'เครือข่ายผู้หญิงอีสาน'ร่วมส่งเสียงขอพื้นที่เสมอภาค-เพิ่มอำนาจมีส่วนร่วม-คุ้มครองนักต่อสู้


เพิ่มเพื่อน    

8 มี.ค.63 -ที่ห้องประชุมทองใบทองเปาด์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มเครือข่ายผู้หญิงอีสาน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนผู้หญิงและผู้ชายและเพศหลากหลายกว่า100 คน จากองค์กรและเครือข่ายงานพัฒนาในอีสาน อาทิ เครือข่ายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายแรงงานทั้งในและนอกระบบเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายคนไร้บ้าน นักวิชาการ นักศึกษา ได้ร่วมแถลงการณ์ในวันสตรีสากล 8 มีนาคมร่วมกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและพี่น้องผู้หญิงทั่วโลก เพื่อนำไปสู่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงและความหลากหลายทางเพศขจัดการเลือกปฎิบัติและสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย

โดยเครือข่ายฯ ระบุข้อเรียกร้องให้รัฐดำเนินการดังนี้ 1) ยอมรับและเพิ่มการมีส่วนร่วม อำนาจในการตัดสินใจของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในการพัฒนาทั้งมวล ทั้งการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การเงินการคลัง และอื่นๆ โดยมีสัดส่วนตัวแทนของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในคณะกรรมการต่างๆทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ และองค์กรอิสระต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง 2) ส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจ การมีงานทำการหารายได้ของผู้หญิง สิทธิของแรงงานหญิงทั้งในและนอกระบบต้องได้รับการคุ้มครองให้ได้รับค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ให้มีรายได้ที่เพียงพอในช่วงการลาคลอดและดูแลบุตรหลังคลอด ประกันการมีรายได้ในช่วงว่างงานและถูกเลิกจ้าง และรัฐบาลไทยต้องให้สัตยาบันและปฏิบัติตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานหญิง ได้แก่ อนุสัญญาILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดาฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการล่วงละเมิดในโลกแห่งการทำงานฉบับที่ 177 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้านและฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าส าหรับลูกจ้างทำงานบ้าน

3) เคารพและสนับสนุนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาในสายผู้หญิง ทั้งการปกป้องทรัพยากรการเกษตรและการสืบทอดพันธุกรรม การถักทอ จักสาน และภูมิปัญญาอื่น ๆ ที่เป็นไปเพื่อการพึ่งตนเองและดำรงอยู่ของชุมชน4) ยืนยันการใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดสวัสดิการถ้วนหน้าที่เพียงพอ มีคุณภาพและมาตรฐานเดียว อันได้แก่ หลักประกันสุขภาพ การศึกษา บำนาญผู้สูงอายุเบี้ยยังชีพคนพิการ และขยายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแรกเกิดถึง 6 ปีให้เป็นระบบถ้วนหน้า รวมทั้งหลักประกันความมั่นคงในที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้หญิงและประชาชนทุกคนจะสามารถเข้าถึงและได้ใช้ประโยชน์

5) ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเข้าถึงและได้รับการคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรมและรัฐต้องให้การคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี นักต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ นักต่อสู้ผู้หญิงด้านสิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน 6) ให้มีการจัดตั้งสำนักงานอิสระเพื่อเป็นกลไกเฉพาะในการส่งเสริมคุ้มครองสร้างการเรียนรู้ความตระหนัก และเปลี่ยนทัศนคติ จารีตประเพณีของสังคมในเรื่องสิทธิของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ส่งเสริม ความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย ขจัดการเลือกปฏิบัติพัฒนา ติดตามและประเมินผลการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ ให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งระดับบุคคลและองค์กร

7) ข้อเสนออื่น ๆ เพื่อเพิ่มอำนาจของผู้หญิงและประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย เช่น จังหวัดจัดการตนเอง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดการสนับสนุนให้ผู้หญิงเข้าสู่การเมือง การมีองค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐ การปฏิรูประบบภาษีให้มีความก้าวหน้า ฯลฯ 8) การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีสัดส่วนที่เป็นธรรมของประชาชนทุกภาคส่วน ทุกเพศสภาพเป็นกลไกในการดำเนินการ มีกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง และมีกระบวนการให้ข้อมูล การศึกษาอย่างเพียงพอก่อนที่จะมีการลงประชามติ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไขต้องประกันและบัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ความเสมอภาคระหว่างเพศ สิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิชุมชน สิทธิแรงงาน อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม และตอบสนองต่อข้อเรียกร้องทั้งหมดในแถลงการณ์ฉบับนี้ และแก้กฎหมายลำดับรองฉบับอื่น ๆ ให้สอดคล้องรองรับต่อไป.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"