ถนอมสายตา..ไม่ให้เสื่อมก่อนวัย


เพิ่มเพื่อน    


       ดวงตาของคนเรามีความละเอียดอ่อนและต้องการดูแลเป็นพิเศษ เมื่ออายุมากขึ้นบวกกับปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ทำให้ดวงตาเหนื่อยล้าและเสื่อมก่อนวัยได้ง่าย การดูแลสายตาอย่างถูกวิธีจะช่วยถนอมสายตาให้แข็งแรงและสดใสอยู่กับคุณไปนานเท่านาน โดยคุณหมอ "พบแพพย์ดอทคอม" เปิดเผยเคล็บลับง่ายๆ ต่อไปนี้
    1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมด้วยสารอาหารครบถ้วน
    สุขภาพดวงตาที่ดีเริ่มต้นจากอาหารที่เรารับประทาน การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ลูทีน ซิงค์ วิตามินซี วิตามินอี อาจจะช่วยชะลอหรือลดการเกิดโรคทางสายตา เช่น โรคจอตาเสื่อม (Macular Degeneration) และโรคต้อกระจก (Cataracts) แหล่งสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพดวงตา เช่น ผักโขม หรือผักใบเขียวเข้มอื่นๆ ปลาแซมอน ปลาทูน่า หรือเนื้อปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ถั่ว โปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ ส้ม ผลไม้หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยว หอยนางรม เนื้อหมู สัตว์ปีก ธัญพืช ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้ม ซึ่งมีสารเบตาแคโรทีน เช่น แครอต 
    2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    นอกเหนือจากการรับประทานในสัดส่วนที่เหมาะสม ในแต่ละสัปดาห์ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันสูง หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตัวโรคอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตา หรือมีปัญหาสายตาในอนาคต
    3.ดื่มแอลกอฮอล์อย่างจำกัด
    ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละวันควรอยู่ในระดับที่พอดี เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคทางสายตาอย่างโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ (Age-Related Macular Degeneration: AMD) และปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ให้น้อยลง โดยทั่วไป ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพปกติไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 14 หน่วยมาตรฐานต่อสัปดาห์ และควรกระจายการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน หรืออาจลองงดดื่มแอลกอฮอล์ลงบางวัน
    4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    การสูบบุหรี่เป็นผลเสียต่อดวงตาและสุขภาพโดยรวมของร่างกาย ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ โรคต้อกระจก อาจทำลายเส้นประสาทตาจนสามารถทำให้ตาบอดได้ในอนาคต
    5.ปกป้องดวงตาจากแสงแดด
    แสงแดดสามารถทำร้ายดวงตาได้เช่นเดียวกับผิวหนังของเรา และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อม เมื่อต้องเผชิญกับแสงแดดหรืออยู่กลางแจ้งจึงไม่ควรปล่อยให้สายตาโดนแสงแดดโดยตรง สามารถสวมแว่นตากันแดดชนิดที่มีเลนส์กรองแสงยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B) ที่มีป้ายระบุคุณสมบัติในการกรองรังสีได้ 99-100 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องได้สูงสุด นอกจากนี้ แว่นตากันแดดบางรูปทรงยังออกแบบมาเฉพาะ เพื่อช่วยถนอมสายตาให้เหมาะกับแต่ละกิจกรรม เช่น ทรงที่หน้าเลนส์และตัวเฟรมค่อนข้างโค้ง (Wrap Around) จะช่วยป้องกันแสงแดดจากทางด้านข้าง หรือแว่นตากันแดดที่ใช้เลนส์ Polarized ซึ่งเป็นเลนส์ที่เหมาะสมกับกิจกรรมกลางแจ้งและยังลดแสงสะท้อนในขณะขับรถได้ดี
    6.พักสายตาจากหน้าจอ
    การมองจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการตาล้า ตามัว ตาแห้ง ปวดศีรษะ มีปัญหาในการปรับโฟกัสให้มองเห็นได้ชัดเจนไปจนถึงรู้สึกปวดบริเวณคอ ไหล่ หรือหลัง เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีอาการตาแห้ง ควรกะพริบตาหรือพักสายตาชั่วครู่จากหน้าจอทุกๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาที โดยให้มองออกไปไกลประมาณ 20 ฟุต และมีการขยับเคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวันบ่อยๆ ลุกไปเดิน แต่ไม่ควรนั่งแช่หน้าจอตลอดทั้งวัน รวมไปถึงปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือถืออุปกรณ์ให้อยู่ในระดับสายตาพอดี นั่งในท่าที่ถูกต้อง และกะระยะคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากสายตาประมาณ 25 นิ้ว


    7.ป้องกันดวงตาเมื่อต้องทำกิจกรรมหรืองานอันตราย
    กีฬาหรืองานบางประเภทมีความเสี่ยงทำให้ดวงตาได้รับอันตราย เช่น การบาดเจ็บที่ดวงตาจากการเล่นกีฬา การทำงานในโรงงานและสถานที่ก่อสร้าง หรืองานซ่อมแซมบ้านเล็กๆ น้อยๆ อย่างการตอกตะปู ใช้สเปรย์ ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาได้ ดังนั้น การสวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันที่ออกแบบมาเพื่อกิจกรรมเหล่านั้นจะลดอันตรายที่เกิดกับดวงตาให้น้อยลง ซึ่งเลนส์แว่นตาส่วนใหญ่จะทำมาจากโพลีคาร์บอเนต มีความเหนียวและแข็งแรงมากกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 10 เท่า อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา
    8.โยนเครื่องสำอางเก่าทิ้งไป
    เครื่องสำอางประเภทครีมหรือของเหลวมักเกิดแบคทีเรียขึ้นได้ง่ายเมื่อเก็บเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้บนผลิตภัณฑ์ สาวๆ หลายคนมักเสียดายหรือเก็บเครื่องสำอางไว้จนลืม การนำเครื่องสำอางเหล่านั้นมาใช้จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตาได้ง่าย ดังนั้น ก่อนการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตาจึงควรตรวจดูวันหมดอายุและลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ หากผลิตภัณฑ์หมดอายุก็ได้เวลาโยนทิ้งไปบ้าง รวมไปถึงไม่ควรใช้เครื่องสำอางร่วมกับกับผู้อื่น ทดลองเครื่องสำอางตัวอย่างตามร้านกับดวงตาโดยตรง และทำความสะอาดผิวหน้าทั้งก่อนและหลังการแต่งหน้าให้สะอาดหมดจด
    9.รู้ปัจจัยเสี่ยงของตนเอง
    นอกเหนือจากอายุที่ทำให้ดวงตาเสื่อมไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น โรคของดวงตาบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะประวัติเกี่ยวกับโรคทางดวงตาของบุคคลในครอบครัว การทำความเข้าใจและรู้จักปัจจัยเสี่ยงของตนเองจะช่วยให้ระมัดระวังการใช้ชีวิตด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา และคาดคะเนโอกาสในการเกิดโรค เพื่อใช้ชีวิตแบบไม่เสี่ยง
    10.ตรวจตาเป็นประจำ
    การเข้ารับการตรวจตาพร้อมกับวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางดวงตา เพราะโรคบางโรคไม่สามารถสังเกตหรือบอกได้ในช่วงแรก เช่น โรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ โรคเบาหวานขึ้นตา การตรวจตาและวัดสายตาจึงเป็นวิธีเดียวที่ช่วยค้นหาโรคบางโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้สูง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"