว่า 45 ปี ที่นอกจากจะมีการเติมยาให้แก่ตู้ยาชุมชนแล้ว ทางบริษัทยังได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อมาให้ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพแก่ชุมชนอย่างถูกวิธี นับเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"