"อาหารเป็นยา"ป้องกันไวรัสโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

(แววตา เอกชาวนา)

      ล่าสุดกับไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในบ้านเราและประเทศแถบเอเชียอยู่หลายประเทศ แม้การบริโภคอาหารนั้นไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ทว่าการรู้จักเลือกกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์นั้น จะทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรงและเป็นการป้องกันโรคได้ กระทั่งเวลาที่ป่วยแล้วจะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่บ้านเรากำลังเผชิญไวรัสร้าย โควิด-19

(เมนูจากเห็ดทุกชนิดที่ปรุงสุกใหม่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันผลเสียจากการได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ในผู้สูงอายุ)

        พี่แวว-แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารอิสระ และที่ปรึกษาโครงการกินผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัม จาก สสส. มาให้ข้อเกี่ยวกับบริโภคอาหารกลุ่ม A E C เพื่อให้ผู้สูงอายุรับมือกับเชื้อไวรัสดังกล่าวไว้น่าสนใจว่า การกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ จะช่วยให้ผู้สูงอายุและเด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งถือเป็นการป้องกันโรคโดยอ้อมทางหนึ่ง หรือแม้แต่หากป่วย ไม่สบาย ก็จะทำให้อาการเจ็บป่วยหายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ตลอดจนเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ที่ขยายสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งพบในบ้านเราเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ อาหารกลุ่มแรกที่ผู้สูงอายุควรบริโภคเพื่อรับมือกับเชื้อไวรัสต่างๆ มีตั้งแต่กลุ่ม เบตากลูแคน ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพื่อลดการเกิดโรคต่างๆ ที่มีอยู่ในเห็ดทุกชนิด รวมถึงเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด ซึ่งถ้าลูกหลานจะปรุงเห็ดหอมแห้งให้ผู้สูงอายุรับประทาน จะแช่น้ำให้นิ่มและหั่นให้ละเอียด

(ฟักทองผัดไข่ อาหารต้านเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และขับสารพิษ อาทิ เชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มวิตามิน A สูง)

      รองลงมา ได้แก่ อาหารที่อยู่ในกลุ่มของ วิตามิน A ที่ไม่เพียงช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายผู้สูงวัย แต่ทว่ายังช่วยขับสารพิษต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคและเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน ซึ่งอาหารที่อยู่ในกลุ่มวิตามิน A นั้น ได้แก่ ฟักทอง โดยทำเป็นเมนูฟักทองผัดไข่ เพราะช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ผู้สูงอายุไม่ควรบริโภคไข่ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือบริโภคแกงเลียงที่มีส่วนผสมของฟักทองที่มีสีเหลืองกับผักสีเขียวชนิดอื่นที่ใส่ในแกง ที่สามารถกินคู่กับไข่ดาวสุกแต่ไม่แข็ง หรือกินแกงเลียงกับไข่ลูกเขยก็ได้เช่นกัน หรือจะบริโภคมะละกอสุกที่มีวิตามิน A สูงได้เช่นกัน

      ส่วนอาหารกลุ่มต่อมาคือ วิตามิน E ที่มีประโยชน์ในการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งอาหารในกลุ่มของ วิตามิน E ได้แก่ น้ำมันชนิดที่ดีซึ่งได้จากเมล็ดเจีย, งาดำ, เมล็ดทานตะวัน, เมล็ดฟักทอง, อะโวคาโด ซึ่งจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคไปด้วยตัว ดังนั้นเวลาที่ผู้สูงอายุรับประทานอาหารในช่วงเฝ้าระวังเชื้อไวรัสต่างๆ นั้น ควรจะโรยงาดำบด, ถั่วบด หรือเมล็ดเจียบดละเอียด ลงบนอาหารที่รับประทาน ก็จะทำให้ได้รับวิตามิน E เพื่อป้องกันโรคไปด้วยในตัว

