ทั้งหมดตรง!'ผู้กองปูเค็ม'เล่าความภูมิใจอานุภาพการแสดงความเคารพอาจารย์ในรั้วจุฬาฯ


เพิ่มเพื่อน    


06 มี.ค.63- ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือ "ผู้กองปูเค็ม" โพสต์เฟซบุ๊ก  เรื่อง รำลึก จุฬาฯ ตอน ทั้งหมดตรง มีเนื้อหาดังนี้
++++++++
ปี 2532 ขณะศึกษาในโรงเรียนนายร้อย จปร. เห็นเพื่อนๆทีมงานแปรอักษร ในกีฬารวมเหล่า ทหาร-ตำรวจ มีความเหนื่อยยากในการลงโค้ดเพื่อใช้ในการแปรอักษรบนอัฒจันทร์ จึงได้ชักชวนเพื่อนนักเรียนนายร้อยคนหนึ่ง พัฒนาโปรแกรมแปรอักษร ด้วย Turbo Basic ภายใต้ระบบปฏิบัติการ IBMPC-DOS

ยุคนั้นโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์จำนวนจำกัด ราว 30 เครื่อง แต่มีนักเรียนนับพันคน จึงต้องแย่งกันใช้ หนำซ้ำนักเรียนทหาร ก็มีเวลาจำกัด ทั้งเรียน ทั้งฝึก จึงต้องแอบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องพักอาจารย์ ในเวลากลางคืนและในวันเสาร์อาทิตย์

เราพัฒนาโปรแกรมแปรอักษรกันคร่ำเคร่ง วันหนึ่งเราก็ถูกอาจารย์ที่เสือกขยัน มาทำงานในวันเสาร์จับได้ ว่าผมกับเพื่อนลักลอบใช้คอมพิวเตอร์ในห้องพักอาจารย์

แต่เมื่ออาจารย์รู้ถึงวัตถุประสงค์ของนักเรียน จากการเอาผิดลงโทษ ก็กลายเป็นการ Present ผลงานโปรแกรมแปรอักษร ให้กับคณาจารย์ รร.จปร.

ปีนั้นโรงเรียนนายร้อย จปร.มีของเล่นใหม่ มีการโค้ดด้วยโปรแกรมแปรอักษร ในกีฬาเหล่าทหาร-ตำรวจ นักเรียนนายร้อยรุ่นน้องคนนึง มาขอโค้ดจากผมละเพื่อน เพื่อนำไปพัฒนาต่อ

หลังจากนั้นผมต่อยอดศึกษา Turbo Pascal พัฒนาโปรแกรมยิงขีปนาวุธข้ามทวีป จนอาจารย์เรียกพบ และชักชวนให้เป็นอาจารย์

ปี 2533 จบการศึกษา เป็นนายทหาร ประจำในกองทัพภาคที่ 3 พิษณุโลก ภารกิจฝึกพลทหารใหม่ พบว่าเป้ายิง ไม่เพียงพอ ยุคนั้นการใช้โปรแกรม CAD ยังไม่แพร่หลายนัก ผมจึงได้ศึกษาแล้วออกแบบเป้ายิง นำมาใช้ให้พลทหารฝึกยิงปืน

การทดสอบสมรรถภาพของพลทหารในด้านต่างๆ ถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล Lotus 1-2-3 จัดเรียงลำดับคะแนน จากสูงสุดไปน้อยสุด ให้พลทหารรู้สึกฮึกเหิม แข่งขันกันเอง...

พลทหารของผมมีการฝึกยิงฉับพลัน ไม่เหมือนกับกองพันอื่นที่ฝึกยิงในท่ายิงพื้นฐานเท่านั้น

ผมตั้งใจฝึกพลทหาร ให้พร้อมใช้อาวุธ เสมือนจริง มิใช่แค่ท่ายิงพื้นฐานธรรมดา..