      ขณะที่อาหารกลุ่ม วิตามิน C ก็จะมีประโยชน์ในแง่ของการต้านการอักเสบ โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายของผู้สูงอายุได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ นั้น จะช่วยป้องกันอวัยวะไม่ให้เกิดการอักเสบจากเชื้อโรคที่ร่างกายรับเข้าไป เช่น ปอด, ผิวหนัง ซึ่งอาหารกลุ่มวิตามิน C ช่วยป้องกันได้ ทั้งนี้ อาหารที่มี วิตามิน C สูง ได้แก่ ส้ม, กีวี, ฝรั่ง, สตรอว์เบอร์รี ฯลฯ ที่สำคัญการบริโภคผลไม้และผักทุกชนิดต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง ที่สำคัญในช่วงนี้ผู้สูงอายุไม่ควรบริโภคผักดิบ แต่ให้รับประทานผักสุกที่ผ่านความร้อน ก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรค ที่เกาะอยู่กับผักสดได้เช่นกัน

      นอกจากนี้ อาหารใน กลุ่มสมุนไพรในครัว ก็ยังสามารถป้องกันเชื้อโรคและเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ได้เช่นกัน เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กระเทียม ดังนั้นเวลาที่ปรุงอาหารด้วยกระเทียมนั้น ไม่ควรเจียวให้สุกเหลือง แต่เวลาที่ใส่กระเทียมทุบพอแตกลงในกระทะพร้อมกับน้ำมันนั้น ให้รีบใส่เนื้อสัตว์ลงไปทันทีโดยที่กระเทียมทุบยังสดอยู่ เพื่อให้สารสำคัญในกระเทียมได้คลุกเคล้ากับเนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุรับประทาน ก็จะทำได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรค

(ผู้สูงอายุหมั่นจิบน้ำเปล่า 8-10 แก้วต่อวัน น้ำจะช่วยนำพาวิตามินต่างๆ ไปเลี้ยงร่างกาย และช่วยป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ได้ทางหนึ่ง นอกจากการหมั่นดูแลสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงก่อโรค)

      ที่น่าสนใจนั้นสมุนไพรที่คุ้นเคยกันดีอย่าง ขิง ที่แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้ แต่การบริโภคขิงนั้นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี ยกตัวอย่างเวลาที่เราเป็นไข้หวัดธรรมดา ก็จะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้หายได้โล่งและสะดวกเช่นเดียวกัน รวมถึง กะเพรา-ใบโหระพา-ตะไคร้-ข่า ซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในสมุนไพรเหล่านี้จะมีสรรพคุณต้านการอักเสบ ดังนั้นหากช่วงนี้ผู้สูงอายุดื่มน้ำกะเพราแดงต้ม หรือน้ำตะไคร้ใส่น้ำตาลน้อย ที่ยังช่วยแก้อาหารท้องอืดได้ด้วย หรือกินเมนูกะเพราหมูสับแบบสุกๆ ก็จะเป็นกันเชื้อไวรัสได้ทางหนึ่ง ไล่มาถึงการบริโภค น้ำเปล่า เพราะการที่ผู้สูงอายุหมั่นจิบน้ำบ่อยๆ วันละ 8-10 แก้วนั้น น้ำเปล่าจะเป็นตัวที่นำวิตามินในอาหารที่เรารับประทานมาทั้งหมดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้นั่นเอง

(ผู้สูงอายุดื่มน้ำกะเพราแดงหวานน้อย ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ จะช่วยป้องกันโรคระบาดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ และเชื้อแบคทีเรียได้ทางหนึ่ง)

        อย่าลืมว่าการกินอาหารที่หลากหลาย ทั้งอาหารกลุ่มวิตามิน A E C คู่กับสมุนไพรพื้นบ้าน ย่อมถือเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายผู้สูงวัยแข็งแรง เพื่อรับมือกับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่างๆ โดยที่เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเองมากนัก แต่ทว่าเราได้จัดระเบียบการปรุง และการบริโภคอาหารจากวัตถุดิบใกล้ตัวที่ปรุงสุก สะอาด และถูกหลักอนามัย เพื่อต่อต้านไวรัส ตลอดจนโรคร้ายต่างๆ เพราะหากร่างกายของเราแข็งแรงย่อมสามารถรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดีค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"