การฝึกร่วมผสมกองทัพไทย-สหรัฐ Cobra Gold 93 และ 97 ผมมีหน้าที่เชื่อมต่อระบบ Network ระหว่างกองทัพไทย-สหรัฐ ในการฝึกจำลองยุทธบนระบบคอมพิวเตอร์

หลังจากสะสมความรู้ด้านเทคโนโลยีพอสมควร ก็คิดต่อยอดศึกษาต่อปริญญาโท

ปี 2539 ผมเห็นข่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครนิสิตปริญญาโท ภาคค่ำ สาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science)

จึงได้ไปสมัครสอบแข่งขันกับเพื่อนร่วมชาติ 700 คน รับเพียง 30 คน ผมสอบได้อันดับที่ 15

หลักสูตรสองปี ผมสร้างสีสันให้กับหลักสูตร ป.โท ทั้งภาคปกติและภาคค่ำ มีการสร้างสัมพันธภาพในระหว่างเพื่อนรุ่นภาคค่ำและภาคปกติ เราเล่นกีฬาร่วมกันบ่อยครั้ง เราทำโปรเจคในสถานที่ต่างๆ หามรุ่งหามค่ำ มีเรื่องเล่ามากมาย ทั้งสุขและเศร้า

วันแรกของการเรียน เมื่ออาจารย์ท่านนึง เดินเข้ามาในห้องเรียน เพื่อนหลายคนกำลังพูดคุยกัน เสียงดังกลบเสียงเปิดประตูห้องเรียนของอาจารย์..

"ทั้งหมดตรง"

ผมตะโกนเสียงดังลั่นห้อง เพื่อนที่นั่งข้างผมสะดุ้ง แต่ทุกคนก็ลุกขึ้นยืนตามผม หลายคนเอียงอายที่จะยืน

ที่น่าขำก็คือ อาจารย์ก็สะดุ้งด้วย 55
อาจารย์ทำหน้าเจี๋ยมเจี้ยม เอียงอาย น่ากอดชะมัด 55

"ไม่ต้องก็ได้ครับ"
อาจารย์บอกผม แต่ผมสังเกตเห็นหน้าแดงระเรื่อของอาจารย์นะ

"จำเป็นครับอาจารย์ ผมจำต้องเคารพอาจารย์ครับ"
ผมยืนตอบอาจารย์ไปอย่างนั้น
เพื่อนหลายคนหันมามอง
มองผมคล้ายเป็นตัวประหลาด..
ผมทำมึนนึกในใจ "แล้วพวกมึงยืนทำเหี้ยไร 55"

หลังจากนั้น อาจารย์และนิสิตป.โท ต่างร่ำลือ วิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผมทำ

ผมว่ามันประหลาดนะทำไมในระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่มีการแสดงความเคารพอาจารย์กัน

หลังจากนั้น ทุกวิชาที่อาจารย์แต่ละคนเข้ามาสอน ผมจะต้องบอก "ทั้งหมดตรง" ทุกครั้ง..

เพื่อนๆ และอาจารย์เริ่มชิน..

บางครั้งภาคค่ำกับภาคปกติ เรียนร่วมกัน ผมก็จัดให้อย่างสม่ำเสมอ
"ทั้งหมดตรง"

เพื่อนรุ่นทุกคนทั้งภาคค่ำและภาคปกติ รู้สึกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนไปแล้ว ขาดไม่ได้ว่างั้นเถอะ

แต่มีข้อแม้ว่า ผมต้องอยู่ในห้องเรียนด้วยนะ ไม่งั้นไม่มีใครกล้าบอก "ทั้งหมดตรง"

วันนึงผมป่วยไม่ได้ไปเรียน
วันรุ่งขึ้น เพื่อนบอกกับผมว่า เมื่อวานไม่มีใครบอกทั้งหมดตรงเลยว่ะ 55

อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ทั้งเกษียณแล้วและยังปฏิบัติหน้าที่รับราชการอยู่ ยังจำผมได้ไม่ลืมจนถึงวันนี้

นี่แหละคืออานุภาพของ การแสดงความเคารพ

"ทั้งหมดตรง"

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"